กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต่อเนื่องจากสถานพยาบาล ไปยังบ้านและชุมชนในบริบทของศูนย์การดูแลแบบประคับประคอง หน่วยงาน ให้ค

Authors

  • ฉัตรกมล เจริญวิภาดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคลองท่อม

Keywords:

การพยาบาล ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, การดูแลต่อเนื่อง, Nursing care, End stage cancer patient, Palliative care, Continuing Care

Abstract

โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและการกลายพันธุ์ของยีนในเซลล์ปกติ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์
มะเร็งโดยจะแพร่กระจายไปตามเนื้อเยื่อ ลุกลามจนอวัยวะสูญเสียหน้าที่ตามปกติและเข้าสู่มะเร็งระยะสุดท้ายจนเสียชีวิตในที่สุด
โดยส่วนใหญ่มะเร็งระยะสุดท้ายจะลุกลามภายหลังจากที่เป็นมะเร็งแล้วระยะหนึ่ง ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางด้านร่างกายและจิตใจ
ดังนั้นการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยการดูแลต่อเนื่องจากสถานพยาบาลไปยังบ้านและชุมชน จะทำให้ผู้ป่วยและ
ครอบครัวได้รับการดูแลแบบองค์รวม มีการจัดการอาการรบกวน จึงไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี1 ตามสภาวะ
และจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กรณีศึกษา : เป็นการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 2 ราย ที่เลือกการรักษาแบบประคับประคอง โดยปฏิเสธการรักษา
ด้วยเคมีบำบัดและฉายแสง ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นโรคมะเร็งโพรงจมูก ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นมะเร็งเพดานแข็งในช่องปาก ผู้ป่วย
ทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลคลองท่อมด้วยอาการสำคัญ คือ ปวด และมีภาวะขาดสมดุลของน้ำและเกลือแร่ โดยผู้ป่วย
รายที่ 2 มคี วามเจบ็ ปวดแตกตา่ งจากรายที่ 1 ซึ่งเกิดจากพยาธสิ ภาพของระบบประสาท มกี ารวางแผนการรกั ษาพยาบาลตัง้ แตร่ ะยะ
ฉุกเฉินแรกรับ กระทั่งระยะจำหน่าย โดยมีพยาบาลของศูนย์การดูแลแบบประคับประคองให้การดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปยัง
บ้านและชุมชน แพทย์นัดติดตามอาการที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบการนัดหมายล่วงหน้า
ผลลัพธ์ : ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ทุเลาจากอาการปวดและอาการรบกวนอื่น ยอมรับภาวะเจ็บป่วยในระยะการด

Downloads

Published

2019-05-08