การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เพชรดา ทองศรี กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ภาวะตัวเหลือง

บทคัดย่อ

เป็นกรณีศึกษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ได้รับการรักษาแบบลดความเข้มข้นของเลือดด้วยสารน้ำ (Partial Exchange Transfusion) และการรักษาด้วยการส่องไฟ (Phototherapy) แผนกทารกแรกเกิดป่วย ตึกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 – 9 กุมภาพันธ์ 2562 เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบประเมินภาวะตัวเหลือง ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสังเกต การสัมภาษณ์มารดา วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองและความเข้มข้นในเลือดสูง อาการ อาการแสดง การรักษา และปัญหาทางการพยาบาล

ผลการศึกษา: กรณีศึกษาที่ 1 ทารกเพศชาย คลอดก่อนกำหนด อายุ 12 วัน มีภาวะตัวเหลือง ความเข้มข้นเลือดสูง เกล็ดเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ ร่วมกับมีภาวะติดเชื้อ และใส่เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) ได้รับการรักษาโดยใช้สารน้ำเพื่อลดความเข้มข้นของเลือด ในการประเมินภาวะสุขภาพของทารกทั้ง 2 รายได้นำกรอบทฤษฎีของโอเร็ม (Theory of  self-care deficit) มาเป็นแนวทาง ในการให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้การพยาบาล  และการประเมินผลทางการพยาบาล พบว่าปัญหาจากข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้รับการแก้ไข โดยทารกมีภาวะตัวเหลืองลดลงจาก MB =12.8% ลดเหลือ MB =9.6% และความเข้มข้นเลือด Hct = 71.7% ลดเหลือ Hct = 55.% รวมทารกอยู่ในการดูแล 13 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ทารกเพศชาย คลอดครบกำหนด อายุ 17 วัน มีภาวะตัวเหลือง ความเข้มข้นเลือดสูง ไม่มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ ร่วมกับมีภาวะติดเชื้อ ได้รับการรักษาโดยได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ (Phototherapy)  ได้ให้การพยายาบาล ศึกษาติดตามและการประเมินผลทางการพยาบาล พบว่าปัญหาจากข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้รับการแก้ไข โดยทารกมีภาวะตัวเหลืองลดลงจาก MB =12.59% ลดเหลือ MB =4.8 % และความเข้มข้นเลือด Hct = 61.3% ลดเหลือ Hct = 49.8% รวมทารกอยู่ในการดูแล 18 วัน

สรุป: การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลการนำแนวคิดใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟ (Phototherapy) และการใช้สารน้ำในการลดความเข้มข้นของเลือด (Partial Exchange Transfusion) จากการให้การพยาบาลทารกแรกเกิดทั้ง 2 ราย มีพยาธิสภาพอาการต่างกัน แต่กรณีศึกษาที่ 1ได้ใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับสารน้ำลดความเข้มข้นของเลือด (Partial Exchange Transfusion) จำเป็นต้องใช้ทักษะทางการพยาบาลในการเตรียม มีการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการใส่เครื่องช่วยหายใจความดันบวก  และกรณีศึกษาที่ 2 มีการรักษาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟ (Phototherapy)ได้ให้การพยาบาลเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้การพยาบาลให้ครอบคลุม เพื่อให้ทารกแรกเกิดมีชีวิตรอดปลอดภัยและไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้ง 2 ราย

เอกสารอ้างอิง

เนตรทอง นามพรหม, ฐิติมา สุขเลิศตระกูล (2563). การพยาบาลทารกแรกเกิดและเด็กที่มีปัญหาสุขภาพเฉพาะ. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิธิพันธ์ สุขสุเมธ. (2553). New Technique in Phototherapy. ใน: วีระชัย วัฒนวีรเดช, และคณะ, [บรรณาธิการ]. Clinical Practice in Pediatric Update and Innovation. กรุงเทพฯ : กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า.

Richard EB, Robert MK, Hal BJ. [editor]. (2004). Nelson textbook of pediatrics. 17th ed. Philadelphia, Pa : Saunders.

Juliann W. (2008). Risk of Serious Jaundice in Newborn Accurately Predicted By Simple Test. [online]. Retrieved from ; http://www.medicanewstoday.com [1 October 2008]

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา, [บรรณาธิการ]. (2558). การพยาบาลเด็ก เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

Gowen CW. Fetal and Neonatal Medicine. In KJ Marchante, RM Kliegman, HB Jensen, RE Behrman. (Eds.). (2011). Nelson essentials of pediatrics. (6th ed.). Philadelphia: Elsevier.

รุจา ภู่ไพบูลย์. [บรรณาธิการ]. (2558). การวางแผนการพยาบาลเด็กสุขภาพดีและเด็กป่วย. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

มาลัย มั่งชม. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะบิลลิรูบินสูงในเลือด. ใน. พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์, บรรณาธิการ. (2554). Essential issues in newborn nursery. กรุงเทพฯ : ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน