Journal of Sakon Nakhon Hospital-วารสารโรงพยาบาลสกลนคร https://thaidj.org/index.php/jsnh <p>กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ม.ค.-เม.ย. พ.ค.-ส.ค. ก.ย.-ธ.ค.</p><p>เบอร์โทรติดต่อ 0-4217-6000 ต่อ 1042</p><p>E-mail : skhjournal@gmail.com</p><p> </p><p> </p> th-TH skhjournal@gmail.com (Chutharut Ridruechai-จุฑารัตน์ ฤทธิ์ฤาชัย) skhjournal@gmail.com (Pisuttida Khunsri-พิสุทธิดา ขุนศรี) Tue, 05 Sep 2023 16:55:40 +0700 OJS 3.2.1.1 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14474 <p>-</p> ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14474 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดป่วย: การบูรณาการการจัด การเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14486 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ประเทศไทยได้มีการรณรงค์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และให้ลูกได้รับนมแม่ อย่างต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี ในทารกปกติและทารกป่วย ทารกป่วยมักจะต้องแยกจากแม่ภายหลังคลอด เพื่อเข้ารับ การรักษาที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด อาจทำให้ทารกไม่ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดหรือต่อเนื่องจนอายุ 6 เดือน การส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดป่วยให้ประสบผลสำเร็จต้องมีการเสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยมของการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน แม้ลูกจะเจ็บป่วยแม่ก็ยังสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เด็กป่วยต้องได้รับการเลี้ยง ดูด้วยนมแม่อย่างถูกต้องทัดเทียมกับเด็กปกติ การนำบันได 10 ขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วยของ Prof. Diane L. Spatz มาเป็นต้นแบบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย พยาบาลเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการส่ง เสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สภาการพยาบาลกำหนดสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในระดับปริญญาตรี ต้อง มีสมรรถนะการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการดูแลมารดาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด การส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การบูรณาการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จึงมีความสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมของบัณฑิตพยาบาล นำความรู้ความสามารถไปปฏิบัติการพยาบาลได้ ดังนั้นบทความนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการจัดการเรียนการสอนเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยใช้แนวคิดความเชื่อมั่นและ ความไว้วางใจให้ปฏิบัติทักษะวิชาชีพ ( Entrustable Professional Activities) เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติ งานในความรับผิดชอบได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องและปลอดภัย</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คำสำคัญ: การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกป่วย สมรรถนะการพยาบาล ความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ปฏิบัติ ทักษะวิชาชีพ&nbsp;</p> จิรกุล ครบสอน, งามเอก ลำมะนา, กุสุมาลี โพธิปัสสา ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14486 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14477 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน การประเมินผลและปัจจัยแห่งความสำเร็จ พชอ. ของอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยใช้แบบสัมภาษณ์และสนทนา กลุ่ม ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการ พชอ. และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) จำนวน 163 คน ในระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565 – เมษายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) Paired sample t–test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามแนวคิด ของ Kemmis and McTaggart</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลวิจัยพบว่า รูปแบบ พชอ. ประกอบด้วย 1) การแต่งตั้งคณะกรรมการ พชอ.,พชต. 2) การวิเคราะห์ปัญหาจาก พื้นที่ 3) กำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ 4) ประสานภารกิจกำหนดบทบาทและพัฒนาศักยภาพ 5) บูรณาการร่วม กับภาคีเครือข่าย 6) ติดตามและรายงานผลต่อเนื่อง และ 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน ผลการพัฒนาพบว่า คณะกรรมการมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นในระดับสูง ร้อยละ 96.32 (x ̅ = 18.67, S.D.= 1.379, p &lt; 0.05) มีส่วนร่วม ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในระดับมาก (x ̅ = 4.34, S.D. = 0.689, p &lt; 0.05) และมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในระดับมาก (x ̅ = 4.38, S.D. = 0.654, p &lt; 0.05) ดำเนินงานประเด็นที่คัดเลือก 2 ประเด็น คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ ติดในชุมชน และการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางถนน ผลประเมินตามเกณฑ์ UCCARE ผ่านระดับ 4 คะแนน ทั้งสองประเด็น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพ ผู้บริหารให้ความสำคัญ ปัญหาจาก ระดับพื้นที่ แผนที่บูรณาการ มอบหมายบทบาทหน้าที่ และมีการแต่งตั้ง พชต. กำกับติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้อเสนอแนะ ควรนำรูปแบบการพัฒนา พชอ. ไปใช้ขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาในประเด็นอื่น นำปัจจัยแห่งความ สำเร็จไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) UCCARE</p> ไพรจิตร ศิริมงคล ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14477 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14479 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานรวมถึงการพัฒนารูปแบบ การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ผู้เข้าร่วมการวิจัยประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 15 คน 2) ผู้สูง อายุโรคเบาหวาน 342 คน และ 3) ผู้สูงอายุโรคเบาหวานและผู้ดูแลกลุ่มละ 25 คน ดำเนินการศึกษา 3 ระยะ คือ ระยะ ที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานและระยะ ที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวัด พฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเอง และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานพบว่า โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จัดทีมสหสาขา วิชาชีพออกไปตรวจรักษาที่ รพ.สต. ทุกเดือน ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแลต่อเนื่องในโรงพยาบาล พฤติกรรมการ ดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานพบว่า ยังปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม 3 ด้าน คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ และความเครียด การควบคุมระดับน้ำตาลยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายและมีภาวะแทรกซ้อนคือ โรคไตเรื้อรัง เท้าเป็นแผล และเบาหวานขึ้นตา รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินผู้สูงอายุโรคเบาหวาน 2) นำครอบครัวหรือผู้ดูแลร่วมในกิจกรรม 3) ให้คำแนะนำผู้ป่วยตามปัญหาและ ความต้องการ 4) การใช้นวัตกรรมกราฟน้ำตาลที่ดูผ่านโทรศัพท์ได้และการติดตามก่อนวันนัดผ่าน Line notify และ โทรศัพท์ 5) การปรับแผนการรักษาโดยแพทย์ และ 6) การติดตามเยี่ยมบ้าน หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า ผู้สูงอายุ โรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุดและ ผู้ดูแลมีความพึงพอใจในระดับมาก</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการดูแล ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน</p> พันธวี คำสาว, วลัยภรณ์ กุลวงค์, บุญยัง ขันทะหัด ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14479 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14480 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลเจริญศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจริญศิลป์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ อาสาสมัครกู้ชีพ ฉุกเฉิน 54 คน พนักงานขับรถพยาบาล 8 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ และเวรเปล 13 คน พยาบาลวิชาชีพและนักเวชกิจฉุกเฉิน 26 คน รวม จำนวน 101 คน ดำเนินงานพัฒนาตามกระบวนการทฤษฏีวงจรคุณภาพ (Deming Cycle: PDCA) ระหว่าง เดือนมกราคม–เมษายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t–test ข้อมูลเชิงคุณภาพสรุปรวบรวมตามกระบวนการ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัย ในขั้นตอนการวางแผนมีการระดมความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน ได้แผนพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน พัฒนาหน่วยปฏิบัติการ และพัฒนาแนวทางการออกปฏิบัติการ นำสู่การปฏิบัติตามแผน ในขั้นการ ตรวจสอบมีการติดตาม กำกับ อย่างต่อเนื่อง ปรับกระบวนการทำงาน ได้แก่ 1) เพิ่มพนักงานขับรถพยาบาล ตลอด 24 ชั่วโมง 2) จัดเวรพยาบาล EMS ขึ้นปฏิบัติงานทุกวันแยกจากงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 3) จัดประชุมทบทวนเมื่อพบ อุบัติการณ์ ทุกเดือน 4) ปรับปรุงห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 5) จัดทำแนวทางการให้บริการ 6) ติดตั้งระบบ GPS กล้องติดตาม และบันทึกความเร็วของรถ EMS 7) จัดอบรมการดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลและซ้อมแผนรับอุบัติเหตุหมู่และสาธารณภัย และผลการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ของเจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน พบว่า ทุกกลุ่ม มีระดับความรู้ และระดับทัศนคติอยู่ในระดับดี ซึ่งก่อนและหลังพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value &lt; 0.001) ยกเว้น ทัศนคติของอาสากู้ชีพฉุกเฉินไม่แตกต่างกัน ระดับทักษะอยู่ในระดับดี ก่อนและหลังพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p–value &lt; 0.05) ส่งผลให้ผู้ป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤตหรือเร่งด่วนได้รับการช่วยเหลือและนำส่งด้วยระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมมากขึ้น</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: การพัฒนางานตาม PDCA ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การแพทย์ฉุกเฉิน</p> สัจพงษ์ โชคคติวัฒน์ ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14480 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะ โรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14481 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของระบบการพยาบาลสนับสนุน และให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอด อักเสบ อายุ 1–3 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 19 ราย เก็บข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มควบคุมได้รับการ พยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบที</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ผู้ดูแลที่ได้รับระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ มีค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ (x ̅ = 83.79, S.D. 4.18) สูงกว่าก่อนการทดลอง (x ̅ = 73.32, S.D. 4.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅ = 74.79, S.D. 3.12) ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ที่ประกอบด้วยการสอน การสาธิต การชี้แนะ การสนับสนุน และการสร้างสิ่งแวดล้อม สามารถส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแล เด็กโรคปอดอักเสบได้ดีขึ้น</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ พฤติกรรมการดูแล เด็กวัยเตาะแตะ โรคปอดอักเสบ ผู้ดูแล</p> อรพิน คชพิมพ์ ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14481 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นร่วมกับการเจริญสติแบบ เคลื่อนไหวต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ 3 เดือนแรกหลังการบำบัดรักษาในผู้ป่วย คลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14482 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้น ร่วมกับ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ 3 เดือนแรกหลังการบำบัดรักษาในผู้ป่วยคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 140 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 61 คน และกลุ่มทดลอง 79 คน กลุ่มควบคุมได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้น เก็บข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 2560–2561 ส่วนกลุ่มทดลองบำบัดด้วยโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นร่วมกับการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน เก็บข้อมูล 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t– test, Fisher’s exact probability test และวิเคราะห์อัตราการกลับไปเสพซ้ำระหว่างบำบัดและหลังบำบัดด้วยสถิติ multivariable stratified Weibull regression with marginal risk กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นร่วมกับ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียน สามารถลดอัตราการกลับไปเสพซ้ำในระหว่างบำบัด 4 เดือน ได้ร้อยละ 69 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่บำบัดด้วยโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.016) และสามารถลดอัตราการกลับไปเสพซ้ำในช่วงหลังบำบัด 3 เดือน ได้ร้อยละ 89 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ บำบัดด้วยโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.036) สรุป การบำบัด ด้วยโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นร่วมกับการการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ช่วยลดอัตราการกลับไปเสพซ้ำ ในระหว่างบำบัดระหว่างบำบัด 4 เดือน ได้ร้อยละ 69 และลดอัตราการกลับไปเสพซ้ำในช่วงหลังบำบัด 3 เดือน ได้ร้อยละ 89</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: โปรแกรมกายจิตสังคมประยุกต์ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียน การป้องกันกลับไป เสพซ้ำ</p> จุลนิตย์ จันทร์ชมภู ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14482 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสกลนคร https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14483 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยและการพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทารกแรกเกิด โรงพยาบาล สกลนคร ศึกษาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ถึงเมษายน พ.ศ. 2566 2 ระยะ คือ 1) พัฒนาแบบประเมินประยุกต์ใช้ กรอบแนวคิดของมาร์เรลลี่และคณะ กลุ่มตัวอย่าง 7 คน และ 2) ประเมินระดับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทารกแรกเกิด จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทารกแรกเกิด 7 ด้าน ซึ่งมีค่าดัชนีความตรง เชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ค่าความเชื่อมั่นวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.94 รวบรวมข้อมูลโดยการจัดกลุ่ม เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทารกแรกเกิดประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) การประเมิน สภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด 2) การปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิด 3) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 4) ความ ปลอดภัยและการป้องกันการติดเชื้อ 5) การสื่อสาร การให้ข้อมูล และการประสานงาน 6) การบริหารยา/สารน้ำและ 7) การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ผลการประเมินระดับสมรรถนะ พบว่า สมรรถนะระดับดีมากคือ ด้านความ ปลอดภัยและการป้องกันการติดเชื้อ (x ̅ = 4.61, S.D. = 0.55) รองลงมาคือ สมรรถนะระดับดี ได้แก่ ด้านปฏิบัติการ พยาบาลทารกแรกเกิด และการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (x ̅ = 4.48, S.D. = 0.69) ด้านการประเมินสภาวะ สุขภาพทารกแรกเกิด (x ̅ = 4.28, S.D. = 0.68) ด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (x ̅ = 4.24, S.D. = 0.75) ด้าน การบริหารยา (x ̅ = 4.23, S.D. = 0.68) และด้านการสื่อสาร การให้ข้อมูล และการประสานงาน (x ̅ = 4.00, S.D. = 0.63) จึงควรใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาและนิเทศพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการทารกแรกเกิดต่อไป</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: แบบประเมินสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพ ทารกแรกเกิด</p> ศรีอัมพร ต้วนยี่, อาทิตยา ตุพิลา, พรทิพย์ ไชยงาม ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14483 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานไม่เกิน 5 ปี และไม่เคยผ่านการอบรมการพยาบาลผู้ป่วยในมะเร็งเคมีบำบัด ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14484 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติ งานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลผู้รับการพัฒนาสมรรถนะที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย อายุรกรรมโรคเลือดไม่เกิน 5 ปี 7 คน และพยาบาลพี่เลี้ยง 3 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.93 และเครื่องมือใน การเก็บรวบรวม ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่า CVI เท่ากับ 0.97 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบสังเกตทักษะการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบ โลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่า CVI เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบ สมรรถนะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยสถิติ Wilcoxon signed rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมี บำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) วิเคราะห์ สถานการณ์ปัจจุบันโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า พยาบาลไม่ผ่านการอบรมเฉพาะทางการบริหารยาเคมี บำบัด และไม่มีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน ได้รับการสอนเฉพาะในช่วงที่ปฏิบัติงาน ไม่มีแบบแผนการสอนที่ชัดเจน จาก นั้นระดมสมองออกแบบโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะ ซึ่งประกอบด้วยการอบรมภาคทฤษฎี 6 วัน การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ จริง 5 วัน 2) นำโปรแกรมไปปฏิบัติ (Action) 3) การประเมินผล (Observation) พบว่า พยาบาลมีสมรรถนะภายหลัง เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.018) และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมพยาบาล มีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 2.74 S.D. = 0.26) และ 4) การสะท้อนข้อมูล (Reflection) อภิปรายผลลัพธ์ และร่วมกันพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาได้รับยาเคมีบำบัดที่ใช้ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคเลือด โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คำสำคัญ: โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด สมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพ</p> สุภาพร มูลดี, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14484 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14485 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุกคามกับการ ดำเนินชีวิต อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวบุคคลและครอบครัว นักศึกษาพยาบาลเป็นวัยรุ่นที่เสี่ยง ต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการเรียนและอาจจะนำสู่การฆ่าตัวตายได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1–4 จำนวน 67 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2Q 3) แบบคัดกรอง ภาวะซึมเศร้า PHQ9 4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม <br>5) ปัจจัยด้านความฉลาดทางสังคม และ 6) ปัจจัยด้านความเครียด เกี่ยวกับการเรียน ตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าระหว่าง 0.8 – 0.9 วิเคราะห์ข้อมูล ทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีภาวะซึมเศร้ามากที่สุด คือ ร้อยละ 38.81 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและปัจจัยด้านความ ฉลาดทางสังคม มีความสัมพันธ์ต่ำมากกับภาวะซึมเศร้าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.22, p = 0.70 และ r = 0.16, p = 0.21) และปัจจัยด้านความเครียดมีความสัมพันธ์ต่ำมากกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br>(r = 0.29, p = 0.02) ข้อเสนอแนะ นักศึกษาพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าควรทำการสนทนากลุ่มและทำกิจกรรม กลุ่มเพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือที่ชัดเจนและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คำสำคัญ: ปัจจัย ภาวะซึมเศร้า นักศึกษาพยาบาล</p> พัฒนี ศรีโอษฐ์, ภาสินี โทอินทร์, สิริอร ข้อยุ่น ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14485 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 กองบรรณาธิการ https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14475 <p>-</p> ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14475 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14487 <p>-</p> ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14487 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700 สารบัญ https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14476 <p>-</p> ลิขสิทธิ์ (c) 2023 https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/14476 Tue, 05 Sep 2023 00:00:00 +0700