การพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาลอกชนิดมีรูฉีกขาด โดยวิธีการผ่าตัดน้ำวุ้นตา ผ่าตัดหนุนจอประสาทตา ฉีดน้ำมันซิลิโคนเหลว และการใช้แสงเลเซอร์

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ดวงลูกแก้ว ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

จอประสาทตาลอกชนิดมีรูฉีกขาด, การผ่าตัดน้ำวุ้นตา, ผ่าตัดหนุนจอประสาทตา

บทคัดย่อ

จอประสาทตาทำหน้าที่เป็นจอรับภาพ ถ้าเกิดพยาธิสภาพ มีการลอกของจอประสาทตา หากไม่ได้รับการรักษาทันที จะทำให้สูญเสียการมองเห็น จนถึงขั้นตาบอดได้ การศึกษากรณีศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้ป่วยจอประสาทตาลอกชนิดมีรูฉีกขาด (Rhegmatogenous Retinal Detachmert- RRD) ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลชัยภูมิ เริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 3-24 สิงหาคม 2563

ผู้ป่วยชายไทย อายุ 34 ปี มาโรงพยาบาลชัยภูมิ อาการสำคัญที่มาคือตาขวามัวลง และมาพบแพทย์ตามนัด แพทย์วินิจฉัยจอประสาทตาลอกชนิดมีรูฉีกขาด (Rhegmatogenous Retinal Detachment- RRD) และต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Pars Plana Vitrectomy) ผ่าตัดหนุนจอประสาทตา (Scleral bucking) ฉีดมันซิลิโคนเหลว (Liquid silicon oil) เพื่อให้มีการติดกลับเข้าที่ของจอประสาทตา และใช้แสงเลเซอร์ (Endolaser treatment) ยิงปิดรูขาดบนจอประสาทตา ในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 สัญญาณชีพแรกรับอุณหภูมิร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส ชีพจร 80 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 20 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 110/72 มิลลิเมตรปรอท ผลการตรวจร่างกาย การวัดสายตา (VA) ตาขวา PJ (Projection of light) ตาซ้าย 20/20 การตรวจจอประสาท RRD ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hct.=46.3%, W.B.C=6.4 K/ul, R.B.C=5.3 Millium/ul, Platelet Count=182000 cell/mm3, Hemoglobin=15.50 g/dl, BUN=7.1 mg/dl, Creatinine=0.78 mg/dl, Sodium=140 mEq/L, Potassium=3.9 mEq/L, Chloride=103 mEq/L, Bicarbonate=30.5 mEq/L เอกซเรย์ทรวงอกปกติ มีปัญหาทางการพยาบาล ดังนี้

ระยะก่อนผ่าตัด 1) มีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้เรื่องในการเจ็บป่วย การรักษา การปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด 2) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเนื่องจากความสามารถในการมองเห็นลดลง

ระยะผ่าตัด 1) เสี่ยงต่อการผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดตำแหน่ง 2) เสี่ยงต่อการติดเชื้อแผลผ่าตัด 3) เสี่ยงที่จะได้รับอันตราย หรือมีสิ่งตกค้างในร่างกาย 4) เสี่ยงต่อการบาดเจ็บอวัยวะใกล้เคียงภายในดวงตา

ระยะหลังผ่าตัด 1) เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจจากการดมยาสลบ 2) เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ 3) ไม่สุขสบาย ปวดแผลผ่าตัด และเสี่ยงต่อความดันลูกตาสูง เนื่องจากการผ่าตัด และการฉีดน้ำมันซิลิโลนเหลว 4)  เสี่ยงต่อการหลุดลอกซ้ำของจอประสาทตา เนื่องจากขาดความรู้ในการรปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดและเมื่อกลับบ้าน ให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ ผู้ป่วยสดชื่น ยิ้มแย้มแจ่มใส สัญญาณชีพปกติ จำหน่ายทุเลาหลังนอนรักษา 5 วัน และแพทย์นัดตรวจตามนัด วันที่ 24 สิงหาคม 2563

เอกสารอ้างอิง

จอตาลอก Retinal Detachment. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.Siamhealth.net [1 ส.ค. 2563]

สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต. โรคจอตาหลุดลอก อาร์อาร์ดี (Rhegmatogenous Retinal Detachment หรือ RRD). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: haamor.com [1 ส.ค. 2563]

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2563). สถิติโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิ : แผนกจักษุ โรงพยาบาลชัยภูมิ.

นภาพร ตนานุวัฒน์. การวัดสายตา (Visual Acuity test). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medicine.cmu.ac.th/dept/eye [1 ส.ค. 2563].

ชวนพิศ วงศ์สามัญ, กล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2558). การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. ขอนแก่น : ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โสมนัส ถุงสุวรรณ . รูฉีกขาดที่จอตาและจอตาลอก (Retinal Tear and Detachment). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/960_1.pdf [3 ส.ค. 2563]

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. หยอดตา ป้ายตา เช็ดตา ดูแลตาอย่างไรให้ถูกวิธี (eye care). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/669/EyesCare [1 ส.ค. 2563]

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน