ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ทิพวัน ชาลีวงศ์ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ  ระดับการรับรู้ และความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและระดับความรู้ความเข้าใจกับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ที่โรงพยาบาลชัยภูมิ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ  จำนวน 279 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้  ได้แก่  การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ อยู่ในระดับปานกลาง กลาง (  = 0.585, S.D = 0.203) ระดับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ก็อยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.18, S.D. = 0.546) และทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน อายุ  อายุการปฏิบัติราชการ รายได้ต่อเดือน  ประสบการณ์ในการเป็นหัวหน้า  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และการเห็นความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติราชการ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.268, p-value =<0.001), (r=0.195, p-value =0.001), (r=0.149, p-value =0.013), (r=0.285, p-value =0.001), (r=0.895, p-value =0.001), (r=0.279, p-value =0.001) ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ ก็มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ที่โรงพยาบาลชัยภูมิ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (r = 0.208, p-value = 0.01)

เอกสารอ้างอิง

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2552 ). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จามจุรี โปรดักท์.

ศิริพงษ์ อินทวดี. (2541). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการประเมินการปฏิบัติงานทัศนคติต่อรางวัลและความผูกพันต่อองค์กร : กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัมฤทธิ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ : เวิลด์เทรด ประเทศไทย.

จําเนียร จวงตระกูล. ( 2531 ). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รัชดา อุดมวิทิต. (2540). การรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาริยา กัลยาวุุฒิพงศ. (2530 ). การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2544). การประเมินผลการปฏิบัติงาน: แนวความคิดหลักการ วิธีการและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ธนาภรณ์ ทีปรกรพงศ์. (2551). ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานกรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในสังกัดสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สำนักงาน ก.พ. (2552). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ. ลิฟวิ่ง จำกัด.

สุนิสา แพทวีทรัพย์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ :กรณีศึกษาโรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

อังค์วรา แสนปัญญา. (2553). การประเมินวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารซิตี้แบงค์. รายงานการค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน