https://thaidj.org/index.php/jsnh/issue/feed Journal of Sakon Nakhon Hospital-วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2024-02-14T14:08:34+07:00 Chutharut Ridruechai-จุฑารัตน์ ฤทธิ์ฤาชัย skhjournal@gmail.com Open Journal Systems <p>กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ม.ค.-เม.ย. พ.ค.-ส.ค. ก.ย.-ธ.ค.</p><p>เบอร์โทรติดต่อ 0-4217-6000 ต่อ 1042</p><p>E-mail : skhjournal@gmail.com</p><p> </p><p> </p> https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11084 การเปรียบเทียบปริมาณรังสีในปริมาตรเป้าหมายของการวางแผนการรักษาและ อวัยวะเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบสามมิติ และปรับความเข้ม ในโรงพยาบาลสกลนคร 2021-10-18T13:30:24+07:00 พัฒนพงษ์ แสนชนม์ ph26at@gmail.com เกียรติศักดิ์ พรหมเสนสา ph26at@gmail.com ศรายุทธ ครโสภา lamood58@gmail.com วิมลมาศ ทองงาม maprang_rt@hotmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสีในปริมาตรเป้าหมายของการวางแผนการรักษา (Planning target volume: PTV) และอวัยวะเสี่ยง (Organs at risk: OARs) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบสามมิติ (3DCRT) และแบบปรับความเข้ม (IMRT) กลุ่มตัวอย่างคือ แผนการรักษา 3DCRTและ IMRT อย่างละ 10 แผน ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดความเสี่ยงสูง จำนวน 5 ราย ทำการสร้างแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดความเสี่ยงสูงด้วยเทคนิค 3DCRT และ IMRT โดยกำหนดค่าปริมาณรังสีระหว่าง 76 ถึง 78 เกรย์ ทำการเปรียบเทียบค่าดัชนีความเข้ารูป (Conformity index: CI) และค่าพารามิเตอร์ปริมาณรังสีเชิงปริมาตรใน PTV และ OARs จากแผนการรักษาทั้ง 2 เทคนิค</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่าค่า CI ของ PTV ที่ได้จากแผนการรักษาทั้ง 2 เทคนิค มีค่าอยู่ระหว่าง 0.99 ถึง 1.48 สำหรับค่าปริมาณรังสีที่มีค่าต่ำสุดที่ครอบคลุมปริมาตรของ PTV (D95) ทั้ง 2 เทคนิคมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 95 เมื่อพิจารณาปริมาตรของ PTV ที่ได้รับ ปริมาณรังสีสูงเกินกว่าที่กำหนดร้อยละ 110 (V110) ของปริมาณ รังสีที่กำหนด เทคนิค 3DCRT มีค่าสูงกว่าเทคนิค IMRT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) เมื่อพิจารณาการได้รับปริมาณรังสี OARs ในแผนการรักษาแบบ 3DCRT OARs ได้รับปริมาณรังสีเกินเกณฑ์ที่กำหนดทุกแผนการรักษา ในขณะที่ IMRT OARs ได้รับปริมาณรังสีผ่านตามเกณฑ์ของ Radiation Therapy Oncology Group(RTOG)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การฉายรังสีแบบ IMRT สามารถเพิ่มปริมาณรังสีแก่ PTV ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากให้ได้รับสูงขึ้นในขณะที่ OARs ได้รับปริมาณรังสีลดลง ส่งผลให้การเกิดผลข้างเคียงจากการฉายรังสีในระหว่างและหลังการฉายรังสีลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น</p> <p><span class="fontstyle0">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คำสำคัญ: </span><span class="fontstyle2">เทคนิคการฉายรังสีแบบสามมิติ เทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม มะเร็งต่อมลูกหมาก</span> </p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11085 ความชุกการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง 2021-10-18T14:44:09+07:00 ชีวิน ขาวประภา korookung@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทและสมองมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันสูง เนื่องจากมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลง มีการไหลเวียนของเลือดลดลง การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทและสมองของโรงพยาบาลสกลนคร โดยศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยกลุ่มโรคทางศัลยกรรมระบบประสาทและสมองที่มารับการรักษาในแผนกศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนครระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการวินิจฉัยโรคทางศัลยกรรมระบบประสาท ข้อมูลการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi–square test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Independent t– test</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัย 180 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 66.1 อายุเฉลี่ย 55.6 ± 15.3 ปี ความชุกการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทและสมองเป็นร้อยละ 3.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศหญิง (p = 0.009) โรคเบาหวาน (p &lt; 0.001) ความดันโลหิตสูง (p = 0.031) และผู้ป่วยเนื้องอกสมอง (p = 0.017)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความสำคัญในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันและเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเนื้องอกสมองผู้ป่วยเพศหญิง ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง เนื้องอกสมอง</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11086 ความรู้และพฤติกรรมการจัดการถุงน้ำยาล้างไต ที่เกิดจากการล้างไตที่บ้าน ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร 2021-10-18T14:59:33+07:00 ธิดารัตน์ สุตะโคตร hdchula9@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมการจัดการถุงน้ำยาล้างไตที่บ้านของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มารับการรักษาในหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีระยะเวลาการล้างไตทางช่องท้อง 1 ปีขึ้นไป จำนวน 229 คน เก็บข้อมูลในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาและความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80 และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีของคูเดอร์ริชาร์ดสัน สูตร KR – 20 ด้านความรู้การจัดการถุงน้ำยาล้างไตได้เท่ากับ 0.73 ด้านพฤติกรรมการจัดการถุงน้ำยาล้างไตได้เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 94.8 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการถุงน้ำยาล้างไตอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 79.0 มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการถุงน้ำยาล้างไตอยู่ในระดับดี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.8 มีพฤติกรรมขายถุงน้ำยาล้างไตให้กับร้านรับซื้อของเก่าและกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 96.8 มีพฤติกรรมจัดการกับถุงน้ำยาล้างไตที่ไม่ถูกต้องก่อนขายให้ร้านขายของเก่า ดังนั้นจึงควรให้ความรู้ในการจัดการถุงน้ำยาล้างไตและปรับปรุงพฤติกรรมของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง เพื่อให้มีความรู้และพฤติกรรมการจัดการถุงน้ำยาล้างไตที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของตนเอง ครอบครัว และสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: ความรู้เกี่ยวกับการจัดการถุงน้ำยาล้างไต พฤติกรรมการจัดการถุงน้ำยาล้างไต การล้างไตทางช่องท้อง</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11087 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ บ้านนากระตึบ ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2021-10-18T15:13:02+07:00 ลัดดา พลพุทธา ladda@reru.ac.th บุณยดา วงค์พิมล ladda@reru.ac.th อรทัย พงษ์แก้ว ladda@reru.ac.th กฤษฎา เขื่อนโยธา ladda@reru.ac.th กัญญารัตน์ มูลทา ladda@reru.ac.th จิราพร ตันกูล ladda@reru.ac.th ธิตินันท์ หงส์ลอยลม ladda@reru.ac.th สิริพร บุญลาด ladda@reru.ac.th ปิยภรณ์ ยงยืน ladda@reru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ บ้านนากระตึบ ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ อาศัยอยู่บ้านนากระตึบ ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 122 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 3.41, S.D. = 0.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านโภชนาการ (x ̅ = 3.58, S.D. = 0.55) 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (x ̅ = 3.53, S.D. = 0.56) 3) ด้านจิตวิญญาณ <br>( x ̅ = 3.52, S.D. = 0.58) และด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (x ̅ = 3.50, S.D. = 0.65) ส่วนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้านอยู่ในระดับดี เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อยได้แก่ ด้านการจัดการกับความเครียด ( x ̅ = 3.25, S.D. = 0.69) และด้านการออกกำลังกาย (x ̅ = 3.08, S.D. = 1.18)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพในการกำหนดแนวทางเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ แม้ผลการวิจัยจะพบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมสุขภาพที่บุคลากรทีมสุขภาพควรให้ความตระหนักคือ การสร้างเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11089 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะวิกฤตหลังผ่าตัดตับ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสกลนคร 2021-10-19T14:43:30+07:00 สุรวิมล ไชยรบ surawimol@hotmail.com กนกพร กุลวงษ์ kanok-kull@hotmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะวิกฤตหลังผ่าตัดตับ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสกลนคร 2) ศึกษาระดับความเป็นไปได้ในการนำใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ และ 3) ประเมินระดับความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ โดยใช้กระบวนการพัฒนาที่ประยุกต์รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2) การค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและนำไปทดลองใช้ และ 4) การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้จริง ซึ่งการศึกษานี้ดำเนินการอย่างสมบูรณ์ถึงระยะที่ 3 โดยมีการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 12 เรื่อง สกัดข้อความรู้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะวิกฤตหลังผ่าตัดตับ 9 ด้าน ภายใต้กรอบแนวคิดการประเมินผู้ป่วยวิกฤตของ FANCAS และ FASTHUG และBANDAIDS แล้วนำไปตรวจสอบคุณภาพได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.85 และค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 0.80 จากนั้นนำร่างแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการนำใช้กับพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 14 คน ระหว่างเดือนกันยายน–ตุลาคม พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นไปได้ในการนำใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะวิกฤตหลังผ่าตัดตับอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.78, S.D. = 0.02) และความพึงพอใจต่อการนำใช้แนวปฏิบัตินี้อยู่ใน ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61, S.D. = 0.02)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สรุป แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะวิกฤตหลังผ่าตัดตับ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสกลนคร ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปปฏิบัติและพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: มะเร็งท่อน้ำดี การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11099 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ 2021-10-20T10:45:12+07:00 รัชฎา พูนปริญญา r.thayapat@hotmail.com วิชชุดา กิตติวราฤทธิ์ kwitch15@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาเชิงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ 2) สร้างและพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ 3) ศึกษาผลลัพธ์หลังจากนำแนวปฏิบัติมาใช้จริง ดำเนินการวิจัยวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลลัพธ์จากการใช้แนวปฏิบัติได้แก่ 1)ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ จำนวน 30 คน 2) พยาบาลห้องผ่าตัด จำนวน 26 คน และ 3) พยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วย จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ และ 3) แบบประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลห้องผ่าตัดมีความพึงพอใจโดยรวมต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์อยู่ในระดับมาก ( X ̅ = 4.36, SD = 0.26) พยาบาลประจำหอผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมต่อแนวปฏิบัติฯ ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.51, S.D. = 0.54) ผู้ป่วยผ่าตัดมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ( X ̅ = 4.46, S.D. = 0.58) และพบว่า หลังทดลองใช้แนวปฏิบัติ หลังการผ่าตัดไม่พบผู้ป่วยมีภาวะไหล่ติดและไม่พบการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติทางคลินิกโดยรวมมีคะแนนความคิดเห็น<br>ร้อยละ 98</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นควรมีการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และการผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมต่อไป <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์ พยาบาลห้องผ่าตัด</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11100 ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในทีมหมอครอบครัว 2021-10-20T10:58:34+07:00 ทรงศักดิ์ เทเสนา tesena.s@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การเป็นส่วนหนึ่งในทีมหมอครอบครัวเป็นบทบาทสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของ อสม. ในทีมหมอครอบครัวอยู่ในระดับดีแต่ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุง การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานและปัจจัยที่มีผลต่อระดับการปฏิบัติงานของอสม. ในการเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมหมอครอบครัว เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจาก อสม. จำนวน 146 คน ที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่บริการคลินิกหมอครอบครัว ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนเมืองสุขเกษม โรงพยาบาลสกลนคร ระหว่างวันที่1–31พฤษภาคมพ.ศ.2563 วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติงานด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติงานและปัจจัยเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านด้วยสถิติถดถอยพหุลอจิสติกส์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง อสม. มีระดับการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมหมอครอบครัวในระดับสูง ร้อยละ 47.15 ความรู้ในงานเยี่ยมบ้านระดับสูงร้อยละ 87.67 ทัศนคติในการปฏิบัติงานระดับสูงร้อยละ 65.06 ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับสูง ร้อยละ 59.58 และปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานในระดับสูง ร้อยละ 75.34 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านของ อสม. ร่วมกับทีมหมอครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ เพศชาย มีโอกาสปฏิบัติงานระดับสูงเป็น 5.17 เท่าของ อสม. เพศหญิง (OR<sub>ad</sub>j = 5.17, 95% CI = 1.01–26.42) ความรู้เบื้องต้นในการเยี่ยมบ้านสูง มีโอกาสปฏิบัติงานระดับสูงเป็น 3.49 เท่าของ อสม.ที่มีความรู้เบื้องต้นในการเยี่ยมบ้านปานกลาง (OR<sub>adj</sub> = 3.49, 95% CI = 1.22–10.01) ทัศนคติด้านความรู้ ความเข้าใจ สูง มีโอกาสปฏิบัติงานระดับสูงเป็น 3.09 เท่าของ อสม.ที่มีทัศนคติด้านความรู้ ความเข้าใจ ปานกลาง (OR<sub>adj</sub> = 3.09, 95% CI = 1.01–9.50) ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ทำสูง มีโอกาสปฏิบัติงานระดับสูงเป็น 3.99 เท่าของ อสม.ที่มีปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ทำปานกลาง (OR<sub>adj</sub> = 3.99, 95% CI = 1.29–12.24) และปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและความสะดวกในการเดินทางสูงมีโอกาสปฏิบัติงานระดับสูงเป็น3.92 เท่าของอสม. ที่มีปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและความสะดวกในการเดินทางปานกลาง (OR<sub>adj</sub> = 3.92, 95% CI = 1.34–11.47) <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คำสำคัญ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11102 ผลของการใช้นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินต่อความกลัวในการพ่นยาฝอยละออง ของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 2021-10-20T11:58:00+07:00 มารศรี ศิริสวัสดิ์ marasri209@gmail.com อภิสิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป marasri209@gmail.com นงลักษณ์ บุญทอง marasri209@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินต่อความกลัวในการพ่นยาฝอยละอองของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและได้รับการรักษาโดยการพ่นยา จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมหรือกลุ่มทดลองโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลในการพ่นยาตามปกติ กลุ่มทดลองมีการใช้นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ลดความกลัวระหว่างการพ่นยา ประกอบด้วย 1) การเบี่ยงเบนความสนใจโดยการใส่ชุดหมีโคอล่า 2) เบี่ยงเบนความสนใจโดยให้เด็กกดปุ่มเปิดสียงก่อนเริ่มการสวมหน้ากากพ่นยาฝอยละออง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการได้รับยาพ่นแบบฝอยละออง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Independent t–test&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความกลัว (X ̅ = 10.80, S.D. = 5.583) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (X ̅ = 32.87, S.D. = 11.594) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นวัตกรรมโคอาล่าพาเพลินสามารถใช้เป็นแนวทางในการเบี่ยงเบนเพื่อลดความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและได้รับการรักษาโดยการพ่นยาได้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: เด็กวัยก่อนเรียน การพ่นยาฝอยละออง ความกลัว</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11168 การพัฒนาเครือข่ายปากสวยโมเดลต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรค 2021-10-25T14:50:02+07:00 อัครินทร์ สูฝน pcu99837@gmail.com ไพรจิตร ศิริมงคล pcu99837@gmail.com ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง pcu99837@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา เครือข่ายปากสวยโมเดลต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบง่ายจำนวน 64 คน คือผู้ที่เคยป่วย ผู้สัมผัสโรค ผู้ใกล้ชิด กลุ่มเสี่ยง แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.โพนพิสัยจ.หนองคาย การพัฒนาเครือข่ายปากสวยโมเดล (PAKSUAI model network) 7 ด้าน คือ P: การวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผน A: การปรับทัศนคติที่ดี K: พัฒนาความรู้ ทักษะการดูแลผู้ป่วยวัณโรค S: เสริมสร้างพลังการทำงาน U: กำหนดบทบาทหน้าที่และความร่วมมือ A: ติดตามการปฏิบัติงานและ I: สรุปผลการดำเนินงานเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายฯ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเที่ยง โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาร์ค = 0.89</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และบทบาทเครือข่ายปากสวยโมเดลก่อนและหลังดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ความคิดเห็นการพัฒนาเครือข่ายต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรครายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีส่วนร่วม (X ̅ = 4.71, S.D. = 0.37) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการมีเอกภาพ และด้านการสรุปทบทวน รายงานผลงาน (X ̅ = 4.38, S.D. = 0.27; X ̅ = 4.38, S.D. = 0.28) จากผลการวิจัย ควรให้ผู้นำชุมชนและเครือข่ายมีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่ายปากสวยโมเดลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: เครือข่ายปากสวยโมเดล การดูแลผู้ป่วยวัณโรค</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11144 การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่พบเอสทียกสูง จังหวัดสกลนคร 2021-10-25T12:31:45+07:00 ขชล ศรียายาง kachol_s@yahoo.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่พบเอสทียกสูง (Non ST Elevation Myocardial Infarction: NSTEMI)จังหวัดสกลนคร และศึกษาผลลัพธ์ภายหลังการพัฒนาเครือข่าย เก็บข้อมูลโดยการประชุมกลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วยประยุกต์ใช้แบบ Thai ACS Registry แนวทาการวิเคราะห์ SWOT และแนวปฏิบัติทางคลินิกผู้ป่วย NSTEMI ผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มพัฒนาเครือข่ายและกลุ่มประเมินผลการพัฒนา ดำเนินการวิจัย ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการ โดยกำหนดนโยบายการพัฒนาเครือข่าย กลยุทธ์เครือข่าย และวิเคราะห์และวางแผนยุทธศาสตร์ ระยะที่ 2 การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย NSTEMI และระยะที่ 3 การประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย NSTEMI จังหวัดสกลนคร ตามแผนยุทธศาสตร์ 3ยุทธศาสตร์ คือ “รู้เร็ว–เรียกเร็ว–รับเร็ว–มาเร็ว–รักษาเร็ว” “ทีมเก่ง–หัวใจแกร่ง–พร้อมแบ่งปัน” และ “บริการแบบครบวงจรไร้รอยต่อ” ทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย NSTEMI แบบครบวงจรไร้รอยต่อ ประกอบด้วย 1) ระบบการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติทางคลินิกของเครือข่ายจังหวัดแบบ “one protocol one province” 2) ระบบบริการครบวงจร ระบบการตรวจคัดกรอง การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลเครือข่ายทุกระยะ จากก่อนมาถึงโรงพยาบาลจนถึงภายหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้เข้าถึงการสวนหัวใจอย่างเร่งด่วนตามระดับความรุนแรงก่อนการจำหน่ายทุกราย และได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่องอย่างเหมาะสมตามประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและป้องกันการกลับเป็นซ้ำโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) ระบบขอคำปรึกษาจากอายุรแพทย์โรคหัวใจโรงพยาบาลแม่ข่ายที่สามารถเข้าถึงง่ายตลอด 24 ชั่วโมง 4) ความพร้อมด้านยา อุปกรณ์ เครื่องมือ และมีระบบหมุนเวียนใช้ในจังหวัด 5) การพัฒนาสมรรถนะทีมในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องโดยใช้การเรียนรู้เป็นทีม และโครงการหัวใจสัญจรไป ยังโรงพยาบาลลูกข่าย เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากร ประเมินความพร้อมในการให้บริการ และเสริมพลังเครือข่าย6) ระบบพยาบาลประสานการดูแลผู้ป่วย และผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราการเข้าถึงการรักษาแบบเฉพาะด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 90.55 อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลลดลงจากร้อยละ 12.02 ± 6.46 เป็นร้อยละ 5.3 ± 4.17 อัตราการเสียชีวิตใน 30 วัน ลดลงจากร้อยละ 6.46 ± 8.72 เป็นร้อยละ 3.85 ± 4.27 ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น จึงควรขยายผลในเขตบริการสุขภาพที่ 8 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการรักษาผู้ป่วย NSTEMI อย่างทั่วถึง <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: การพัฒนาเครือข่าย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบเอสทียกสูง</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11164 คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ 2021-10-25T14:35:42+07:00 <p>-</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11078 กองบรรณาธิการ 2021-10-15T14:18:14+07:00 <p>-</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11145 การจี้ทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว ร่วมกับมีทางลัดกระแสไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงสูง 2021-10-25T12:46:12+07:00 เจนจิรา สวัสดิมานนท์ janjira.doctor@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;Atrial fibrillation (AF) ที่พบร่วมกับทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจเป็นภาวะที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นความเสี่ยงสูงทำให้เกิดภาวะช้อกจากความดันโลหิตลดต่ำมาก เกิด Ventricular fibrillation (VF) และหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden cardiac death) จากการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงในการเกิด AF ในผู้ป่วย Wolff–Parkinson–White (WPW) syndrome มีประมาณ 15% โดยกลไกการเกิดนั้นยังไม่ทราบชัดเจน และประมาณ 25% ของผู้ป่วย WPW syndrome มีทางลัดกระแสไฟฟ้าที่มี anterograde refractory period สั้นกว่า 220 ms ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิด Ventricular fibrillation และเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันตามมา ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มี ภาวะ AF with WPW เป็นภาวะฉุกเฉินที่จะต้องรีบรักษา โดยการปรับกระแสไฟฟ้าหัวใจ (Defibrillation) ในผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำ และหลีกเลี่ยงยาที่ยับยั้ง AV node เช่น Verapamil, Diltiazem, Digoxin และกลุ่ม Beta blocker เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางลัดเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Ventricular fibrillation แม้กระทั่งยา Amiodarone ที่ใช้อย่างแพร่หลาย ยังมีคำเตือนห้ามใช้ในภาวะนี้ การรักษาโดยการจี้กระแสไฟฟ้า(radiofrequency ablation) เพื่อตัดทางลัดกระแสไฟฟ้าจึงมีบทบาทสำคัญมากในการช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยไม่พบว่าการตัดทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจนี้มีส่วนป้องกันการเกิด AF อย่างถาวร ซึ่งการจี้ทางลัดกระแสไฟฟ้าในผู้ป่วยที่มีภาวะ AF มีความยากต่อการแปลผลและหาจุดทางเบี่ยงกระแสไฟฟ้าจึงต้องใช้การหาจุดทางลัดจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจวางแผนการจี้กระแสไฟฟ้าหัวใจจากการใช้ภาพ Fluoroscope เพื่อดูตำแหน่งสายจี้กระแสไฟฟ้าหัวใจ (Anatomical mapping) และสัญญาณไฟฟ้าจากตำแหน่งทางลัด (Activation mapping)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: Atrial fibrillation, Wolff–Parkinson–White Syndrome, Ventricular fibrillation, Sudden cardiac death, Radiofrequency ablation.</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11146 การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2021-10-25T12:54:49+07:00 ดารณี มิตรสุภาพ addydaranee@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในทั่วโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยและเป็นภาวะที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง กลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยสูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และมีภาวะติดเตียง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและเพิ่มวันนอนในโรงพยาบาลการพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลันนั้น พยาบาลต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินโรค อาการเปลี่ยนแปลง มีทักษะและความชำนาญในการประเมินอาการผู้ป่วย การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อจะดูแลให้ผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤตและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษานี้นำเสนอการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน มีการดูแลตนเองไม่เหมาะสมทำให้มีอาการทรุดลงและเกิดภาวะหายใจล้มเหลวผู้ป่วยต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและอยู่ในภาวะวิกฤต การพยาบาลที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพทำให้ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการดูแลจนปลอดภัย พ้นภาวะวิกฤต ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถจำหน่ายจากโรงพยาบาลกลับไปดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้านได้ <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: การพยาบาล ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะไตวายเฉียบพลัน</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11148 การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย: กรณีศึกษา 2 ราย 2021-10-25T13:01:43+07:00 สุภัตตรา อินทร์คำน้อย Vaw_S.paltra.in@hotmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่สำคัญในผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ใน 3 ของกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสกลนคร ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้แก่ กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ภาวะการหายใจล้มเหลว ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอยมาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว โดยศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบและมีภาวะหายใจล้มเหลว 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลสกลนคร โดยการศึกษาประวัติผู้ป่วย การรักษาพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอย วางแผนปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้ง 2 รายเป็นเพศชาย อายุ 60 ปี และ 61 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว มาด้วยอาการ ไข้ ไอ หายใจหอบ เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2–3 วัน รับเข้ารักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย1 ต่อมาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย หายใจหอบมากขึ้น ร่วมกับระดับออกซิเจนลดลง จึงได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติที่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษารีบด่วน ตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย โรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว เป็นสิ่งเร้าตรง ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) การปรับตัวด้านร่างกาย ยังมีอาการเหนื่อยเล็กน้อย แต่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เอง 2) ด้านอัตมโนทัศน์ ใช้การปรับวิธีคิดในการทำใจยอมรับกับสิ่งที่เป็นอยู่ 3) ด้านบทบาทหน้าที่ สามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ และ 4) ด้านพึ่งพาระหว่างกัน โดยได้รับความรัก ความห่วงใยและกำลังใจ มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลในครอบครัว สรุปได้ว่า พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยต้องมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยได้รับการดูแลจนพ้นภาวะวิกฤต รวมทั้งมีบทบาทในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยและเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถปรับตัวกับภาวะวิกฤติของโรคได้ <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: โรคปอดอักเสบ ภาวะหายใจล้มเหลว การพยาบาล ทฤษฎีการปรับตัวของรอย</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11165 แบบฟอร์มส่งบทความและใบสมัครสมาชิกวารสาร 2021-10-25T14:37:36+07:00 <p>-</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11079 สารบัญ 2021-10-15T14:20:00+07:00 <p>-</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11077 บทบรรณาธิการ 2021-10-15T14:08:04+07:00 ศิรยุสม์ วรามิตร skhjournal@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp; วารสารโรงพยาบาลสกลนคร กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือมกราคม - เมษายน พฤษภาคม - สิงหาคม และกันยายน - ธันวาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. เผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมและรวบรวมวิทยาการ การค้นคว้าทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในประเด็นปัญหาทางสุขภาพ และสาธารณสุข<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้า กิจกรรมและข่าวสารทางการสาธารณสุข</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11150 บทบาทพยาบาลชุมชนในการป้องกัน COVID–19 ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทของอีสานไทย 2021-10-25T13:26:27+07:00 พนารัตน์ ศาสนะสุพินธ์ skhjournal@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้เป็นการนำสนอเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค COVID–19 ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น และการควบคุมและป้องกันการติด COVID–19ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทของภาคอีสานของไทย เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันการติด COVID–19 ในพื้นที่ ในการควบคุมและป้องกันโรคต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนและสมาชิกในชุมชนทุกคน โดยแต่ละคนมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่การทำงานต้องมีการประสานความร่วมมือกัน ได้แก่ ผู้สูงอายุ สมาชิกในชุมชน และผู้ที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือคือพยาบาลชุมชนที่มีบทบาทเป็นผู้ให้การดูแลสุขภาพ การเป็นผู้ประสานและผู้สนับสนุน การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเป็นครูหรือผู้นิเทศ เป็นผู้ให้คำปรึกษา เป็นผู้วิจัยและนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ และบทบาทผู้บริหารจัดการในการควบคุมและป้องกันโรค <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: COVID–19 ผู้สูงอายุ ชนบทอีสานไทย บทบาทพยาบาลชุมชน</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11153 การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพปฐมภูมิตามปรัชญา “การมุ่งเน้นคุณค่าเป็นฐาน” 2021-10-25T13:39:31+07:00 สฤษดิ์เดช เจริญไชย sariddet@gmail.com สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย sudkhanoungp@hotmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านมีมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตามแนวคิดของการมุ่งเน้นคุณค่าของบุคคล ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นระบบสุขภาพหลักที่ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด มีรูปแบบการให้บริการแบบเชิงรุก ทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ครอบคลุมร่างกาย จิตใจ และสังคม ดูแลประชากรตามจำนวนที่รับผิดชอบ โดยใช้หลักเวชศาสตร์ครอบครัว ปัจจุบันเป็นการทำงานแบบร่วมให้บริการ (Functional unit) ของทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุขซึ่งต้องมีสมรรถนะการเป็นผู้นำในยุคของการเปลี่ยนแปลงตามปรัชญา “การมุ่งเน้นคุณค่าเป็นฐาน”ในการทำงานร่วมกัน โดยให้ทีมสหสาขาวิชาชีพได้รับการพัฒนาพร้อมกันตาม 4 องค์ประกอบของ Bass ดังนี้ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ โดยพัฒนาการฟัง การแสดงความเห็น และให้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมขององค์กร 2) การกระตุ้นทางปัญญา โดยกระตุ้นแบบมีส่วนร่วมให้เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น 3) การตระหนักถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยให้พิจารณาจุดเด่น จุดด้อยของงานในอดีตจากการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น และให้เรียนรู้จากทีมที่ผ่านการอบรมมาก่อน และ 4) การสร้างแรงบันดาลใจ โดยให้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารการฟังอย่างตั้งใจและฝึกพัฒนารูปแบบการบริการเพื่อการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน กระบวนการ พัฒนาที่เน้นให้ตระหนักถึงคุณค่าตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดความเข้าใจกัน และร่วมมือร่วมใจในการทำงานอย่างมีความสุข เกิดการพัฒนาทีมและงานได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: ระบบสุขภาพปฐมภูมิ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นคุณค่าเป็นฐาน</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/11160 การเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายในครอบครัวข้ามรุ่น 2021-10-25T14:23:28+07:00 กุสุมาลี โพธิปัสสา kusumalp09@gmail.com ทรงสุดา หมื่นไธสง kusumalp09@gmail.com ดาราพร รักหน้าที kusumalp09@gmail.com จิระพรรณ สุปัญญา kusumalp09@gmail.com มัลลิกา มากรัตน์ kusumalp09@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอมุมมองการเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายในครอบครัวข้ามรุ่น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดต่อเด็กและปู่ย่าตายาย ครอบครัวข้ามรุ่นหมายถึง ครอบครัวที่มีปู่ย่าหรือตายายอาศัยอยู่กับคนรุ่นหลานตามลำพัง ประเทศไทยมีแนวโน้มของจำนวนครอบครัวข้ามรุ่นเพิ่มขึ้น ผลการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายในครอบครัวข้ามรุ่นเป็นการเกื้อกูลเพื่อให้ครอบครัวสามารถทำหน้าที่พัฒนาให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมซึ่งครอบคลุมทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาตลอดจนด้านอื่นที่จำเป็น ผลกระทบได้แก่ ปู่ย่าตายายมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความสุขที่ได้ดูแลหลาน การเกื้อหนุนของหลานที่มีต่อปู่ย่าตายายคือ เมื่อหลานโตขึ้นสามารถช่วยเหลือทั้งตัวเองและปู่ย่าตายายได้ตามวัยทั้งด้านร่างกายในภาวะสุขภาพดีหรือเจ็บป่วยรวมทั้งด้านจิตใจคือทำให้ปู่ย่าตายายเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจช่วยคลายความเหงา มีความรู้สึกผูกพันกับหลาน ในขณะเดียวกันพบข้อจำกัดของการเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายคือ การขาดการรู้เท่าทันยุคของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็กและเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว รวมทั้งความชราภาพและการเจ็บป่วยทำให้ปู่ย่าตายายใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมในการเลี้ยงดูเด็ก ปู่ย่าตายายที่อ่านหนังสือไม่ออกและมีการศึกษาน้อยไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: การเลี้ยงดู เด็ก ปู่ย่าตายาย ครอบครัวข้ามรุ่น</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 ลิขสิทธิ์ (c) 2021