การจัดการความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบแตก ในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลกระบี่ (Postoperative Pain Management of Appendicitis Patients without Ruptured Appendicitis in the Recovery Room, Anesthesiology Department, Krabi Hospital)

Authors

  • เสาวนีย์ เกิดปากแพรก แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลกระบี่
  • สุชาตา วิภวกานต์ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกระบี่

Keywords:

การจัดการความปวดหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ, ห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลกระบี่, Post Operative Pain Management, Appendicitis Patients, Recovery Room Anesthesiology

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความปวดและผลลัพธ์ของการจัดการความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลกระบี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเวชระเบียนผู้ป่วยหลัง
ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกที่เข้าพักฟื้นหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลกระบี่ ระหว่างวันที่
1 เมษายน 2559 – 30 มิถุนายน 2559 จำนวน 168 คนและวิสัญญีพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี โรงพยาบาล
กระบี่ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกการดมยาสลบ บันทึกการฟื้นภายหลังการให้ยาระงับ
ความรู้สึก แบบประเมินความปวดใช้ Numerical rating scale (NRS) และ The FLACC behavioral pain scale แบบสัมภาษณ์
การจัดการความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด และแบบสังเกตการปฏิบัติด้านการจัดการความปวดหลังผ่าตัดของวิสัญญีพยาบาลที่
ปฏิบัติงานในห้องพักฟื้น วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired sample t- test ผลการศึกษา
พบว่า
1. การจัดการความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบแตก ในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี
โรงพยาบาลกระบี่ ประกอบด้วยการประเมินความปวดแรกรับ หลังจากนั้นทุก 15 นาทีและก่อนจ

Downloads

Published

2019-11-26