https://thaidj.org/index.php/jpph/issue/feed
(PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences
2024-07-30T09:55:29+07:00
ผศ.(พิเศษ)พญ.ปาริชาติ นิยมทอง
pniyomthong@yahoo.com
Open Journal Systems
<p>เป็นวารสารวิชาการทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ทางคลินิก และสาธารณสุขและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความคิดผลงานวิชาการระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกได้แก่ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย บทความพิเศษ เป็นต้น</p> <p> </p>
https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/15188
ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดโดยใช้รูปแบบ DMETHOD ต่อทักษะในการปฏิบัติตัวและความพึงพอใจในบริการพยาบาล
2024-06-10T10:36:55+07:00
ธิดาลักษ์ แก้วแจ่ม
tidalux0632@gmail.com
ศิริกาญจน์ จินาวิน
tidalux0632@gmail.com
<p><strong>บทนำ:</strong><strong> </strong>การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย คือ การช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเอง ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดีที่สุด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดก่อนและหลังการวางแผนจำหน่าย ทักษะการปฏิบัติตัวระหว่างกลุ่ม และศึกษาความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้รูปแบบ D-METHOD</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong><strong> </strong>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ โดยใช้แผนการจำหน่ายรูปแบบ D-METHOD ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือดที่เข้ารับการรักษาในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ คัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป G Power 3.1.9.4 เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 3) แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือด และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจบริการพยาบาล</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่าประชากรที่ศึกษา ทั้งสองกลุ่ม มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็นนิ่วในไต จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ37.84 ทั้งสองกลุ่มมีโรคประจำตัวเป็น HT และ DLP เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ผลคะแนนทักษะในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยปัสสาวะปนเลือดในกลุ่มทดลองภายหลังการได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้รูปแบบ D-METHOD มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะในการปฏิบัติตัวมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป:</strong> การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยใช้การวางแผนจำหน่ายรูปแบบ D-METHOD เป็นการจัดระบบการจำหน่ายผู้ป่วยที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การวางแผนจำหน่าย, การพัฒนาคุณภาพ, ปัสสาวะปนเลือด</p>
2024-07-30T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences
https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/15232
ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อสนับสนุนและให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง โรงพยาบาลแพร่
2024-06-19T12:54:48+07:00
พัชรพรรณ เหมืองหม้อ
nanapatcharapan@gmail.com
หัสยาพร อินทยศ
nanapatcharapan@gmail.com
<p><strong>บทนำ: </strong>การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องเป็นการผ่าตัดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อร่างกายมาก มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดสูง พยาบาลมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูร่างกายเร็วขึ้น สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อสนับสนุนและให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง โรงพยาบาลแพร่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษา 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารักษาโดยการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องอายุ 20–60 ปี จำนวน 54 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 27 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อสนับสนุนและให้ความรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของโอเร็ม และใช้นวัตกรรม PH (Patcharapan and Hutsayaporn) Pain Relief Pillow 27 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบไคสแคว์ และสถิติในการทดสอบของแมน และวิทนีย์ (Mann-Whitney U test)</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้น และมีคะแนนความรู้มากกว่ากลุ่มควบคุม และมีระดับความปวดหลังผ่าตัดเมื่อครบ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มทดลองมีความความสามารถในการดูแลตนเองทุกด้านมากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม PH (Patcharapan and Hutsayaporn) Pain Relief Pillow อยู่ในระดับมากที่สุด (n=27, Mean=4.82, S.D.=0.067)</p> <p><strong>สรุป: </strong>โปรแกรมการพยาบาลเพื่อสนับสนุนและให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองมากขึ้นได้</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>โปรแกรมการพยาบาลเพื่อสนับสนุนและให้ความรู้, การดูแลตนเอง, การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง</p>
2024-07-30T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences
https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/15086
ผลของการติดเชื้อโควิด 19 ต่ออัตราอุบัติการณ์การตายที่ระยะเวลา 28 วันของผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันของโรงพยาบาลแพร่
2024-07-11T09:31:34+07:00
กุลนาถ คูหา
kunlanart11@gmail.com
ธนิดา ศรีนัครา
kunlanart11@gmail.com
นำโชค แจ่มวงค์
kunlanart11@gmail.com
ปาริชาติ นิยมทอง
kunlanart11@gmail.com
ธานินทร์ ฉัตราภิบาล
kunlanart11@gmail.com
<p><strong>บทนำ: </strong>ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome ; ARDS) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลกและประเทศไทยเนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตสูง ในโรงพยาบาลแพร่ พบว่า ปี 2560-2562 และ ปี 2563-2566 มีการเสียชีวิตเพิ่มจาก 65.07% เป็น 72.8% ซึ่งตรงกับช่วงระบาดของ COVID-19 และจากการศึกษาที่พบว่าการติดเชื้อ COVID-19 ในผู้ป่วย ARDS ทำให้สัดส่วนการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น แต่บางการศึกษากลับพบว่า สัดส่วนการเสียชีวิตของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ COVID-19 ไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อเปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์การตายระหว่างผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ COVID-19 ภายใน 28 วัน หลังรับการรักษา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษารูปแบบ Observational retrospective cohort study กลุ่มศึกษาแบ่งเป็นผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ COVID-19 ศึกษาผลของการติดเชื้อ COVID-19 ต่ออัตราอุบัติการณ์การตายที่ระยะเวลา 28 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดย Multivariable Poisson regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>อัตราอุบัติการณ์การตายของผู้ป่วยARDSที่ติดเชื้อเทียบกับไม่ติดเชื้อ COVID-19 ลดลง 6% โดยมีค่า 95%CI อยู่ที่ 0.65-1.35 และเมื่อปรับอิทธิพลของปัจจัยกวน อัตราอุบัติการณ์การตายของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อ COVID-19 ลดลง 15% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีค่า 95%CI อยู่ที่ 0.57-1.25</p> <p><strong>สรุป: </strong>การศึกษาพบว่าอัตราอุบัติการณ์การตายในโรงพยาบาลที่ 28 วันของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อ COVID-19 ไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อ COVID-19 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องคำนึงถึงอาการและความสำคัญทางคลินิก ดังนั้นจึงควรติดตามอาการของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อ COVID-19 อย่างใกล้ชิด</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>COVID-19, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, อัตราอุบัติการณ์การตาย</p>
2024-07-30T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences