วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) https://thaidj.org/index.php/NRTC <p><strong>The Primary Health Care Journal (Northern Edition)</strong> : Objectives are to support health science researches of health institutions at all levels and also to distribute their dedicated works and researches on public health.</p> <p><strong>Free access online</strong> : Free access online : Every 4 months or 3 issue per year (January - April, May - August, September - December)</p> <p><strong>Language</strong> : Abstract in English, Text in English or Thai</p> <p><strong>Focus and Scope</strong> : The Primary Health Care Journal (Northern Edition) welcomes all kinds of related articles health science. These included:</p> <p> 1.Academic Article<br /> 2.Research Article<br /> 3.Innovation Article</p> <p><strong>Peer Review Process</strong></p> <p> All submitted manuscripts must by reviewed by at least 2 expert reviewers via the double-blinded review system.</p> <p><strong>Publication Frequency</strong> : 3 issue per year</p> <p>No.1 (January - April) </p> <p>No.2 (May - August)</p> <p>No.3 (September - December)</p> <p><strong>Open Access Policy</strong> : This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.</p> <p><strong>Publishe</strong>r : Northern Regional Center for Primary Health Care Development</p> <p>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ (Article processing charges: APC) : ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ ยกเว้นกรณียกเลิกหรือถอนบทความหลังจากที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Reviewers) พิจารณาแล้ว โดยผู้นิพนธ์จะต้องชำระค่าประเมินบทความ จำนวน 3,000 บาท</p> ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข th-TH วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) 0857-5215 บทบรรณาธิการ https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15359 มฤคราช ไชยภาพ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 การคัดเลือก อสม.ดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ 1, 2, 3 และ ภาคเหนือ ประจำปี พ.ศ. 2567 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15360 มฤคราช ไชยภาพ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 1 1 คณะกรรมการกองบรรณาธิการวารสาร https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15358 มฤคราช ไชยภาพ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อฉวยโอกาส https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15352 <p>ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เป็นผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย <br>ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การวินิจฉัยการพยาบาล ที่ครอบคลุม ถูกต้อง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญกับความเจ็บป่วย และปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม พยาบาลที่บ้านและชุมชนจัดเป็นบุคลากรสุขภาพที่ใกล้ชิดผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อกลับไปรักษาต่อเนื่องที่บ้าน สนับสนุนครอบครัวให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ให้ข้อมูลข่าวสาร ให้บริการสุขภาพครอบคลุมด้านการส่งเสริมป้องกัน รักษาฟื้นฟูสภาพแก่ครอบครัวและชุมชนรวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การรักษาประสบความสำเร็จ ไม่เกิดการดื้อยา พึ่งพาตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>&nbsp; เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อฉวยโอกาส</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>&nbsp; </strong></p> <p>&nbsp; คัดเลือกผู้ป่วยเอดส์ที่มีโรคร่วมวัณโรคปอดที่มีความสมัครใจ เพื่อให้การดูแลโดยใช้กระบวนการพยาบาล ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัว&nbsp; ตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 ข้อ ดำเนินการวินิจฉัย วางแผนให้การพยาบาล<br>ที่สอดคล้องกับปัญหา และประเมินผลการพยาบาล และปัญหาที่พบจากการเยี่ยมบ้านและการแก้ปัญหา</p> <p>&nbsp;<strong>ผลการศึกษา</strong></p> <p>&nbsp; ผู้ป่วยตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสคือวัณโรค ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพ กลัวความลับถูกเปิดเผยและสังคมรังเกียจ มีความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลจึงมีบทบาทในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง ให้ความรู้ คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ให้กำลังใจเพื่อการมีสุขภาพดีและรับการรักษาต่อเนื่อง เป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพ ผลการศึกษาครั้งนี้ นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพทีม เป็นแนวทางในการประเมินและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ อีกด้วย</p> <p><strong>สรุป</strong></p> <p><strong>&nbsp; </strong>กรณีศึกษานี้ ทำให้เห็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างมีขั้นตอนและครอบคลุมของพยาบาล การรักษาความลับของผู้ป่วย การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่บ้านจะลดการขาดการรักษา การเยี่ยมบ้านอาจช่วยค้นพบปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการแก้ไขก็จะส่งผลดีต่อการรักษา จะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงตามมาได้ และปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม</p> อัชณา อ่ำทอง ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 2 11 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : บทเรียนเขตสุขภาพที่ 2 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15356 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์และปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และผู้เกี่ยวข้องในการดูแลประชาชน ในอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 51 คน โดยวิธีการสนทนากลุ่ม 36 คน สัมภาษณ์เชิงลึก 15 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ภูมิคุ้มกันทางใจคือ ความเข้มแข็งทางด้านจิตใจและความสามารถในการปรับตัว ปรับใจเพื่อเผชิญภาวะวิกฤติ การเกิดภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชนมี 3 ระดับ โดยมีปัจจัยกลไกและมาตรการที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันทางใจ ดังนี้ <em>1.ระดับบุคคล</em> พบว่า ปัจจัยเสริมคือการปรับตัว การแสวงหาวิธีดูแลตัวเองตามความเชื่อส่วนบุคคล การปฏิบัติตัวตามมาตรการเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโดยการดูแลสุขภาพกายและจิตใจตนเอง ส่งผลให้บุคคลลดความเครียด วิตกกังวล รู้สึกปลอดภัยและสงบ <em>2.ระดับครอบครัว</em> พบว่า ปัจจัยเสริม ได้แก่ สัมพันธภาพและสายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เช่น สมาชิกในครอบครัวมีการสื่อสารเชิงบวก ไม่กล่าวโทษกัน การแสดงความรัก ความเอาใจใส่ ห่วงใยซึ่งกันและกันการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครอบครัวตามมาตรการของรัฐ ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยและไม่ทอดทิ้งกัน <em>3.ระดับชุมชน</em> พบว่า ปัจจัยหลัก ได้แก่ ผู้นำที่เข้มแข็งทั้งผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติมีบทบาทในการขับเคลื่อนภูมิคุ้มกันทางใจ โดยการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ปัจจัยเสริมมีระบบและกลไกร่วมกันขับเคลื่อนงานผ่านระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ส่งผลให้ชุมชนเกิดความรู้สึกปลอดภัยมีความสงบ มีความหวังเกิดการยอมรับและให้โอกาสกลุ่มเสี่ยงและครอบครัวในชุมชน ทั้งนี้การเกิดภูมิคุ้มกันทางใจทุกระดับล้วนมีปัจจัยกระตุ้นคือการรับรู้ความรุนแรงและผลกระทบของสถานการณ์โรคโควิด-19</p> หยกฟ้า เพ็งเลีย สุขเสริม ทิพย์ปัญญา ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 12 19 ประสิทธิผลการดำเนินงานของ อสม.หมอคนที่ 1 ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 7 https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15363 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานของ อสม.หมอคนที่ 1 ในระบบสุขภาพปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยคำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง โดยวิธีการสนธนากลุ่มในเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพปฐมภูมิในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และ&nbsp; อสม. จากจังหวัดเขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดละ 15 คน และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลตาม CIPP Model และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจาก อสม.หมอคนที่ 1 จำนวน 424 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่&nbsp; ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า (1) ด้านบริบท (Context) มีการพัฒนาอสม.หมอคนที่ 1 โดยใช้หลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดการปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) อสม.มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้สามารถปฏิบัติงานในระบบสุขภาพปฐมภูมิ (3) ด้านกระบวนการ (Process) การทำงานส่วนใหญ่เป็นการประสานงานระหว่าง อสม.หมอคนที่ 1 และหมอคนที่ 2 ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินงานเดิม และ (4) ด้านผลลัพธ์ (Product) อสม.หมอคนที่ 1 เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยหมอคนที่ 2 และหมอคนที่ 3 ในการติดตามผู้ป่วย สื่อสารและให้คำปรึกษาผู้ป่วย และส่งต่อข้อมูลในชุมชนเชื่อมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และในส่วนของผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า อสม.ส่วนใหญ่มีการรับรู้บทบาท อสม.หมอคนที่ 1 อยู่ในระดับสูงร้อยละ 59.91 มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับสูง ร้อยละ 57.31 ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวจึงควรมีการเพิ่มศักยภาพ อสม.หมอคนที่ 1 ในการดำเนินงานในระบบสุขภาพปฐมภูมิ&nbsp; ในด้านองค์ความรู้ ทักษะด้านการสื่อสาร และการประเมินผลการดำเนินงาน</p> ถวิล เลิกชัยภูมิ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 20 27 สมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15368 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 64 &nbsp;&nbsp;คน และ อสม. จำนวน 64 &nbsp;&nbsp;คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุดและมีสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่จริงอยู่ในระดับปานกลาง อสม. มีสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่คาดหวัง สูงกว่าสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่จริง และกลุ่ม อสม. ประเมินสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่คาดหวังและสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่จริงสูงกว่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของ อสม. เพื่อให้ อสม.สามารถบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของ อสม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น</p> มหาชาติ โสภณนิธินาท ยุทธนา แยบคาย ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 28 37 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จากภาวะหลอดเลือดสมองแตก https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15367 <p>โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ และมีความพิการหลงเหลืออยู่ ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากการดูแลตามแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลแล้วควรเป็นการดูแลแบบองค์รวมเน้นการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และญาติได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและมีการฟื้นสภาพที่ดีขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นกรณีศึกษาเชิงพรรณนา โดยคัดเลือกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะเลือดออกในสมอง(Cerebral Hemorrhage) ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสวรรค์ประชารักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยนอก การสัมภาษณ์ญาติและผู้ป่วย การสังเกตขณะเยี่ยมบ้าน แบบประเมินผู้ป่วยตามแนวทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ผู้ป่วยและญาติมีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยเมื่ออยู่ที่บ้าน ทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย จึงได้นำทฤษฎีความพร่องการดูแลตนเองของโอเร็ม ทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊ฟสัน ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของโคเฮนและอัฟฮอฟ์ฟ และทฤษฎีการปรับตัวของรอย มาใช้เป็นแนวทางการวางแผนการพยาบาล เพื่อเป็นการเสริมพลังและความรู้ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ และจากการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโดยทีมสหสาขาวิชาชีพทุก 1 สัปดาห์ พบว่าภายในเวลา 1 เดือน ผู้ป่วยมีคะแนนการประเมินกิจวัตรประจำวันตาม Barthel Index เพิ่มขึ้นจาก 4 คะแนน เป็น 13 คะแนน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ภายในเวลา 4 เดือน ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเดินโดยใช้อุปกรณ์การพยุงเดิน 4 ขาได้ (Walker)</p> <p><strong>สรุป</strong> กรณีศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประเมินและค้นหาปัญหาของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ทันเวลา รวมทั้งติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ให้ได้รับการดูแลฟื้นฟูสภาพร่างกาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน และส่งเสริมให้ญาติ ผู้ดูแล และเครือข่ายมีความรู้ในการดูแลฟื้นฟูสภาพร่างกาย&nbsp; และลดปัจจัยในโอกาสการกลับเป็นซ้ำ</p> สุกัญญา ตรุสานันท์ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 38 44 การพยาบาลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างในชุมชนโดยใช้การประเมิน แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนโดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15362 <p>การศึกษาเป็นแบบกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับอัมพาตครึ่งท่อนล่างในชุมชน นำมาเปรียบเทียบกรณีศึกษา ส่งเสริม ป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อเป็นกรณีศึกษาและข้อมูลแก่พยาบาลในชุมชน และบุคคลากรในสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างและสามารถนำไปพัฒนาแนวทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกรณีศึกษาในครั้งนี้คือผู้ป่วย ในชุมชนเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดช่องคีรีศรีสิทธิวรารามที่มีภาวะอัมพาตครึ่งท่อนล่าง จำนวน 2 ราย เพศชายอายุ 40 ปี&nbsp; เพศหญิงอายุ 56 ปี ศึกษาในช่วงเดือน มกราคม 2566–กันยายน 2566&nbsp; เก็บรวบรวมข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านและจากเวชระเบียนตามกระบวนการพยาบาล ดังนี้ 1)ประเมินปัญหาและความต้องการการพยาบาล 2)นำข้อมูลที่ได้มาวินิจฉัยทางการพยาบาล 3)วางแผนให้การพยาบาล 4)ปฏิบัติการพยาบาล 5)ประเมินผลการพยาบาล 6)เปรียบเทียบกรณีศึกษา 7)สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการเปรียบเทียบกรณีศึกษาสิ่งที่มีความเหมือนกันคือ เป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างและเป็นผู้นำครอบครัวและมีปัญหาสุขภาพที่เหมือนกันคือ มีความเครียดวิตกกังวล พักผ่อนน้อย ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ท้องผูก แผลกดทับ อาการปวด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น หลอดเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อลีบ อุบัติเหตุต่างๆ ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม ความสามารถของผู้ดูแลหลักถดถอย และชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล&nbsp; ความต่างคือสาเหตุการบาดเจ็บที่ไขสันหลังจากถังแก๊สหล่นทับหลังและไขสันหลังอักเสบจากการติดเชื้อ ระดับการศึกษา ป.6 กับปริญญาตรี สถานภาพ อาชีพ มีความขัดแย้งในชุมชน ความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ บริบทที่ต่างกัน การศึกษานี้ได้นำความรู้การพยาบาลบาดเจ็บไขสันหลัง การพยาบาลครอบครัว การพยาบาลจิตเวช ทฤษฎีการพยาบาล มาวางแผนและแก้ปัญหา สามารถแก้ไขสำเร็จและบางปัญหายังต้องติดตามต่อเนื่องสิ่งสำคัญในการดูแลกรณีศึกษาทั้ง 2 รายนี้ คือการได้รับความร่วมมือจากชุมชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรพัฒนาสมรรถนะการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างในชุมชน และ 2) ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้ครบทั้ง 4 มิติ กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ ตัวอย่างเช่น สมาธิบำบัด การจัดการความเครียด เป็นต้น เพื่อยกระดับผลลัพธ์การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ดุจเดือน จิตเงิน ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 45 55 สารบัญ https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15396 มฤคราช ไชยภาพ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1 วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) https://thaidj.org/index.php/NRTC/article/view/15539 มฤคราช ไชยภาพ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 34 1