ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ดำรงค์ ปานมพฤกษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความเสียหายจากการรักษาพยาบาล, เงินช่วยเหลือเบื้องต้น, ระบบชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิด, พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

บทคัดย่อ

บทความนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวทางเกี่ยวกับ เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 ที่มุ่งชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด เพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นและบรรเทาความเดือดร้อนด้วยความรวดเร็วเป็นธรรมรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่มีโอกาสลดจำนวนการฟ้องคดีแพทย์ได้ จากการศึกษาพบว่า

  1. ปัญหาการคุ้มครองสิทธิกรณีทารกเสียชีวิตในครรภ์มารดาโดยมารดายังมีชีวิตอยู่ และกรณีที่มารดาเสียชีวิตด้วยอันเนื่องมาจากการคลอดบุตรในหน่วยบริการ โดยปัจจุบันสำนักงานได้กำหนดเงื่อนไขว่าทารกที่เสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ดังกล่าวจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นต่อเมื่อมารดาต้องมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการแพทย์เกี่ยวกับ Threshold of Viability ของทารกแต่ละสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนดอายุครรภ์ไว้ที่ 24 สัปดาห์เท่านั้น กฎหมายจึงควรมีการแก้ไขโดยกำหนดอายุครรภ์ไว้ที่ 24 สัปดาห์ เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิทารกที่เสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์มารดาที่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์ แม้จะไม่มีสภาพบุคคลตามกฎหมายก็ตาม แต่ทารกดังกล่าวก็ถือเสมือนเป็นหนึ่งชีวิตเช่นกัน
  2. ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้กระทำผิดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดไว้ยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใดเพื่อดำเนินการไล่เบี้ยตามกฎหมาย กฎหมายจึงควรมีการแก้ไขโดยเพิ่มวรรคสองของมาตรา 42 กำหนดให้สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยได้เฉพาะกรณีผู้กระทำผิดจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เท่านั้น เพื่อความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่รัฐและเพื่อให้สถานะทางการคลังของรัฐมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Chardsumon Prutipinyo. (2015). System for compensation of damage from public health services without proving guilt. Journal of Health and Public Health Law. 1(1): 60-75. (in Thai).

Hanterdsit, Bunsak. (2010). Research report titled Initial payment under section 41 and civil litigation. Journal of Health System Research Institute (HSRI.). 2(5): 205-215. (in Thai).

Jongsaeng, N. (2016). Certification and protection of human dignity: a case study of the determination of status of a person’s condition. (Master of Laws, Chulalongkorn University). (in Thai).

Kasalanga, Anucha. (2020). A study of medical problems and medical personnel under the Ministry of Public Health and the Office of the Permanent Secretary for Public Health has been sued for treatment. Retrieved July, 3, 2020, from www.thailand.digitaljournals.org/index.php/HSSJ/article/view/17832.(in Thai).

Kei Lui, Barbara Bajuk et al. (2006). Perinatal care at the borderlines of viability: a consensus statement based on a NSW and ACT consensus workshop. Journal of the medical Australia.185(9): 495-500

Luechai Sri-Ngernuang, Naruphong Phakdee,Chiraporn Chomsri and Jarae wichathai. (2010).Research report on foreign experience Damage compensation system from public health services. Journal of Health System Research Institute (HSRI.). 2(4): 15-29. (in Thai).

Marie Bismarck and Ron Peterson. (2006). No – fault Compensation in New Zealand: Harmonizing Injury Compensation, Provider Accountability, And Patient Safety. Journal of Health Affairs.25(1): 278-283.

Maternal and Child Health Subcommittee. (2020). The Management of Preterm Labour and Preterm Premature Rupture of Membrane. Retrieved July, 7, 2020, from www.118.174.1.164/pct/cpg/Preterm.pdf

National Health Security Office. (2017). Guidelines for consideration of initial payment under Section 41. 2nd ed. Bangkok: NHSO Publishing.

National Health Security Office. (2020). Annual National Health Insurance Report. Retrieved July, 7, 2020, from www.nhso.go.th/frontend/page-about_result.aspx, 2020

Nishida, H and Sakuma, I. (2009). Limit of viability in Japan: ethical consideration. Journal of J Perinat Med. 37(5): 457-460.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง