วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj <p>วารสารสุขภาพภาคประชาขน</p> th-TH newphcjournal@gmail.com (กลุ่มพัฒนาวิชาการนวัตกรรม) newphcjournal@gmail.com (กลุ่มพัฒนาวิชาการและนวัตกรรม) Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700 OJS 3.2.1.1 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประเมินผลการดำเนินงานโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพ (District Health system อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2633 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รูปแบบการวิจัยประเมินผลโครงการ เพื่อประเมินผลโครงการตามแบบจำลองซิปโมเดลของสตัฟเฟิลบีม ประเมิน 4 ด้าน คือด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิตจากโครงการ โดยเก็บข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงาน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p><p>ผลการวิจัยพบว่า</p><p> 1. คณะกรรมการสุขภาพอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ผู้บริหารหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบบสุขภาพระดับตำบล เห็นว่าโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพเป็นนโยบายที่ดี มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการระบบสุขภาพของพื้นที่ได้ อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม </p><p> 2. การบริหารจัดการโครงการ มีข้อเด่นคือการจัดการแบบมีส่วนร่วม ทั้งด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การจัดการงบประมาณ และการติดตามประเมินผล</p><p> 3.กระบวนการดำเนินงาน มีการแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการะดับอำเภอและระดับตำบล มีการเตรียมความพร้อมแก่ผู้รับผิดชอบงานและคณะทำงาน มีการประชุมคณะทำงานเพื่อระดมความคิด ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง</p><p> 4.ด้านผลการดำเนินงาน พบว่าอำเภอมีแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพและเครือข่ายสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของพื้นที่ โดยกลไกการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ(DHS)และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราดส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพอำเภอเขาสมิงจังหวัดตราดมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางการเตรียมความพร้อมแก่ทีมงานและมีการพัฒนาให้บุคคลากรมีการรับรู้และพึงพอใจในการมีส่วนร่วม มีการวางแผนการใช้งบประมาณและบุคลากรร่วมกัน หน่วยงานและภาคีต่างๆมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การจัดบริการสุขภาพครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และผลการประเมินตามคุณลักษณะ 5 ด้าน (UCARE) ตามเกณฑ์การประเมินอำเภอจัดการสุขภาพในแต่ละประเด็นอยู่ในขั้นที่ 4.5 </p><p><strong> </strong>ผลจากการประเมินสะท้อนให้เห็นว่าทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน เห็นสอดคล้องกันว่าโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพอำเภอ จังหวัดตราดเป็นโครงการที่เหมาะสม อำเภอสามารถนำนโยบายไปกำหนดแนวทาง/ยุทธวิธี เพื่อแก้ปัญหาได้ของพื้นที่ ในระดับมากที่สุด และเห็นว่านโยบายนี้สามารถแก้ปัญหาบนพื้นฐานจากข้อมูลสภาพปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่เป็นจริงและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของพื้นที่ อย่างเป็นรูปธรรม </p><p> </p>คำสำคัญ : ระบบสุขภาพอำเภอ นายธเนศ ภัทรวรินกุล ลิขสิทธิ์ (c) 2018 PRIMARY HEALTH CARE DIVISION JOURNAL-วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2633 Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2634 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาเครือข่าย ตามมิติของการ มีส่วนร่วม 4 มิติ คือ การร่วมตัดสินใจ การร่วมดำเนินกิจกรรม การร่วมรับประโยชน์ และการร่วมประเมินผล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาเครือข่ายของชมรมผู้สูงอายุอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ประชากร คือ กรรมการชมรมผู้สูงอายุอำเภอป่าพะยอม และ ผู้รับผิดชอบงานชมรมผู้สูงอายุ ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอป่าพะยอม รวมจำนวน 51 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ด้วยแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มกับตัวแทนกรรมการชมรมผู้สูงอายุอำเภอป่าพะยอม และ ผู้รับผิดชอบงานชมรมผู้สูงอายุของหน่วยงานด้านสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอป่าพะยอม รวมจำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษา พบว่า ระดับการร่วมตัดสินใจอยู่ในระดับสูง การร่วมดำเนินกิจกรรม การร่วมรับผลประโยชน์ และการร่วมประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยด้านเพศ สภาพความเป็นอยู่และความเพียงพอของรายได้ ของกรรมการชมรมและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ผู้รับผิดชอบชมรม มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาเครือข่ายของชมรมผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) นอกจากนี้พบว่าปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ คือ คุณลักษณะของประธานชมรม และ หน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชมรม ที่สำคัญคือหน่วยงานด้านสาธารณสุข และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p><strong>คำสำคัญ:</strong> ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ การพัฒนาเครือข่าย นายอำพล แก้วเกื้อ ลิขสิทธิ์ (c) 2018 PRIMARY HEALTH CARE DIVISION JOURNAL-วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2634 Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700 ความรู้ ค่านิยม วิถีชีวิตกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกของนักเรียนวัยรุ่นในพื้นที่เขตเมือ' จังหวัดสมุทรสงคราม https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2635 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ค่านิยม วิถีชีวิตกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ของนักเรียนวัยรุ่น ในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 – 6 จำนวน 330 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นจากประชากรนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 จำนวน 1,910 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) </p><p> ผลการศึกษาพบว่า</p><p> กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 17 ปี กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 น้ำหนักตัวเฉลี่ย 54.6 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 163.7 เซนติเมตร ภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้รับเงินค่าใช้จ่าย 300-500 บาทต่อสัปดาห์ อาศัยอยู่กับพ่อแม่ บิดาและมารดามีการศึกษา อนุปริญญา บิดาและมารดามีอาชีพ/รับจ้าง ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ครอบครัวมี รายได้เฉลี่ย 10,000 – 29,999 บาทต่อเดือน มีความรู้ ค่านิยม วิถีชีวิต และพฤติกรรมเกี่ยวกับการ บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกระดับมาก</p><p> การเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ตัวแปรด้านเพศ ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.01) และไม่พบความแตกต่างของตัวแปรข้อมูลทั่วไปอื่นๆ ของกลุ่มตัวอย่างกับค่านิยมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก วิถีชีวิตเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก</p><p> การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก วิถีชีวิตเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และค่านิยมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.01)</p><p> ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนวัยรุ่น มีความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ความต้องการสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่นและครอบครัว สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของตนเอง</p><p><strong>คำสำคัญ</strong> : การบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก </p> นายคำรน ศรีวงค์ษา ลิขสิทธิ์ (c) 2018 PRIMARY HEALTH CARE DIVISION JOURNAL-วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2635 Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครรศรีธรรมราช : การศึกษาสถานการณ์ก่อนการพัฒนา https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2636 <p>การศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในระยะที่ 1 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 208 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบประเมินตนเองของพยาบาลวิชาชีพฯ 2) แนวทางการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพฯตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาล 3) จัดประชุมเพื่อสร้างเวทีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะ และออกแบบแผนงานโครงการการพัฒนาฯแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p><p> ผลการศึกษา พบว่า 1) สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่สามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องมีผู้ให้คำแนะนำหรือนิเทศ ใน 5 ด้าน คือ ด้านการใช้กระบวนการพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ด้านการดูแลผู้เจ็บป่วยต่อเนื่อง ด้านการพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์ และด้านทักษะการทำหัตถการ 2) ปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพฯ ประกอบด้วย 2.1) การพัฒนาสมรรถนะเชิงระบบ เนื่องจากพยาบาลไม่สามารถบูรณาการทำงานแบบภาพรวมเชิงระบบได้ 2.2) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลด้านการใช้กระบวนการพยาบาลที่เน้นให้มีระบบการบันทึกทางการพยาบาล 2.3) ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ที่ยึดแนวทางการดำเนินงานตามกฎบัตรออตตาวา 2.4) ด้านการดูแลผู้เจ็บป่วยต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วยระยะท้าย และ2.5) ด้านหัตถการ เน้นเรื่องการฝึกอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะทุกปี และจากข้อเสนอความต้องการการพัฒนานำมาสู่การจัดทำแผนการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย คือ 1) การพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาล 2) การพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาล แบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ 3) การพัฒนาเครือข่ายพยาบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อดำเนินการพัฒนาในการศึกษาระยะถัดไป</p><strong>คำสำคัญ</strong> สมรรถนะพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การพัฒนาสมรรถนะ นางมารศรี ก้วนหิ้น ลิขสิทธิ์ (c) 2018 PRIMARY HEALTH CARE DIVISION JOURNAL-วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2636 Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700 การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมดำเนินงาน ตามแผนการเงินการคลัง (Planfin) ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)ในจังหวัดลพบุรี https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2637 <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนการเงินการคลัง ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)ในจังหวัดลพบุรี</p><p><strong>วิธีการศึกษา :</strong> เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ บุคลากรที่ศึกษาเป็นคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)ในจังหวัดลพบุรี 11 อำเภอ ที่มีบทบาทในการบริหารด้านการเงิน จำนวน 117 คนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนการเงินการคลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสัมพันธ์</p><p><strong>ผลการศึกษา :</strong> พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมดำเนินงาน ตามแผนการเงินการคลังอยู่ในระดับปานกลาง จำนวนบุคลากรน้อยกว่าร้อยละ 20 ของบุคลากรที่ศึกษา เป็นผู้ที่มีความรู้ รวมถึง เป็นผู้ที่มีทัศนคติ มีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาสาเหตุของปัญหา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินการ และมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้พบว่าจำนวนบุคลากร ร้อยละ 22 ของบุคลากรที่ศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อยู่ในระดับสูง จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ .01 ,r =0.62) ประสบการณ์หน้าที่ใน คปสอ.การเข้าร่วมประชุมใน คปสอ. ในช่วงเวลา 1 ปี การมีบทบาทในการจัดทำแผนการเงินการคลังในหน่วยงานมีความสัมพันธ์กับทัศนคติ การรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนการเงินการคลังในระดับ CUP มีความสัมพันธ์กับความรู้ เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์ หน้าที่ใน คปสอ.การมีบทบาทในการจัดทำแผนการเงินการคลังในหน่วยงานการมีบทบาทเป็น CFO ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ การนำแผนการเงินการคลังมาติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ ในที่ประชุม คปสอ. การรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนการเงินการคลังในระดับ CUP การมีส่วนร่วมเสนอแนะให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหาทางการเงินในระดับCUP มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนการเงินการคลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p≤ .05</p><p><strong>ข้อเสนอแนะ :</strong> ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านในการดำเนินงานตามแผนการเงินการคลัง ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จากผลการสำรวจเปิดเผยให้เห็นว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ยังมีความรู้ ทัศนคติ และความร่วมมือน้อย ในการดำเนินงานตามแผนการเงินการคลัง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมชัดเจนเพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือในองค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมประชุม มีส่วนร่วมการเสนอแนะ ข้อคิดเห็นและแก้ไขปัญหาจะส่งผลต่อการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับผู้บริหารและแกนนำด้านการเงินการคลัง และทัศนคติที่ดีเพื่อให้การจัดทำแผนการเงินการคลังมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น</p><p><strong>คำสำคัญ:</strong> ความรู้ ทัศนคติ, การดำเนินงานตามแผนการเงินการคลัง</p> นางชุติวรรณ น้อยนันตา ลิขสิทธิ์ (c) 2018 PRIMARY HEALTH CARE DIVISION JOURNAL-วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2637 Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารของผู้ประกอบการขายอาหารทอด ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2638 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารที่มีการวัดซ้ำ 5 ครั้งติดต่อกัน ของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารทอด ใน 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลตัวอย่าง จำนวน 365 คน ในปี 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พรรณนาข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ และ สถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measures ANOVA) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าปริมาณสารโพลาร์ที่เกิดขึ้นในน้ำมันทอดอาหารที่มีการวัดซ้ำ 5 ครั้งติดต่อกัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างน้อย 1 คู่ (F=5.307, df=1.5092, p &lt; 0.011) ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2, 3, 4 และ 5 พบค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำแก่ผู้ประกอบการ ทุกปีและเร่งประชาสัมพันธ์บทลงโทษให้ผู้ประกอบการทราบอย่างทั่วถึง เกี่ยวกับการใช้น้ำมันทอดซ้ำที่มีสารโพลาร์เกินมาตรฐาน รวมถึงการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในทุกพื้นที่</p><p><strong> คำสำคัญ</strong>: น้ำมันทอดซ้ำ สารโพลาร์ ภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย</p><p> The aim of this study was to compare the difference of polar compounds in frying oil that was repeatedly measured 5 times. Three hundred and sixty five subjects who were the fried food sellers from seven provinces in the lower southern part of Thailand.The data was collected during the year 2016. One-way repeated measures ANOVA was used to compare five group means and showed the statistical significance level of 0.05. The study results showed the relationship to increase of polar compoundsand there were at least one statistically significant difference (F=5.307, df=1.5092, p &lt; 0.011). The official should have a campaign to educate to the fried food sellers every year and publicize the penalty to people use repeatedly-used deep frying oil that have polar compounds over standard. And make polar compounds surveillance system in repeatedly-used deep frying oilfor the benefit of consumers. <strong></strong></p><strong> Keywords: </strong>repeatedly-used deep frying oil, polar compounds, the lower southern part of Thailand นางสุพัตรา คงจริง ลิขสิทธิ์ (c) 2018 PRIMARY HEALTH CARE DIVISION JOURNAL-วารสารสุขภาพภาคประชาชน https://thaidj.org/index.php/phcdj/article/view/2638 Thu, 05 Apr 2018 00:00:00 +0700