https://thaidj.org/index.php/TJCP/issue/feed เภสัชกรรมคลินิก 2024-03-13T12:42:51+07:00 Thongchai Wanlopworakit wthongchai9@gmail.com Open Journal Systems <p>สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยกองบริหารการสาธารณสุขได้จัดทำวารสารเภสัชกรรมคลินิก (Clinical Pharmacy Journal) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้าน เภสัชกรรมคลินิก เภสัชกรรมโรงพยาบาลและเภสัชสาธารณสุข ของเภสัชกรกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นสื่อกลางในการนำเสนอบทความวิชาการด้านเภสัชกรรมคลินิกและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปี 2559 (Print ISSN 0858-8538) ในวารสารปีที่ 23 ได้ปรับปรุงรูปแบบวารสารใหม่ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยการปรับเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online ISSN 2673-0162) ฉบับปีที่ 27 ได้เปลี่ยนชื่อวารสารเป็น Thai Journal of Clinical Pharmacy (Online ISSN 2774-0625) กำหนดตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน; ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม; ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p>-----------------------------------------------------------------------------------</p> <p>ขอเชิญชวนส่งบทความ online เพื่อลงในวารสารเภสัชกรรมคลินิก <strong>โปรดอ่านรายละเอียด</strong> หรือ download คู่มือและคำแนะนำได้จาก side bar ด้านข้างขวามือของหน้าเว็บไซต์ หัวข้อ "<strong>คู่มือ และ คำแนะนำ</strong>"</p> <p><strong>ขั้นตอนดำเนินการหลังจากส่งบทความ</strong></p> <ol> <li>ระบบวารสารออนไลน์จะส่งอีเมลอัตโนมัติ แจ้งขอบคุณที่ท่านได้ส่งต้นฉบับบทความมายังวารสาร</li> <li>บรรณาธิการ จะส่งอีเมลตอบรับที่จะพิจารณาบทความของท่าน ผ่านกระทู้ของระบบวารสารออนไลน์ซึ่งอาจจะให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทความเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินบทความ พร้อมทั้งแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารของชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการโอนชำระค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ<br />ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนการประเมินบทความ ค่าจัดหน้าตีพิมพ์บทความ รวมทั้งสิ้น 3,000 บาท ต่อบทความ</li> <li>เมื่อผู้นิพนธ์ได้รับแจ้งตอบรับจากบรรณาธิการแล้ว โปรดดำเนินการปรับปรุงบทความเบื้องต้น (ถ้ามี) ชำระค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ และส่งสลิปการโอนเงิน ผ่านทางกระทู้ของระบบวารสารออนไลน์</li> <li>บรรณาธิการส่งบทความของท่านให้ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการประเมินบทความโดยปกปิดชื่อผู้นิพนธ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</li> <li>บรรณาธิการแจ้งผลประเมินบทความให้ท่านได้รับทราบ และดำเนินการแก้ไข และผู้นิพนธ์ส่งบทความที่แก้ไขแล้วให้บรรณาธิการวารสาร โดยระบบวารสารออนไลน์</li> <li>บรรณาธิการวารสารส่งบทความที่แก้ไขให้กับผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอีกครั้ง หรือส่งจัดหน้าตีพิมพ์ (ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ)</li> </ol> https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14618 การพัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 2023-11-09T13:25:32+07:00 นิยม สีสวนแก้ว yomnara2@yahoo.co.th หทัยชนก พงศกฤตธมน pharmazy.hk@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong>: ทีมสหสาขาวิชาชีพคลินิกเอชไอวี โรงพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir (TDF) เพื่อให้สามารถวินิจฉัยผู้ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และหยุดยาหรือปรับแผนการรักษาก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรงโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ศึกษาผลของการใช้แนวทางการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF โดยเปรียบเทียบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา ความคลาดเคลื่อนทางยา และอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ก่อนและหลังใช้แนวทางฯ</p> <p><strong>วิธีวิจัย</strong>: วิจัยเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีผู้ใหญ่ที่ได้ TDF ระหว่าง 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2566 ก่อนและหลังใช้แนวทางการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF จำนวน 383 และ 408 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้แนวทางฯ โดยใช้สถิติ chi-square test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ผู้ป่วยก่อนและหลังใช้แนวทางฯมีความแตกต่างในด้านสูตรยาต้านไวรัสที่ได้รับ การมีโรคประจำตัว และการได้รับยากลุ่ม ACEIs และ ARBs หลังจากใช้แนวทางฯ พบว่า 1) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาลดลงจาก 7.5 เป็น 7 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา (<em>p</em>=1.000) 2) ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงจาก 14.0 เป็น 1.3 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา (<em>p</em>&lt;0.05) 3) อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรง พบ 1 ราย จาก 408 ราย (ร้อยละ 0.2) ซึ่งลดลง (<em>p</em>&lt;0.05)</p> <p><strong>สรุป</strong>: แนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF ที่ใช้ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงได้</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14372 ผลของกระบวนการแทรกแซงโดยเภสัชกรต่อความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา omeprazole ในโรงพยาบาลอ่างทอง 2023-11-07T14:06:52+07:00 พนารัตน์ ชุติมานุกูล panaratlek9@gmail.com ปภัสรา วรรณทอง bowpapassara@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong>: จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอ่างทองตามข้อบ่งใช้มีเพียงร้อยละ 6.3 จึงควรมีการศึกษากระบวนการแทรกแซงเพื่อเพิ่มความสมเหตุผลในการสั่งใช้ยาโอเมพราโซล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อเปรียบเทียบร้อยละความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ก่อนและหลังการใช้กระบวนการแทรกแซงของเภสัชกร และเพื่อศึกษาการยอมรับของแพทย์ต่อกระบวนการของการแทรกแซงของเภสัชกรต่อการสั่งใช้ยาโอเมพราโซล อย่างสมเหตุผล</p> <p><strong>วิธีวิจัย</strong>: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ในด้านข้อบ่งใช้และขนาดยาก่อนและภายหลังการแทรกแซงโดยเภสัชกร โดยระยะก่อนการแทรกแซงดำเนินการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลการสั่งใช้ยาที่มีการสั่งใช้ยาระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และระยะหลังการแทรกแซงดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 กระบวนการแทรกแซงประกอบด้วยแนวทางการสั่งใช้ยาที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลและการให้บริบาลทางเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเป็นความถี่และร้อยละ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: จำนวนผู้ป่วยระยะก่อนการแทรกแซงและระยะหลังการแทรกแซง มีระยะละจำนวน 96 คน จำนวนการสั่งใช้ยาในแต่ละระยะ 96 ครั้ง พบว่าความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ในช่วงก่อนมีกระบวนการการแทรกแซงเท่ากับร้อยละ 44.8 เมื่อมีการนำแนวทางการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลมาใช้พบว่าความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60.4 และเมื่อนำการให้บริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกรเข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้ความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85.4 การแทรกแซงโดยเภสัชกร มีการส่งปรึกษาแพทย์ พบว่าแพทย์ให้การยอมรับและปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำของเภสัชกรจำนวน 24 ครั้ง จากการส่งปรึกษาแพทย์ทั้งหมด 34 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 70.6</p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>การแทรกแซงการสั่งใช้ยาโอเมพราโซลของเภสัชกรด้วยการใช้แนวทางการสั่งใช้ยาร่วมกับการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ทำให้ความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาโอเมพราโซลในโรงพยาบาลอ่างทองเพิ่มขึ้นและแพทย์ให้การยอมรับต่อกระบวนการแทรกแซงของเภสัชกร</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14718 การประเมินผลลัพธ์ของการดูแลต่อเนื่องแบบผสมผสานสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชน 2023-11-07T15:17:38+07:00 ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์ k_piyawan@yahoo.com สุดฤทัย รัตนโอภาส hellokittytoon@gmail.com กติยา นิธรรม k_nitum@windowslive.com <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> การดูแลอย่างต่อเนื่องสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับปฐมภูมิ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก คุณภาพชีวิต และมูลค่าการรักษารวม ก่อนและหลังจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการดูแลแบบผสมผสานในโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร</p> <p><strong>วิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบกึ่งทดลองระหว่าง พฤษภาคม 2566 - กรกฎาคม 2566 ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา 6 เดือนขึ้นไป การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องแบบผสมผสานประกอบด้วย 1) การพัฒนาการรักษาผู้ป่วยตาม GOLD guideline ของทีมสหวิชาชีพ 2) เพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย 3) การดูแลอย่างต่อเนื่อง 4) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน mMRC dyspnea scale การเกิดภาวะกำเริบ การมารักษาที่ห้องฉุกเฉิน การมานอนรักษาในโรงพยาบาล PEFR, FEV<sub>1</sub> คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจาก CAT score และมูลค่าการรักษาของผู้ป่วย ก่อนและ 6 เดือนหลังการปรับปรุงระบบ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 95 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 81.1) อายุเฉลี่ย 66.9 ปี ร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับ mMRC dyspnea scale ที่ต้องการคือน้อยกว่า 2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.2 เป็น 71.6 (<em>p</em>&lt;0.05) ค่า PEFR และ FEV<sub>1</sub> เพิ่มขึ้น การเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลัน การนอนรักษาในโรงพยาบาล การมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากค่า CAT score ที่ต้องการคือน้อยกว่า 10 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.1 เป็น 65.3 และมูลค่าการรักษาโดยรวมลดลงร้อยละ 35.9</p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบผสมผสาน ส่งผลให้เพิ่มประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยทั้งผลทางคลินิก และผลทางเศรษฐศาสตร์</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14586 ความคลาดเคลื่อนทางยา และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลลำพูน 2023-12-07T14:44:32+07:00 พิมพ์ชนก ขันแก้วหล้า Pimchanokbum024@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา:</strong> ความคลาดเคลื่อนทางยา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ในกระบวนการใช้ยาและมีผลกระทบทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาสุขภาพ สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น และอาจรุนแรงจนทำให้เสียชีวิต</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong>: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน ที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง 14 รายการ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 6,917 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และระบบสารสนเทศการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลลำพูน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.1 มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 64.5ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยา ร้อยละ 84.5 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 74.5 มีการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง จำนวน 6,917 ครั้ง รายการยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ magnesium sulphate ร้อยละ 17.6 รองลงมาคือ norepinephrine ร้อยละ 17.0 และ potassium chloride ร้อยละ 14.7 มีการใช้ยา ในแผนกผู้ป่วยหนักมากที่สุด ร้อยละ 47.7 พบความคลาดเคลื่อนทางยาจากการจ่ายยา ร้อยละ 0.4 การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา พบภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ ร้อยละ 0.2 ภาวะเลือดออกร้อยละ 0.2 ปัจจัยพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ อายุที่มากกว่า 60 ปี และการมีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีติดตามและเฝาระวังการใชยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยสูงอายุ และมีโรคประจำตัว</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14720 การพัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต จาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลอุทัยธานี 2024-01-17T14:23:07+07:00 ศิริวัลย์ ศรีประทีปบัณฑิต phongsdent@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา</strong>: ยาต้านไวรัสเอชไอวี tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เป็นยาหลักที่อยู่ในสูตรสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/เอดส์แต่ TDF มีผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตของผู้ป่วยหากได้รับยาเป็นเวลานานโดยไม่ได้ตรวจติดตามและแก้ไข</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อ 1) ศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วย TDF 2) พัฒนาและศึกษาผลของการนำรูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากการได้รับ TDF</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับ TDF จากฐานข้อมูลเวชระเบียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ระยะที่ 3 ทดลองรูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 4 ศึกษาผลของการนำรูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯที่พัฒนาขึ้นไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน แบบบันทึกการติดตามผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ป่วยที่ได้รับ TDF มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง ร้อยละ 10.26 และมีภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรง ร้อยละ 1.70 รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ประกอบด้วย การกำหนดการติดตามค่าการทำงานของไต การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยการให้คำปรึกษาการรับประทานยา การปรับขนาดยาให้เหมาะสม การหยุดยา การพัฒนาสื่อให้ความรู้ คู่มือการทำงานให้เป็นแนวทางเดียวกันและการส่งต่อข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย ผลการใช้รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯพบว่า ภายหลังการปรึกษาแพทย์โดยเภสัชกร แพทย์มีการหยุดยาและปรับขนาดยาตามการทำงานของไต และไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจาก TDF ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในระดับสูง</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong> : รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจาก TDF ได้</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14732 พัฒนา ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลของโรงพยาบาลตะกั่วป่า 2023-12-02T02:58:43+07:00 พงษ์กฤษฎ์ เทียนครบ ppongpkt@gmail.com <p><strong>ความเป็นมา: </strong>โรงพยาบาลตะกั่วป่ามีมูลค่าการใช้ยาเพิ่มขึ้นใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังพบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลจึงได้นำนโยบายและกลยุทธ์มาขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลของโรงพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ของโรงพยาบาลตะกั่วป่า</p> <p><strong>วิธีวิจัย: </strong>ติดตามและประเมินผลกระบวนการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล การบรรลุเกณฑ์ตามตัวชี้วัดการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุสมผล 18 ตัวชี้วัด การดูแลกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในกลุ่มยาปฏิชีวนะแบบฉีด ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ (defined daily dose :DDD) ชนิดรับประทานในผู้ป่วยนอกและชนิดฉีดในผู้ป่วยใน แนวโน้มการเกิดชื้อดื้อยาที่สำคัญ และความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้ยา metformin โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลตะกั่วป่าและ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559- 30 กันยายน 2564 และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> โรงพยาบาลตะกั่วป่ามีกระบวนการดำเนินงานครบถ้วนตามเกณฑ์ ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด 15 ตัวชี้วัด การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในการปรับเปลี่ยนชนิดยาปฏิชีวนะหลังผลเพาะเชื้อ การปรับเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นยาชนิดรับประทาน และ การปรับขนาดยาตามการทำงานของไต ปริมาณการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในผู้ป่วยนอกและชนิดฉีดในผู้ป่วยในลดลงในปีงบประมาณ 2564 ความไวของเชื้อแบคทีเรียเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น การสั่งจ่ายยา metforminลดลงในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลง</p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย: </strong>การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล เพิ่มความปลอดภัยและในการรักษา และลดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15072 การจัดทำตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ (ยา) สำหรับโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2024-03-01T10:40:54+07:00 วรนัดดา ศรีสุพรรณ naddavo@gmail.com ชุติมา อรรคลีพันธุ์ chutima@ihpp.thaigov.net วิไลลักษณ์ แสงศรี wilailak.s@ihpp.thaigov.net <p><strong>ความเป็นมา</strong> งานบริหารเวชภัณฑ์เป็นหนึ่งในงานหลักของงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล ที่ต้องใช้ทักษะและความรู้ของเภสัชกร และยังต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบด้านจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนด กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) มุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและกฎระเบียบที่สำคัญจึงจำเป็นต้องทบทวนตัวชี้วัดสำหรับการบริหารเวชภัณฑ์</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อจัดทำตัวชี้วัดงานบริหารเวชภัณฑ์ยาที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. ซึ่งตอบสนองต่อนโยบายและกฎระเบียบปัจจุบันของไทย</p> <p><strong>วิธีวิจัย </strong>ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ (1) กำหนดกรอบแนวคิด (2) ทบทวนวรรณกรรมทั้งในและต่างประเทศ (3) ยกร่างตัวชี้วัดบริหารเวชภัณฑ์ทั้งในมิติด้านคุณภาพ, เวลา, การเงิน/ต้นทุน และผลิตภาพ และ (4) จัดประชุมหารือเภสัชกรกลุ่มตัวอย่าง 18 คน เพื่อกำหนดวิธีคัดเลือกโดยพิจารณาตามลำดับขั้นพร้อมกับความเป็นไปได้ของการเก็บข้อมูล และคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> ตัวชี้วัดที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะผู้วิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี 16 ตัว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในขั้นตอนคัดเลือกรายการยา 2 ตัว ประมาณการ 4 ตัว จัดซื้อ 3 ตัว เก็บและสำรอง 6 ตัว และ กระจาย 1 ตัว เมื่อแจกแจงตัวชี้วัดที่ตอบมิติด้านคุณภาพของงานมี 10 ตัว เวลา 2 ตัว การเงิน/ต้นทุน 9 ตัว และ ผลิตภาพ 6 ตัว นอกจากนี้ยังตอบนโยบายด้วย 8 ตัว</p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย </strong>การวิจัยนี้ได้ตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ยาในโรงพยาบาล การกำกับติดตามงาน และการตอบสนองนโยบายที่กำหนดไว้ ทั้งหมด 16 ตัวชี้วัด</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข