การศึกษาระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • นุษณี เอี่ยมสอาด โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • ปพิชญา ทวีเศษ โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

ฆ่าตัวตาย, พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย , โรงพยาบาลพระพุทธบาท

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่มีผลพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (2559-2561) จากแบบเฝ้าระวังการพยายามทำร้ายตนเอง (รง 506 DS) ซึ่งเป็นข้อมูลของผู้มีพฤติกรรมการพยายามทำร้ายตนเองที่มารับบริการโรงพยาบาล พระพุทธบาท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้พยายามฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยผู้ใหญ่ตอนต้น สถานภาพสมรส มีอาชีพรับจ้าง มีโรคประจำตัว ไม่ทำร้ายตนเองซ้ำ ไม่มีปัญหาพฤติกรรมส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราและการใช้สารเสพติด จะทำร้ายตนเองด้วยการรับประทานยาเกินขนาด สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ และด้านเหตุการณ์กระตุ้นให้ทำร้ายตนเองส่วนใหญ่มีปัญหาหึงหวง ผิดหวังความรัก รองลงมาปัญหาทะเลาะกับคนใกล้ชิด ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ ส่วนใหญ่ เป็นเพศชายวัยกลางคน มีสถานะภาพโสด ประกอบอาชีพรับจ้าง มีโรคเรื้อรัง เหตุการณ์กระตุ้นส่วนใหญ่น้อยใจ มีพฤติกรรมการดื่มสุราและใช้สารเสพติด ทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ เกิดอารมณ์วูบชั่ววูบ ประกอบกับการเลือกใช้วิธีการที่รุนแรงด้วยการผูกคอ ส่งผลให้ฆ่าตัวตายสำเร็จสูงขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตาย ได้แก่ สภาพร่างกายทีมีการเจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคจิตเวช มะเร็ง และโรคเอดส์ มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด น้อยใจ อีกทั้งมีพฤติกรรมการดื่มสุราและใช้สารเสพติด ดังนั้นควรมีการคัดกรอง ส่งต่อบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า พยายามฆ่าตัวตาย ผู้ติดสารเสพติด กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกต่างๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์ ความรัก ความอบอุ่นภายในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยปกป้องที่ดีที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ทำร้ายตนเอง อย่างไรก็ตามชุมชน สังคมควรมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งเสริมให้ผู้ที่มีสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย ได้เข้าถึงระบบบริการ เพื่อความปลอดภัยและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

Chuwanitwong, Somrak .(2017). Depression, the source of suicide. Retrieved February 16,2018, from https://www.posttoday.com/life/healthy/455087. (in Thai).

Department of mental health. (2015). Situation of suicide in Thailand. Retrieved February 1,2018 from. https://www.hfocus. (in Thai).

Department of mental health. (2016). Statistics of suicide attempts in Thailand. Retrieved February 16, 2018, from https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp. (in Thai).

Khamma, Anuphong. (2013). Risk factors associated with suicide : A case - control study in Sukhothai province. J Psychiatr assoc Thailand. 58 (1), 3-16. (in Thai).

Nandidarbha, Rojanaphun. (2016). Suicidal risk among patients from the internal medicine ward of Nakornping Hospital. Bulletin of Suanprung. 32 (1), 1-15. (in Thai).

Nuason, Narongsak. (2010). Alcohol-related disease and alcohol consumption in Northern Thailand: a matched case-control study.Asian Biomedicine, 3(1)319-323. (in Thai).

Pattamacharoen, Rattaphon. (2009). Suicide : The Social and cultural phenomena. Journal humanities and social sciences. 5 (2) ,7-24.(in Thai).

Prateepteranun, Waraporn. (2011). The rate of suicide and factors related to suicidal behavior at Chaophayayommarrat hospital suphanburi province. The journal of psychiatric nursing and mental health.

(3), 90-103. (in Thai).

Rattanasuwan, Phanchai. (2018). Epidemiology. Retrieved October 1, 2018, from https://smd.wu.ac.th/pdf. (in Thai).

Rueangtrakul, Somphop. (2010). Psychiatry textbook. Bangkok: Ruean kaew printing.

Sriruenthong, Wan. (2011). The suicidality in Thai population: A national survey. J Psychiatr assoc Thailand. 56(4),413-424. (in Thai).

Sukhawaha, Supattra. (2017). Risk factor and suicide theory associatedwith suicide in adolescents: a narrative reviews. J Psychiatr Assoc Thailand, 62(4),359-378. (in Thai).

Suradechakun, Tantawan. (2013). Alcohol and Violence. Chiang Mai: Wanida Printing.

(in Thai).

Upanant, Pornsin. (2009). Factors leading to patient’ s suicides at Maechan hospital,Chiang rai Province. Bulletin of Suanprung,25(2), 27-37. (in Thai).

Viriya, Panphilai. (2017) Prevalence of depression in Diabetic and Hypertension patients in Khlong Hoi Khong District, Songkhla. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 4 (Special issue) S1-S18. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-11-03

วิธีการอ้างอิง