ชัยภูมิเวชสาร https://thaidj.org/index.php/CMJ <p><strong> วัตถุประสงค์</strong> : ชัยภูมิเวชสาร เป็นวารสารของโรงพยาบาลชัยภูมิ ที่จัดพิมพ์ผลงานวิชาการเกี่ยวกับการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ได้แก่ นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) บทความปฏิทัศน์/ฟื้นฟูวิชาการ (review article/refresher article) รายงานผู้ป่วย (case report) บทความพิเศษ (special article) และงานวิชาการในลักษณะอื่น ๆ ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน</p> <p><strong> </strong><strong>กำหนดออกเผยแพร่</strong> : ราย 6 เดือน (มิถุนายน และ ธันวาคม)</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>การติดต่อส่งเรื่องที่</strong></p> <p><strong>กองบรรณาธิการ ชัยภูมิเวชสาร </strong></p> <p>ห้องสมุด โรงพยาบาลชัยภูมิ</p> <p> 12 ถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000 </p> <p> โทรศัพท์ 044-837100-3 ต่อ 8125, 8116 </p> <p>E-mail: <span style="text-decoration: underline;">thodsaporn.ph@gmail.com</span></p> <p><a title="คำแนะคำสำหรับผู้เขียนบทความ เพื่อตีพิมพ์ในชัยภูมิเวชสาร" href="https://drive.google.com/open?id=1_3j3JlCub7bPXTXih3dwTJXRIC4BISs7" target="_blank" rel="noopener">คำแนะนำการตีพิมพ์</a> <a title="แบบแจ้งความจำนงตีพิมพ์ชัยภูมิเวชสาร" href="https://drive.google.com/open?id=1vqPNBYauABjmNsGQtaD2LXt2-7QwTAsu" target="_blank" rel="noopener">แบบแจ้งความจำนงตีพิมพ์</a></p> โรงพยาบาลชัยภูมิ กระทรวงสาธารณสุข (Chaiyaphum Hospital, Ministry of Public Health) th-TH ชัยภูมิเวชสาร 2985-0649 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน : กรณีศึกษา https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15121 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา: </strong>เป็นการศึกษาเฉพาะราย (case study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต และจากแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลตามพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา การประเมินผู้ป่วยโดยใช้ Modified Early Warning Score (MEWS) กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผล</p> <p> <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 60 ปี มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง มาด้วยอาการปวดท้อง จุกแน่น ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน วินิจฉัยโรคเป็น Infective diarrhea with sepsis with septic shock ประเมินผู้ป่วยระยะวิกฤตโดยใช้ MEWS พบปัญหาการพยาบาลในระยะวิกฤต คือ 1) การกำซาบของเนื้อเยื่อส่วนปลายลดลงเนื่องจากมีภาวะช็อค และ 2) แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ได้รับการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล และการดูแลรักษาตามแนวทาง CPG SEPSIS: MHALBIS</p> <p> <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และตามมาตรฐานวิชาชีพ ภายหลังการดูแลผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต มีอาการคงที่ แพทย์พิจารณาให้รักษาตัวต่อในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม หลังการรักษาผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี และได้รับการจำหน่ายกลับบ้านในวันที่ 15 ธ.ค. 2566 รวมระยะเวลาในการดูแลทั้งหมด 8 วัน</p> อัจฉรา ขวัญยืน ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 111 123 ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนบนหัก https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/14620 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษาผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนบนหัก</p> <p><strong>วิธีดำเนินการศึกษา</strong> : การวิจัยแบบ Case-control study ใช้ข้อมูลทุติยภูมิผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนบนหักที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูก ระหว่าง ปี พ.ศ. 2563 ถึง 2566 จำนวน 130 รายที่โรงพยาบาลปากช่องนานา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Multiple logistic regression </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : กลุ่มตัวอย่าง 130 ราย มีผลการรักษาไม่ยอดเยี่ยม (Harris hip score: HHS &lt; 90) เกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 61.5) และผลการรักษายอดเยี่ยม (HHS ≥ 90) ร้อยละ 38.5 ลักษณะการหักที่พบมากที่สุดในทั้งสองกลุ่ม คือ AO31-A2.2, AO31-A2.3 และ AO31-A1.2 ทั้งนี้ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในลักษณะการหักของกระดูกในทั้งสองกลุ่ม และผลการวิเคราะห์เชิงพหุ พบว่า การมีโรคประจำตัว (OR<sub>Adjusted</sub> = 2.04; 95% CI: 1.29, 3.23) และการผ่าตัดที่มีระยะเวลานาน (OR<sub>Adjusted</sub> = 1.32; 95% CI: 1.03, 1.70) ก่อให้เกิดผลการรักษาไม่ยอดเยี่ยม</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> : การมีโรคประจำตัวและการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลานาน ส่งผลเสียต่อการรักษาผู้ป่วยกระดูกต้นขาหัก การออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงก่อนผ่าตัด ควรดำเนินการใน 3 ส่วน คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วย การประเมินความเสี่ยงสำหรับแพทย์ และการพัฒนาระบบการคัดกรอง</p> ศุภวิชญ์ จุฬาปกรณ์ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 1 12 ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชัยภูมิ https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/14878 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>ภาวะความดันเลือดในปอดสูงเป็นกลุ่มอาการของโรคในทารกแรกเกิดที่เป็นภาวะรุนแรง ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาอัตราการเกิด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในโรงพยาบาลชัยภูมิ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ในผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันเลือดในปอดสูง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2566 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลัง วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์อนุมานด้วยสถิติ independent t-test, Z-test for proportion และ conditional logistic regression</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>ในรอบการศึกษา 4 ปี พบทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง 48 ราย จากการเกิดมีชีพทั้งหมด 21,179 ราย คิดเป็นอัตรา 1.76 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน โดยสัดส่วนเพศชายต่อหญิง เท่ากับ 1.66: 1.00 ในจำนวนดังกล่าวทารกมีอายุครรภ์คลอดเฉลี่ย 37.38 <u>+</u> 2.57 สัปดาห์ น้ำหนักทารกแรกเกิดเฉลี่ย 2,974.27 <u>+</u> 726.16 กรัม อัตราตายจากภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโดยรวมเท่ากับ ร้อยละ 37.5 (95% CI: 24.0, 51.2) โดย ปี พ.ศ.2564 มีอัตราตายสูงสุด ความแตกต่างระหว่างทารกที่รอดชีวิตและกลุ่มที่เสียชีวิต คือ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (mean diff.=27.43; 95% CI: 17.27, 37.60) และระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ (mean diff. = 8.03; 95% CI: 0.56, 15.51) โดยผลจากการใช้ยา Norepinephrine มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (prop. diff. = 32.5; 95% CI: 6.7, 58.2) และผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตพบว่า ทารกเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่า (OR<sub>Adjusted</sub> = 8.97; 95% CI: 1.61, 50.04) รวมถึงทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าทารกที่มีน้ำหนักเกินกว่า 2,500 กรัม (OR<sub>Adjusted</sub> = 15.16; 95% CI: 1.66, 138.08) </p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย : </strong>อัตราการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดยังไม่สูงมากนัก แต่อัตราตายเกิดขึ้นราว 1 ใน 3 ซึ่งสาเหตุหลักคือ โรคปอดอักเสบตั้งแต่แรกเกิด ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตคือ ทารกเพศชาย และทารกกลุ่มที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม </p> สุพรรณิการ์ ยานกาย ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 13 24 การศึกษาการใช้ดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่ส่งผลต่อระยะเวลาส่งตัวมารักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกในจังหวัดชัยภูมิ https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15091 <p><strong>ความสำคัญและที่มา</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ไม่ควรเกิน 60 นาที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต</p> <p><strong>วัตุประสงค์</strong>: เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาแต่ละขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment elevation ระหว่างการใช้ดิจิตอลแพลตฟอร์มกับการบันทึกด้วยมือ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) จากข้อมูลทุติยภูมิในผู้ป่วย STEMI จำนวน 512 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่บันทึกด้วยมือ 243 ราย (พ.ย.64 - ต.ค.65) และกลุ่มที่บันทึกด้วยดิจิตอลแพลตฟอร์ม (Google form) 269 ราย (พ.ย.65 - ต.ค.66) โดยเก็บข้อมูลเริ่มจากเข้ารับบริการจนถึงการยืนยันการวินิจฉัย รวม 6 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Repeated measure ANOVA</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างที่บันทึกข้อมูลด้วยมือ ใช้เวลาเฉลี่ยในการบันทึกข้อมูล 162.20 นาที ส่วนกลุ่มที่บันทึกด้วย Google form ใช้เวลาเฉลี่ย 150.92 นาที ทั้งนี้ การบันทึกด้วยมือใช้เวลาสูงสุดในขั้นตอนการยืนยันการวินิจฉัยจนถึงการส่งต่อเพื่อสวนหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ (81.26 นาที; 95% CI: 75.83, 86.69) รองลงมา คือ ขั้นตอนการทำ EKG จนถึงการวินิจฉัย (47.70 นาที; 95% CI: 42.28, 53.13) เช่นเดียวกับ การบันทึกด้วย Google form ใช้เวลา 61.92 นาที (95% CI: 56.76, 67.07) และ 22.02 นาที (95% CI: 16.86, 27.17) ตามลำดับ ในภาพรวม การบันทึกด้วย Google form ใช้เวลาน้อยกว่าการบันทึกด้วยมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) โดยขั้นตอนที่มีความแตกต่างกันสูงสุด คือ การทำ EKG จนถึงการวินิจฉัย (Mean diff.= 25.69; 95% CI: 18.20, 33.17) รองลงมา คือ การยืนยันการวินิจฉัยจนถึงการส่งเต่อเพื่อสวนหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ (Mean diff. = 19.34; 95% CI: 11.85, 26.82) และพบว่า ขั้นตอนการเข้ารับบริการจนถึงการทำ EKG ในสองวิธีการ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (Mean diff.= 4.91; 95% CI: -2.57, 12.39) </p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การพัฒนาดิจิตอลแพลตฟอร์มสามารถลดระยะเวลาในการรับบริการในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ควรจะเป็น (&lt; 60 นาที) การพัฒนาต่อยอดด้วยการลดกระบวนการที่ไม่จำเป็นและการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบดิจิตอลแพลตฟอร์ม เป็นแนวทางที่ควรส่งเสริมในอนาคต</p> อภิรักษ์ ปุสวิโร ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 25 37 ปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยเอดส์ หลังได้รับยาต้านไวรัส และติดตามผลการรักษาครบ 4 ครั้ง ในรอบ 3 ปี https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15184 <p>โครงการรักษาเอชไอวีในผู้ป่วยของประเทศไทย ตั้งเป้าลดปริมาณการติดเชื้อในกระแสเลือด (HIV viral load) น้อยกว่า 200 copies/mL ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัส ให้เหลือไม่เกิน ร้อยละ 95 ภายใน ปี 2573 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณ HIV viral load ภายหลังได้รับยาต้านไวรัส ในการติดตาม 4 ครั้งในรอบ 3 ปี โดยเครื่องมือตรวจ Abbott Realtime m2000 system ที่ได้มาตรฐาน ในกลุ่มตัวอย่าง 230 ราย วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนา และ Pearson’s correlation</p> <p>กลุ่มตัวอย่าง 230 ราย เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส และติดตามตรวจ viral load ครบทั้ง 4 ครั้งหลังได้รับยา ในรอบ 6 เดือน 1 ปี 2 ปี และ 3 ปี ตามลำดับ คิดเป็น ร้อยละ 82.7 ของจำนวนผู้ป่วยที่เฝ้าติดตามทั้งหมด ลักษณะทางประชากร เป็นชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 53.0: 47.0) และมีอายุเฉลี่ย 44.62 ปี ปริมาณ HIV viral load จากการติดตามครั้งที่ 4 (3 ปี) พบว่า อยู่ในระดับที่ตรวจไม่พบ (viral load &lt; 40 copies/mL) ร้อยละ 96.1 ขณะที่ viral load = 40 ถึง 1,000 copies/mL พบ ร้อยละ 2.2 และ viral load &gt; 1,000 copies/mL พบ ร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ จากการติดตาม 4 ครั้ง พบ viral load หลังได้รับยาต้านไวรัส อยู่ในระดับที่ตรวจไม่พบเพิ่มขึ้นตามลำดับ (ร้อยละ 58.5, 86.1, 95.2 และ 96.1) นอกจากนี้ ยังพบว่า ค่าปริมาณ viral load และ log ที่ได้จากเครื่องมือ Abbott Realtime m2000 มีความสัมพันธ์เชิงบวก ร้อยละ 59.8 (Pearson’s corr. = 0.598) และจากการติดตามกลุ่มที่ยังมีปัญหา (viral load &gt; 40 copies/mL) พบพฤติกรรมการกินยาไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ และขาดยา โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาครอบครัวและการเดินทางมารับยา </p> <p>ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส และติดตามผลครบกำหนด มีแนวโน้มที่ดีในการลดปริมาณการติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว (ร้อยละ 82.7) ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเป้าหมาย (ร้อยละ 95.0) อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่เหลือ จะถูกนำไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์กระตุ้น และการจัดการรายกรณีเพื่อผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้</p> วรวุฒิ มาตา ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 38 49 อัตราการเกิดซ้ำของโรคมะเร็งในช่องปากภายหลังการผ่าตัด และปัจจัยที่อาจมีผล ต่อการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งในช่องปากภายหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลชัยภูมิ https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/14957 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาผลการรักษามะเร็งในช่องปากในโรงพยาบาลชัยภูมิ ด้านอัตราการเกิดซ้ำ อัตราการปลอดการเกิดซ้ำในระยะ 5 ปี และปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเกิดซ้ำของโรค</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่ เดือน มกราคม พ.ศ.2561 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2566</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ผู้ป่วยทั้งหมด 50 รายเข้าร่วมการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 64.0) อายุเฉลี่ย 64.8 ปี ตำแหน่งที่พบมะเร็งส่วนใหญ่คือ มะเร็งที่ลิ้น (ร้อยละ 48.0) รองลงมาคือมะเร็งริมฝีปาก (ร้อยละ 40.0) และมะเร็งพื้นลิ้น (ร้อยละ 12.0) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.0) ได้รับการผ่าตัดในระยะเวลา 30 วัน และร้อยละ 38.0 เป็นมะเร็ง stage II มีการเกิดซ้ำของโรคมะเร็ง 12 ราย คิดเป็นอัตราการเกิดซ้ำ 18 ต่อ100 person-years (95% CI 10.17, 31.56) อัตราปลอดการเกิดมะเร็งซ้ำ (recurrence-free survival, RFS) ที่ 1, 2 และ 5 ปี อยู่ที่ ร้อยละ 73.8, 69.9 และ 58.3 ตามลำดับ โดยพบว่าปัจจัยที่อาจมีผลกับการเกิดซ้ำของโรค คือ การมีระยะขอบของมะเร็งน้อยกว่า 5 มม. (HR<sub>Adjusted</sub> =13.54; 95% CI: 2.79, 65.63) และการฉายแสงภายหลังการผ่าตัด (HR<sub>Adjusted</sub> =3.78; 95% CI: 1.16-12.31)</p> <p><strong>สรุป</strong>: ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า การตัดมะเร็งให้ได้ขอบที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำมะเร็งในช่องปาก ดังนั้น นอกจากการพัฒนาทักษะของแพทย์แล้ว การติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังการเกิดซ้ำโดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับการฉายแสง อาจเป็นเรื่องจำเป็น รวมถึงการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อระบุปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดซ้ำในระยะการติดตามที่ยาวนานขึ้น รวมถึงขนาดตัวอย่างที่มากกว่าเดิม</p> เพ็ญนภา วงษ์สีชา ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 50 62 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15193 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ระหว่าง 1 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 508 คน สุ่มตัวอย่างจากเวชระเบียนย้อนหลัง และทะเบียนคลอด โดยเครื่องมือแบบบันทึกข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติคพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก 71 ราย คิดเป็นความชุก ร้อยละ 14.0 ในจำนวนนี้ ร้อยละ 63.4 เป็นการตกเลือดในระดับความรุนแรงน้อย และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้แก่ ภาวะโลหิตจางในระยะคลอด (adj.OR=3.25; 95% CI: 1.29, 8.18) น้ำหนักทารกแรกคลอดสูงกว่าปกติ (adj.OR=12.77; 95% CI: 3.57, 45.62) ความผิดปกติของรก (adj.OR=8.31; 95% CI: 2.14, 32.24) การฉีกขาดของฝีเย็บระดับ 3 ขึ้นไป (adj.OR=32.43; 95% CI: 5.20, 202.49) การคลอดล่าช้าระยะที่ 1 (adj.OR = 4.29; 95% CI: 2.03, 9.03) และ การคลอดล่าช้าระยะที่ 3 (adj.OR=17.46; 95% CI: 2.98, 102.42) ซึ่งสามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ได้ ร้อยละ 32.3 และการมีค่าดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงกว่าปกติเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดน้อยกว่าการมีค่าดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ปกติ ร้อยละ 72.0</p> <p>ภาวะตกเลือดหลังคลอดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การให้ความสำคัญกับการประเมินคัดกรองปัจจัยเสี่ยง ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จะเป็นการเฝ้าระวังและรักษาก่อนที่จะเกิดภาวะผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์</p> โอทนี สุวรรณมาลี ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 63 75 การวิเคราะห์ต้นทุนและอัตราการคืนทุนของบริการรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2566 https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15298 <p><strong>บทนำ: </strong>โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้พัฒนาการให้บริการรังสีวิทยาโดยนำเทคโนโลยีระบบจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีการถ่ายภาพเอกซเรย์ระบบดิจิทัลมาใช้ เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนบริการทางรังสีวิทยา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วยบริการ และอัตราการคืนทุนบริการรังสีวิทยา</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย:</strong>เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา จากข้อมูลต้นทุนและรายได้ของกลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 โดยแบบบันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และจำนวนผลงาน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>ต้นทุนรวม เท่ากับ 21,066,409.63 บาท แบ่งเป็นสัดส่วนต้นทุน ค่าแรง: ค่าลงทุน: ค่าวัสดุ เท่ากับ ร้อยละ 69.5: 21.0: 9.5 เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบงานเอกซเรย์ทั่วไปใช้ต้นทุนรวมสูงสุด 8,140,287.46 บาท น้อยสุด คืองานควบคุมคุณภาพ จัดเก็บและจัดส่งภาพทางการแพทย์ 709,615.14 บาท และเมื่อพิจารณาต้นทุนต่อบริการในแต่ละกิจกรรม พบว่า งานเอกซเรย์ทั่วไป (Bone survey, Elbow, Forearm, Hand, Humerus, Wrist) ใช้ต้นทุนต่อบริการน้อยสุด คือ 44.63 บาท ขณะที่งานเอกซเรย์พิเศษ มี 2 กิจกรรมที่ใช้ต้นทุนต่อบริการเกินกว่าอัตราเรียกเก็บ คือ Cystogramและ Voiding Cysto-Urethrogram</p> <p>อัตราการคืนทุนในงานเอกซเรย์ทั่วไปสูงสุด คือ 3.62 เท่า ต่ำสุด คือ งานเอกซเรย์พิเศษ 1.20 เท่า เมื่อพิจารณาเฉพาะต้นทุนค่าวัสดุ พบว่าอัตราการคืนทุนต้นทุนค่าวัสดุสูงสุด คือ 76.09 ในงานเอกซเรย์เคลื่อนที่ ตามด้วย 54.35, 14.14, 4.45 เท่า ในงานเอกซเรย์ทั่วไป, งานตรวจด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง, งานเอกซเรย์พิเศษ ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุป:</strong> ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าแรง และงานเอกซเรย์ทั่วไปเป็นกิจกรรมที่ใช้บ่อยสุด จึงมีต้นทุนรวมสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่างานเอกซเรย์พิเศษมีกิจกรรมที่ใช้ต้นทุนบริการสูงกว่าอัตราเรียกเก็บ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานรังสีวิทยาในภาพรวม มีอัตราคืนทุนที่ก่อให้เกิดผลกำไรในเกือบทุกกิจกรรม</p> ศราวุธ ศุภรวิชญานนท์ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 76 88 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15288 <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาและติดตามอาการในโรงพยาบาลหนองบัวแดง ศึกษาข้อมูลผ่านเวชระเบียนของผู้ป่วย ระหว่าง เดือน มกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2566 ในกลุ่มตัวอย่าง 3,800 ราย วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา และสหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation)</p> <p>ผลวิจัย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 70.6) มีอายุระหว่าง 40 – 59 ปี (ร้อยละ 40.1) และพบว่ามีภาวะเสี่ยงจากภาวะอ้วนระดับ 2 (BMI ≥ 30) ถึง ร้อยละ 84.5 นอกจากนี้ ยังพบว่า ภาวะความดันโลหิตขณะบีบตัว มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง (SBP 120 - 139) ร้อยละ 56.5 และระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (FBS) &gt;125 mg/dL ถึง ร้อยละ 65.0 รวมถึง ระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ≥ 6.5 mg% ร้อยละ 85.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าอาจมีระดับน้ำตาลสะสม HbA1c มากกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า โดยมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อย (r = -18.9%) ขณะที่ ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (FBS) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1c (r = 40.2%) จากการเจาะเลือดในผู้ป่วยคนเดียวกัน</p> <p>ผู้ป่วยเบาหวานที่ศึกษามีแนวโน้มที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต จากข้อมูลบ่งชี้ คือ ค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตขณะบีบตัว รวมถึง ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร และน้ำตาลสะสมในเลือด การวิจัยต่อยอดในประเด็น การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงลึกในกลุ่มเสี่ยง ผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์ในการดูแลผู้ป่วยรายกรณี อาจเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต</p> ยุทธชัย ผันแกน ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 89 97 ปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/15252 <p>การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุ การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression</p> <p>ผลการศึกษา พบความชุกของการหกล้มในผู้สูงอายุ ร้อยละ 35.0 (95% CI: 29.4, 41.0) ส่วนใหญ่ หกล้มเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 79.2) และเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52.1) เกิดจากเดินสะดุดเอง ปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดในบ้านเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.7) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการหกล้ม พบว่า การมีปัญหาในการเดิน (OR<sub>(Adjusted)</sub> = 2.85; 95% CI: 1.48, 5.47) ผู้ที่มีความจำบกพร่อง (OR<sub>(Adjusted)</sub> = 1.91; 95% CI: 1.001, 3.65) และการใส่รองเท้าไม่เหมาะสม (OR<sub>(Adjusted)</sub>= 3.44; 95% CI: 1.21, 9.80) เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ขณะที่ การมองเห็นไม่ชัดเจน (OR<sub>(Adjusted)</sub>= 0.54; 95% CI: 0.27, 1.09) และการไม่มีราวเกาะในห้องน้ำ (OR<sub>(Adjusted)</sub> = 0.15; 95% CI: 0.03, 0.71) รวมถึงการใช้พรมลื่นที่ไม่ยึดติดกับพื้น (OR<sub>(Adjusted)</sub> = 0.16; 95% CI: 0.06, 0.41) หรือยางเกาะกันลื่น (OR<sub>(Adjusted)</sub> = 0.05; 95% CI: 0.004, 0.58) กลับเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อความเสี่ยงดังกล่าว </p> <p>การหกล้มในผู้สูงอายุยังเป็นปัญหาที่น่ากังวล การเข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ดังนั้น การส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การปรับสภาพแวดล้อม และการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี อาจเป็นแนวทางที่เหมาะสม</p> รำพึง จรัสสุริยสกุล ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 98 110