https://thaidj.org/index.php/NRTC/issue/feed วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) 2024-08-01T16:27:16+07:00 Utit Chitngern northern.journal67@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>The Primary Health Care Journal (Northern Edition)</strong> : Objectives are to support health science researches of health institutions at all levels and also to distribute their dedicated works and researches on public health.</p> <p><strong>Free access online</strong> : Free access online : Every 4 months or 3 issue per year (January - April, May - August, September - December)</p> <p><strong>Language</strong> : Abstract in English, Text in English or Thai</p> <p><strong>Focus and Scope</strong> : The Primary Health Care Journal (Northern Edition) welcomes all kinds of related articles health science. These included:</p> <p> 1.Academic Article<br /> 2.Research Article<br /> 3.Innovation Article</p> <p><strong>Peer Review Process</strong></p> <p> All submitted manuscripts must by reviewed by at least 2 expert reviewers via the double-blinded review system.</p> <p><strong>Publication Frequency</strong> : 3 issue per year</p> <p>No.1 (January - April) </p> <p>No.2 (May - August)</p> <p>No.3 (September - December)</p> <p><strong>Open Access Policy</strong> : This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.</p> <p><strong>Publishe</strong>r : Northern Regional Center for Primary Health Care Development</p> <p>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ (Article processing charges: APC) : ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ ยกเว้นกรณียกเลิกหรือถอนบทความหลังจากที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Reviewers) พิจารณาแล้ว โดยผู้นิพนธ์จะต้องชำระค่าประเมินบทความ จำนวน 3,000 บาท</p> https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15627 สารบัญ 2024-08-01T15:40:28+07:00 มฤคราช ไชยภาพ boemmaruekarat@gmail.com 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15624 บทบรรณาธิการ 2024-08-01T15:35:23+07:00 มฤคราช ไชยภาพ boemmaruekarat@gmail.com 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15622 บรรณาธิการ 2024-08-01T15:23:41+07:00 มฤคราช ไชยภาพ boemmaruekarat@gmail.com 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15628 อสม.ดีเด่น ภาคเหนือ ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น อสม. ดีเด่น ระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 2024-08-01T15:45:19+07:00 มฤคราช ไชยภาพ boemmaruekarat@gmail.com 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15630 กระบวนการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 2024-08-01T15:48:07+07:00 รักษ์สุดา ช่อรักษ์ boemmaruekarat@gmail.com 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15623 การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของพนักงานโรงงานในจังหวัดนครสวรรค์ 2024-08-01T15:24:25+07:00 จุฑามาศ ปุญญปุระ Chut01121972@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของพนักงานโรงงาน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองศึกษากลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์จำนวนทั้งหมด 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.) รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประยุกต์จากแนวคิดการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับแนวคิดของ Nutbeam เป็นกิจกรรมพัฒนาทักษะ 6 ด้าน 2.) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้นไป ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่าหลังเข้าร่วมรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พนักงานโรงงานมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงงานให้ดีขึ้นได้</p> 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15625 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2024-08-01T15:39:10+07:00 ยุรนันท์ เทพา Yuranun122009@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 60 คน โดยที่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะได้รับการเรียนการสอนตามปกติจากทางโรงเรียน เช่นเดียวกัน แต่กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีการผสมผสานกับแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มเติมทุกวันศุกร์ ช่วงเวลา 13.00-15.30 น. ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 4 ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม สูงขึ้นกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;.05) และมีพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่โดยรวม สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value&lt;.05)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้นักเรียนสามารถนำทักษะการเข้าถึงข้อมูล ทักษะการรู้คิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะ<br>การจัดการตนเอง ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นได้</p> 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15629 รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในผู้บำบัดยาเสพติด อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2024-08-01T15:46:32+07:00 ศรัณยู สืบจิตต์ sarunyoo.cmu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจและผลของการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในผู้บำบัดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดของอำเภองาว จังหวัดลำปาง ประจำปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 86 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (Paired t-Test)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในผู้บำบัดยาเสพติดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การเห็นคุณค่าของตัวเอง 2) การเห็นคุณค่าของผู้อื่น 3) สายสัมพันธ์ที่คิดถึง 4) จุดมุ่งหมายในชีวิตและการเยี่ยมบ้านเสริมกำลังใจ มีผลทำให้ผู้บำบัดยาเสพติดมีความเข้มแข็งทางใจที่ดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ด้านกำลังใจ ด้านการจัดการกับปัญหา และด้านความเข้มแข็งทางใจโดยรวม ทำให้ผู้บำบัดยาเสพติดมองเห็นคุณค่าในตนเองทั้งทางด้านลักษณะนิสัย ด้านความกตัญญูและสายใยครอบครัวและด้านความชำนาญ ตลอดจนสามารถมองเห็นคุณค่าของตนเองจากการมองของผู้อื่น ในด้านลักษณะนิสัยและจิตใจ ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติที่ดีของตนเอง เป็นผลให้สามารถสร้างความหวังและกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ควรมีรูปแบบการละลายพฤติกรรม สร้างความสัมพันธ์กับวิทยากรก่อนดำเนินการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเปิดใจในการทำกิจกรรมและควรมีการติดตามให้ความช่วยเหลือผู้บำบัดยาเสพติดผ่านการเยี่ยมบ้านและเสริมกำลังใจโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข</p> 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15631 ประสิทธิผลของโปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสะพานดำ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ 2024-08-01T15:53:40+07:00 ชนันพร มงคลรังสฤษฏ์ Paowiman@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดศึกษา 2 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสะพานดำ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดสะสมดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15632 ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแหงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2024-08-01T16:00:33+07:00 มะยุเรีย รุ่งเจริญอารีจิตต์ mayuria.rung@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าจากนั้นจับคู่เข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 และ 0.80 ตามลำดับ และการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมการจัดโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ให้สอดคล้องกับวัย พื้นฐานความรู้ และใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย</p> 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15633 การพยาบาลมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา 2024-08-01T16:07:36+07:00 ดวงสุรีย์ ปานศิลา Chu7742@gmail.com <p>ในการศึกษากรณีนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญของการพยาบาลมารดาวัยรุ่น คือ สามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดและดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปจนเข้าสู่ระยะคลอด เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายและจิตใจของมารดาวัยรุ่นและบุตร มารดาวัยรุ่นสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตร รวมทั้งมีทักษะในการเลี้ยงดูบุตรและใช้ชีวิตครอบครัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านได้อย่างมีความสุข และได้รับบริการวางแผนคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ การศึกษารายกรณีนี้ได้นำแนวคิดและหลักการพยาบาลประยุกต์กับทฤษฎีการพยาบาล (King, I.M., 1981) ในการให้การพยาบาลแบบองค์รวม ได้นำข้อมูลจากการมาฝากครรภ์ 5 ครั้ง การคลอดบุตรและหลังคลอดบุตร มาทำการศึกษา พบว่า มารดาวัยรุ่นไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอดบุตร มารดาวัยรุ่นมีทักษะในการดูแลตนเองดีขึ้น สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมขณะตั้งครรภ์ไปจนถึงระยะคลอดบุตร มีความมั่นใจในการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มขึ้น สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปจนเข้าสู่ระยะคลอดได้อย่างปลอดภัย ได้รับการคุมกำเนิดแบบยาฝัง (Implant) เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ</p> 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15621 หน้าปก 2024-08-01T15:19:34+07:00 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ boemmaruekarat@gmail.com 2024-08-01T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024