(PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences https://thaidj.org/index.php/jpph <p>เป็นวารสารวิชาการทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ทางคลินิก และสาธารณสุขและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความคิดผลงานวิชาการระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกได้แก่ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย บทความพิเศษ เป็นต้น</p> <p> </p> โรงพยาบาลแพร่ กระทรวงสาธารณสุข th-TH (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2985-2420 ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่ https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14300 <p><strong>บทนำ:</strong> การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดมีความสำคัญอย่างมาก โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจเรื่องโรค การรักษาและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และช่วยให้ผู้ป่วยโรคต้อกระจกได้รับการผ่าตัดสำเร็จตามแผนการรักษาที่วางไว้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ ความสามารถ และระดับความพึงพอใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยใช้โมบายแอพพลิเคชั่นการให้ความรู้และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Quasi-experimental research ชนิด two group pretest -posttest design ศึกษาระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์–เมษายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โมบายแอพพลิเคชั่นการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคต้อกระจก แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง และแบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคต้อกระจก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square Paired simples t-test และ Independent simples t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong> ผู้ป่วยที่เข้ารับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นมีความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดต้อกระจก ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจก มากกว่าผู้ป่วยที่เข้ารับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายปกติอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.001, &lt;0.001) และมีระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นส่งผลต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจในอยู่ในระดับสูง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> <strong> </strong>โปรแกรมการให้ความรู้, แอพพลิเคชั่น, ผู้ป่วยต้อกระจก, การดูแลตนเอง</p> เพ็ญศรี ปัญโญ อรพิน มโนรส มะลิ การปักษ์ อัญชลี แนวณรงค์ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 1 16 ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่รับการรักษาแบบประคับประคอง https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14369 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งมักมีความต้องการการดูแลทางการแพทย์ การช่วยเหลือทางทางกายและจิตใจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป เป็นภาระหนักและส่งผลต่อผู้ดูแลหลายด้าน อาจทำให้ผู้ดูแลเกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งส่งผลเสียกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่เข้ารับปรึกษาที่คลินิกดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลร้องกวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบภาวะเครียด (ST-5) ของกรมสุขภาพจิตและแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 ฉบับภาษาไทย</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ผู้ดูแล 85 รายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.1) อายุเฉลี่ย 49.3 ปี พบความชุกของภาวะเครียดปานกลางถึงมาก ร้อยละ 50.6 และพบความชุกของภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 49.4 จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดด้วย multivariate logistic regression พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องดูแลมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน (OR=11.73, 95%CI=1.32-103.93, p=0.03) และ ผู้ดูแลที่ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร (OR=13.55, 95%CI=1.31-139.75, p=0.03) อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลกับการมีภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าด้วย multivariate logistic regression</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าพบได้ค่อนข้างมากในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จึงควรมีการสำรวจและประเมินภาวะเหล่านี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและนำผู้ที่ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วเหมาะสม</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, ผู้ดูแลผู้ป่วย, ภาวะเครียด, ภาวะซึมเศร้า</p> พิมพ์ชนก สุนทร ธภัคนันท์ อินทราวุธ ทัศนีย์ บุญอริยเทพ ธนากร แก้วสุทธิ รุ่งกิจ ปินใจ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 17 33 ผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความเจ็บปวดและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14469 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อเป็นผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ต้องเผชิญความปวดชนิดเฉียบพลัน หากผู้ป่วยได้รับการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน การจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการพยาบาลทำตามแนวทางที่กำหนด กระบวนการโค้ชเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการจัดการความปวดของพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดร่วมกับการโค้ชพยาบาลต่อการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความเจ็บปวดและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษากึ่งทดลองชนิดเปรียบเทียบสองกลุ่ม (Quasi-experimental research Independent T-test) โดยใช้แนวคิดการโค้ชของเฮอร์มีเนีย ไอบีร่า เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย จำนวน 8 คน ผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ที่รับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>พยาบาลวิชาชีพหลังได้รับการโค้ชมีคะแนนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการจัดการความปวดมากกว่าก่อนรับการโค้ชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดร่วมกับการโค้ชพยาบาล (กลุ่มทดลอง) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อการปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวด คะแนนเฉลี่ยความปวด และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการความปวดโดยใช้แนวปฏิบัติเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การโค้ชสามารถทำให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีต่อผู้ป่วย ควรมีการนำกระบวนการโค้ชมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ความปวด, การโค้ช, หลังผ่าตัด</p> สุทินา วงศ์ฉายา จิญ แก้วกล้า ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 34 47 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการเกิดภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14514 <p><strong>บทนำ:</strong> ภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายส่งผลให้เกิดการคั่งค้างในระบบไหลเวียน จนทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หายใจเหนื่อยหอบ และเสียชีวิตตตามมาในที่สุด การจัดการตนเองช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก่อนการฟอกเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษากึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 37 คนที่ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test&nbsp; และ สถิติ pair t - test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก่อนการฟอกเลือกน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp;</p> <p><strong>สรุป:</strong> ควรมีการนำโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวพน้ำเกินไปใช้ ควรมีการนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปใช้ในการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การจัดการตนเอง, ภาวะน้ำเกิน</p> สายสุนีย์ ภิญโญ ศิริกาญจน์ จินาวิน ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 48 59 ผลของการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14553 <p><strong>บทนำ:</strong> การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญและจำเป็นต้องมีระบบการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อลดปัญหาการคลอดก่อนกำหนด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบและประสิทธิผลของรูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong> เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกคลินิกสูติ-นรีเวช แผนกผู้ป่วยในตึกสูติ-นรีเวชกรรม และแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 24 คน และหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> รูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน ชื่อบัญชี คือ “clinic preterm” เป็นรูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาด้วยแผ่นอินโฟกราฟิกและวิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับความเสี่ยง ผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ด้านประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า หลังการใช้รูปแบบไลน์แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น และปฏิบัติตนในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และส่วนใหญ่ร้อยละ 93.3 คลอดตามกำหนด ด้านความพึงพอใจต่อรูปแบบพบว่า ทั้งกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และ 4.21)</p> <p><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการเฝ้าระวังและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด โดยใช้ไลน์แอปพลิเคชัน ช่วยเสริมสร้างความรู้และส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักและเห็นความสำคัญการปฏิบัติตนในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การเฝ้าระวังและติดตาม, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด, ไลน์แอปพลิเคชัน</p> กัลยา กิติมา ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 60 74 ประสิทธิผลของการพ่น Flurbiprofen บนกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจต่อภาวะเจ็บคอและเสียงแหบจากการใส่ท่อช่วยหายใจ หลังจากการให้การระงับความรู้สึกแบบดมยาสลบ: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14567 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ภาวะเจ็บคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจหลังจากให้การระงับความรู้สึกแบบดมยาสลบ (Postoperative sore throat : POST) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังการระงับความรู้สึกที่พบได้บ่อย Flurbiprofen oral spray เป็น NSAIDs ในรูปของยาพ่นเยื่อบุช่องปากที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะเจ็บคอจากกระบวนการอักเสบ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลของ Flurbiprofen ต่อภาวะเจ็บคอและเสียงแหบภายหลังการใส่ท่อช่วยหายใจ ในการระงับความรู้สึกด้วยวิธีดมยาสลบ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยที่เข้าการผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบดมยาสลบและใส่ท่อช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร 80 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน โดยกลุ่มทดลอง หรือ F group คือ กลุ่มที่พ่น flurbiprofen spray ลงบน endotracheal cuff หลังจากที่หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่น กลุ่มควบคุม หรือ C group คือ กลุ่มที่ได้หล่อลื่น endotracheal cuff ด้วยเจลหล่อลื่นอย่างเดียว เก็บข้อมูลอุบัติการณ์ คะแนนความเจ็บคอ เสียงแหบ ผลข้างเคียงจากการทดลอง และความพึงพอใจของผู้ป่วย ที่ 1, 4 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบอุบัติการณ์และความรุนแรงของภาวะเจ็บคอในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 1, 4 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด (p&lt;0.001) อุบัติการณ์และความรุนแรงของภาวะเสียงแหบที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และผลข้างเคียงที่พบในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่าง</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การพ่น Flurbiprofen บนกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจช่วยลดภาวะเจ็บคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยไม่พบผลข้างเคียง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ภาวะเจ็บคอ, การใส่ท่อช่วยหายใจ, flurbiprofen, ยาพ่น</p> สุดารัตน์ ศุภกิจเจริญ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 75 87 การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำ เพื่อฟอกเลือดล้างไตแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลแพร่ https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14584 <p><strong>บทนำ:</strong> การผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำเพื่อฟอกเลือดล้างไต (AVF) แบบวันเดียวกลับ เป็นหนึ่งในการบริการผ่าตัดที่นิยมผ่าตัดในผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย และผลการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำเพื่อฟอกเลือดล้างไตแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลแพร่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่ จำนวน 15 คน และผู้ป่วยผ่าตัด AVF แบบวันเดียวกลับระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน ถึง31 สิงหาคม 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด AVF แบบวันเดียวกลับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพและของผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติ แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วย แบบบันทึกอุบัติการณ์งด หรือเลื่อนผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำเพื่อฟอกเลือดล้างไตแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลแพร่ ที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การนัดผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ กิจกรรมที่ 2 การดูแลผู้ป่วยระยะก่อนผ่าตัด กิจกรรมที่ 3 การดูแลผู้ป่วยระยะผ่าตัดในวันที่ผู้ป่วยมารับการผ่าตัด และกิจกรรมที่ 4 การดูแลผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัด ผลการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำ เพื่อฟอกเลือดล้างไตแบบวันเดียวกลับ พบว่า พยาบาลวิชาส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 86.7 สามารถปฏิบัติตามกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำเพื่อฟอกเลือดล้างไตแบบวันเดียวกลับได้อย่างถูกต้องครบถ้วน มีความพึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29) และผู้ป่วยที่เข้ารับบการผ่าตัด มีความพึงพอใจต่อแนวทางการพยาบาลดูแลอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39) ไม่พบอุบัติการณ์งดหรือเลื่อนผ่าตัดจากความไม่พร้อมของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด และภาวะเลือดออกหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง พบเพียงอาการปวดตึงบริเวณแผลผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 6.7</p> <p><strong>สรุป:</strong> แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำเพื่อฟอกเลือดล้างไตแบบวันเดียวกลับ ถือเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพของการบริการ ที่ก่อประโยชน์ให้ผู้ป่วยได้รับการบริการ ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดแดงและดำ, โรคไตเรื้อรัง, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ</p> <p> </p> พิชามญชุ์ อินแสน วิลาสินี อุปนันไชย ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 88 103 ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14657 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>การผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้องเป็นการผ่าตัดใหญ่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ผู้ป่วยมีปัญหาการฟื้นตัวหลังผ่าตัด การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่ ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด จะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วย ที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อม เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยชายอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องแบบนัดหมายของระบบทางเดินอาหาร ระบบตับและทางเดินน้ำดีและได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ข้อมูลทั่วไป ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าพิสัยและส่วนเบี่ยงเบน ข้อมูลคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ใช้สถิติ Mann-Whitney U test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง มีคะแนนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) คะแนนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในวันที่1 (x̅ =184.71, SD=5.08) และวันที่ 3 (x̅ =192.28, SD=2.53) ของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของกลุ่มควบคุมในวันที่ 1 (x̅ =171.99, SD=16.48) และวันที่ 3 (x̅ =183.06, SD=10.24)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง สามารถส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องได้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การฟื้นตัวหลังผ่าตัด, การส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด, ERAS</p> สุภารัตน์ หมื่นโฮ้ง เฉลิมขวัญ สุฤทธิ์ ขวัญดาว ดวงแก้ว ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 104 117 ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลแพร่ https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14709 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>อาการท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง โปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกสามารถลดความรุนแรงของอาการท้องผูกได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังโรงพยาบาลแพร่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษา interrupted time design ในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังโรงพยาบาลแพร่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ บันทึกการขับถ่าย อาการรบกวนและวิธีการช่วยขับถ่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ordinal logistic regression analysis และนำเสนอผลของโปรแกรมด้วยค่า risk reduction</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง ลดอาการท้องผูกหรือถ่ายลำบากได้ร้อยละ 93.6 (95%CI=83.5, 97.5, p&lt;0.001) ลดอาการท้องอืดหรือคลื่นไส้ ร้อยละ 90.1 (95%CI=74.8, 96.1, p&lt;0.001) และลดการรับประทานยาระบาย การใช้ยาเหน็บ หรือการสวนอุจจาระได้ร้อยละ 95.0 (95%CI=86.4, 98.2, p&lt;0.001) ระดับความพึงพอใจต่อการดูแลด้วยโปรแกรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 74.5</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>โปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดอาการท้องผูก ท้องอืด และลดการสวนอุจจาระได้ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวได้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>โปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก, โรคกระดูกสันหลัง, ท้องผูก, ถ่ายอุจจาระลำบาก</p> อรพินธุ์ ปัทมาภรณ์พงศ์ สิริยาพร จักรทอง จิญ แกล้วกล้า ลิขสิทธิ์ (c) 2024 (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences 2024-02-20 2024-02-20 31 2 118 132