เภสัชกรรมคลินิก
https://thaidj.org/index.php/TJCP
<p>สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยกองบริหารการสาธารณสุขได้จัดทำวารสารเภสัชกรรมคลินิก (Clinical Pharmacy Journal) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้าน เภสัชกรรมคลินิก เภสัชกรรมโรงพยาบาลและเภสัชสาธารณสุข ของเภสัชกรกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นสื่อกลางในการนำเสนอบทความวิชาการด้านเภสัชกรรมคลินิกและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปี 2559 (Print ISSN 0858-8538) ในวารสารปีที่ 23 ได้ปรับปรุงรูปแบบวารสารใหม่ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยการปรับเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online ISSN 2673-0162) ฉบับปีที่ 27 ได้เปลี่ยนชื่อวารสารเป็น Thai Journal of Clinical Pharmacy (Online ISSN 2774-0625) กำหนดตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน; ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม; ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p>-----------------------------------------------------------------------------------</p> <p>ขอเชิญชวนส่งบทความ online เพื่อลงในวารสารเภสัชกรรมคลินิก <strong>โปรดอ่านรายละเอียด</strong> หรือ download คู่มือและคำแนะนำได้จาก side bar ด้านข้างขวามือของหน้าเว็บไซต์ หัวข้อ "<strong>คู่มือ และ คำแนะนำ</strong>"</p> <p><strong>ขั้นตอนดำเนินการหลังจากส่งบทความ</strong></p> <ol> <li>ระบบวารสารออนไลน์จะส่งอีเมลอัตโนมัติ แจ้งขอบคุณที่ท่านได้ส่งต้นฉบับบทความมายังวารสาร</li> <li>บรรณาธิการ จะส่งอีเมลตอบรับที่จะพิจารณาบทความของท่าน ผ่านกระทู้ของระบบวารสารออนไลน์ซึ่งอาจจะให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทความเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินบทความ พร้อมทั้งแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารของชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการโอนชำระค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ<br />ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนการประเมินบทความ ค่าจัดหน้าตีพิมพ์บทความ รวมทั้งสิ้น 3,000 บาท ต่อบทความ</li> <li>เมื่อผู้นิพนธ์ได้รับแจ้งตอบรับจากบรรณาธิการแล้ว โปรดดำเนินการปรับปรุงบทความเบื้องต้น (ถ้ามี) ชำระค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ และส่งสลิปการโอนเงิน ผ่านทางกระทู้ของระบบวารสารออนไลน์</li> <li>บรรณาธิการส่งบทความของท่านให้ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการประเมินบทความโดยปกปิดชื่อผู้นิพนธ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</li> <li>บรรณาธิการแจ้งผลประเมินบทความให้ท่านได้รับทราบ และดำเนินการแก้ไข และผู้นิพนธ์ส่งบทความที่แก้ไขแล้วให้บรรณาธิการวารสาร โดยระบบวารสารออนไลน์</li> <li>บรรณาธิการวารสารส่งบทความที่แก้ไขให้กับผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอีกครั้ง หรือส่งจัดหน้าตีพิมพ์ (ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ)</li> </ol>
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
th-TH
เภสัชกรรมคลินิก
2774-0625
<p> ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร<br /> กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)<br /> ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ</p>
-
การศึกษาความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี
https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15034
<p><strong>ความเป็นมา</strong>: วาร์ฟาริน (warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ใช้รักษาและป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) ซึ่งอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นภาวะคุกคามและถึงแก่ชีวิตได้ โรงพยาบาลชลบุรีมีผู้ป่วยที่มีผล INR ไม่อยู่ในเป้าหมายเป็นจำนวนมาก จากการวิเคราะห์หาสาเหตุคาดว่าความรู้เรื่องยาของผู้ป่วยอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่อผลการรักษา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับวาร์ฟารินของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี ทั้งในด้านวิธีการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา และการปฏิบัติตนเมื่อใช้ยา และ ศึกษาเปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับการใช้วาร์ฟารินของผู้ป่วยที่มีปัจจัยต่าง ๆ แตกต่างกัน</p> <p><strong>วิธีวิจัย</strong>: งานวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชลบุรีที่ได้รับวาร์ฟาริน จำนวน 266 คน เก็บข้อมูลพื้นฐานและความรู้เรื่องวาร์ฟารินของผู้ป่วยโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย และรวบรวมข้อมูลทางห้องปฏิบัติการจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลชลบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ independent t test, one-way ANOVA และ Bonferroni post hos test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินของผู้ป่วยเท่ากับ 14.76 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.09) จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ข้อคำถามที่ผู้ป่วยตอบได้คะแนนมากที่สุดคือ การปฏิบัติตนในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือมีบาดแผล ข้อคำถามที่ผู้ป่วยตอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือ อาการผิดปกติเมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ผู้ป่วยที่มีปัจจัยแตกต่างกันทางด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ขนาดของวาร์ฟารินที่รับประทานต่อสัปดาห์ ระยะเวลาที่รับวาร์ฟาริน และการเคยได้รับวาร์ฟารินหลายขนาด มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยที่มีค่า INR และ %TTR แตกต่างกัน</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong>: ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชลบุรีที่ได้รับวาร์ฟารินมีคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินเฉลี่ยเท่ากับ 14.76 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน และผู้ป่วยที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
ภิรดี ปิยะมาน
อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
30 2
99
113
-
ระดับความดันโลหิตและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นกับคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลปากช่องนานา
https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15348
<p><strong>ความเป็นมา</strong>: โรงพยาบาลปากช่องนานาได้ดำเนินโครงการลดความแออัดรับยาที่ร้านยา (โมเดล 1) เมื่อ 1 มกราคม 2563 โดยเริ่มในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่สมัครใจและผ่านเกณฑ์ประเมินจากแพทย์ เภสัชกรร้านยามีบทบาทในการดูแลเรื่องยาและติดตามระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยทุก 2 เดือน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นกับรับยาที่คลินิกความดันโลหิตสูง</p> <p><strong>วิธีวิจัย</strong>: เป็นการศึกษาเชิง intervention รูปแบบ prospective cohort study โดยผู้ป่วยเลือกสถานที่รับยาต่อเนื่องเอง รวบรวมข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก ผลการควบคุมความดันโลหิตค่าบน (SBP) และค่าล่าง (DBP) และความร่วมมือในการใช้ยาในระยะเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ multivariable gaussian regression</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นมีแนวโน้มว่ามีความดันโลหิตค่าบนไม่เกิน 140 mmHg และความดันโลหิตค่าล่างไม่มากกว่า 90 mmHg ส่วนความร่วมมือในการใช้ยาที่ประเมินด้วยตนเองและนับเม็ดยาดีกว่าการรับยาที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (<em>p</em>-value <0.001 และ 0.018 ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: ผู้ป่วยรับยาร้านยาชุมชนอบอุ่นสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายและให้ความร่วมมือในการใช้ยาได้ดีกว่าผู้ป่วยรับยาที่คลินิกความดันโลหิตสูง</p>
มิรันตี จงเจือกลาง
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
30 2
114
125
-
ผลของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15202
<p><strong>ความเป็นมา: </strong>ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในโรงพยาบาลสงขลามีอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยที่เคยนอนโรงพยาบาล สาเหตุหลักเนื่องจากเทคนิคการฉีดอินซูลิน ผิดวิธี จึงได้นำเทคโนโลยีการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล มาช่วยแก้ปัญหาเพื่อลดอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ และลดภาระค่าใช้จ่ายการนอนโรงพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินผลของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลต่อการลดอัตราการกลับมานอนซ้ำในโรงพยาบาล และประเมินภาระค่าใช้จ่ายการนอนโรงพยาบาลในส่วนที่โรงพยาบาลต้องจ่ายทั้งหมดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยหรือผู้ดูแลสามารถฉีดอินซูลิน ได้อย่างถูกต้อง และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับบริการในระบบเดิมที่ไม่มีการบริการเภสัชกรรมทางไกล ระยะเวลาการติดตามรวม 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน 2566)</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลมีจำนวน 18 ราย ส่วนกลุ่มควบคุมมีจำนวน 21 รายผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความเสมอเหมือนในเรื่องของข้อมูลทั่วไป ยกเว้นเรื่องชนิดของยาฉีดอินซูลิน อัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำในช่วง 6 เดือน ของกลุ่มที่ได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลคิดเป็นร้อยละ 5.6 (1/18) ส่วนกลุ่มควบคุมคิดเป็นร้อยละ 23.8 (5/21) (relative risk 0.23; 95%CI 0.03-1.82) การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 6 ราย สามารถลดการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำได้ 1 ราย (NNT=6) ส่วนค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลต้องจ่ายไปในเรื่องค่าใช้จ่ายการนอนโรงพยาบาลพบว่ากลุ่มที่ได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลมีค่าใช้ทั้งสิ้น 5,926 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 52,598 บาท ซึ่งมีความแตกต่างกันประมาณ 9 เท่า โดยค่าใช้สูงสุดสามลำดับแรกคือ ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา (ร้อยละ 39.90) ค่าห้องและอาหาร (ร้อยละ 17.09) และค่าบริการทางการพยาบาล (ร้อยละ 12.97) ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> แม้ว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลกับผู้ที่ไม่ได้รับบริการ แต่การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกระทรวงสาธารณสุขได้</p>
ณัฐพล ลี้สกุลพิศุทธิ์
ณวัศนันท์ เต็งมีศรี
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
30 2
126
141
-
การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง
https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15218
<p><strong>ความเป็นมา:</strong> เอดส์เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาได้ แต่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดให้ต่ำที่สุดจนตรวจไม่พบ และไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในด้านปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ระดับจำนวนเซลล์ CD4 และจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวีของผู้ป่วย</p> <p><strong>วิธีวิจัย:</strong> วิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษา ณ คลินิกให้คำปรึกษา เบอร์ 40 โรงพยาบาลเกาะคา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 484 ราย รวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกการให้บริบาลทางเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยา ผลการนับจำนวนเซลล์ CD4 และจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบจำนวนเซลล์ CD4 และจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวีก่อนและหลังการบริบาลทางเภสัชกรรม ใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาตามที่สั่ง 31 ครั้ง (40.74%) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาได้รับการแก้ไข 92 ครั้ง (96.84%) และหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมพบว่า จำนวนเซลล์ CD4 เพิ่มขึ้นและจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวีลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value < 0.05)</p> <p><strong>สรุป:</strong> การบริบาลทางเภสัชกรรมเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ได้รับยาต่อเนื่อง และทำให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาที่ดีขึ้นได้</p>
นุชปวีร์ จงรุ่งโรจน์สกุล
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
30 2
142
152
-
ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมติดตามค่าไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต
https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15160
<p><strong>ความเป็นมา</strong>: ทีโนโฟเวียร์ไดโซโพรซิลฟูมาเรต (tenofovir disoproxil fumarate; TDF) เป็นยาสูตรหลักที่ใช้ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี สามารถควบคุมไวรัสได้ดี ผลข้างเคียงน้อย แต่เนื่องจาก TDF ทำให้เกิดภาวะพิษต่อไต การให้คำแนะนำที่เหมาะสมอาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาผลลัพธ์ด้านอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF และปัญหาจากการใช้ยา (drug-related problems; DRPs) เทียบก่อนกับหลังใช้โปรแกรมการติดตามค่าไต</p> <p><strong>วิธีวิจัย: </strong>เป็นวิจัยกึ่งทดลองเทียบผลก่อนและหลังใช้โปรแกรมการติดตามค่าไต (ช่วงปี พ.ศ. 2563-2566)วิเคราะห์ข้อมูลแสดงค่าความถี่ ร้อยละ การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตแสดงค่า odds ratio (OR) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งหมด 607 ราย (ก่อนใช้ 243 ราย, หลังใช้ 364 ราย) ส่วนใหญ่อายุ ≤50 ปี ใช้ยาต้านไวรัสที่ไม่ใช่กลุ่มยับยั้งโปรตีเอส และใช้ยานานเกิน 12 เดือน พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตหลังใช้โปรแกรมติดตามค่าไตน้อยกว่า (ร้อยละ 5.21, 9.87: OR 0.503; 95%CI 0.269-0.939, <em>p</em>-value=0.031) ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF ร้อยละ 49.70 พบปัญหาจากการใช้ยาลดลง (ร้อยละ 7.10, 13.60: <em>p</em>-value=0.009) ซึ่งปัญหาทั้งหมดถูกแก้ไขโดยเภสัชกร สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์ คือ เพศชาย (OR 2.16; 95%CI 1.05-4.46, p-value=0.037) ใช้ยายับยั้งโปรตีเอส (OR 3.63; 95%CI 1.65-7.97, <em>p</em>-value=0.001) ค่าไตเริ่มต้น 60-90 มล./นาที/1.73ม<sup>2</sup> (OR 3.89; 95%CI 1.82-8.34, <em>p</em>-value < 0.001) และผู้ป่วยที่พบปัญหาจากการใช้ยา (OR 5.39; 95%CI 2.44-11.94, <em>p</em>-value < 0.001)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>การใช้โปรแกรมติดตามค่าไตโดยเภสัชกรช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF และการมีส่วนร่วมของเภสัชกรช่วยลดปัญหาการใช้ยาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้</p>
อนุทิน ก๋ายะ
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
30 2
153
166
-
สตีเวนส์จอห์นสันซินโดรมจากอัลโลพูรินอล ในผู้ป่วยชาวไทย ที่ผลเอชแอลเอ-บี*58:01 เป็นลบ: รายงานผู้ป่วย
https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/15085
<p>อัลโลพูรินอล เป็นยาลดกรดยูริกที่มีการใช้อย่างแพร่หลายสำหรับรักษาโรคเกาต์และภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงจากยาในประเทศไทย โดยเฉพาะอาการแพ้ยาแบบสตีเวนส์จอห์นสันซินโดรม ซึ่งอาจนำมาสู่ความพิการหรือเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีการศึกษาค้นพบแล้วว่าการมียีน <em>HLA-B*58:01</em> (ผลเป็นบวก) เป็นความเสี่ยงหนึ่งของการแพ้อัลโลพูรินอลแบบสตีเวนส์จอห์นสันซินโดรมทั้งในชาวเอเชียและยุโรป จึงได้มีคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองยีน <em>HLA-B*58:01</em> ก่อนเริ่มให้อัลโลพูรินอล เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามรายงานผู้ป่วยฉบับนี้เป็นตัวอย่างผู้ป่วยหญิงไทยสูงอายุ ซึ่งได้รับการตรวจคัดกรองยีน HLA-B*58:01 ผลเป็นลบก่อนเริ่มอัลโลพูรินอลเนื่องจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ไม่มีอาการ แต่ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยาแบบสตีเวนส์จอห์นสันซินโดรมหลังจากได้รับอัลโลพูรินอลเป็นเวลา 39 วัน ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอาการไม่พึงประสงค์กับยาโดยใช้แบบประเมิน Naranjo's algorithm และ ALDEN ได้ผลการประเมินระดับน่าจะใช่ (probable ADR) จากอัลโลพูรินอล ผู้ป่วยต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 6 วัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย แม้ว่าผลการตรวจคัดกรองยีน <em>HLA-B*58:01</em> จะเป็นลบ ก็ควรต้องให้คำแนะนำ สังเกต และติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วง 1-3 เดือนแรกของการให้อัลโลพูรินอล</p>
กฤติกา แย้มพยนต์
ปนัดดา สวัสดิ์มงคล
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
30 2
167
179