https://thaidj.org/index.php/smj/issue/feed
Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
2024-10-03T14:53:10+07:00
วานิสกร ยิ่งกำแหง
r3medjournal@spr.go.th
Open Journal Systems
<p> </p> <table> <tbody> <tr> <td width="149"> <p>ชื่อวารสาร </p> </td> <td width="467"> <p>วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>ชื่อภาษาอังกฤษ</p> </td> <td width="467"> <p>Region 3 Medical and Public Health Journal</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>ชื่อย่อวารสาร</p> </td> <td width="467"> <p>R3 Med PHJ</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>วัตถุประสงค์ </p> </td> <td width="467"> <p>เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>กำหนดการออก</p> </td> <td width="467"> <p>ปีละ 4 ฉบับ (มกราคม-มีนาคม, เมษายน-มิถุนายน, กรกฎาคม-กันยายน,ตุลาคม-ธันวาคม) ของทุกปี</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p> ISSN 2774-0579 (Online)</p> <p> ISSN 2821-9201 (Print) </p> <p>ค่าธรรมเนียมสำหรับการตีพิมพ์ 3000 บาท</p> <p>โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาถนนสวรรค์วิถี เลขที่บัญชี 633-0-58182-7</p> <p>ชื่อบัญชี วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3</p> <p>ผู้ส่งบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนที่ทางวารสารจะดำเนินการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ถ้าบทความ <strong>“ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ (Rejected)”</strong> <strong>กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ในทุกกรณี</strong></p> <p>วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตุสุขภาพที่ 3 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานทางวิชาการ ไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร ค่าธรรมเนียมที่วารสารจัดเก็บมีไว้เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณาบทความเท่านั้น</p>
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15473
การศึกษาเปรียบเทียบภาวะความดันเลือดต่ำหลังการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังเมื่อลดขนาดยาชา และเสริมฤทธิ์ด้วยเฟนตานิล (Fentanyl) เทียบกับขนาดยาชาปกติในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกข้อสะโพกหักด้วยแท่งเหล็ก ในโรงพยาบาลอุทัยธานี
2024-07-10T15:46:09+07:00
ชนนิกานต์ อักษรมี
chonnikanak@gmail.com
จงรัก ขันวิลัย
tumlovely@gmail.com
นวลวรรณ เหลืองแดง
Kwang4966@hotmail.com
ชลัดดา เจียมมะเริง
Girly_beery@outlook.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะความดันเลือดต่ำหลังการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังเมื่อลดขนาดยาชาและเสริมฤทธิ์ด้วยเฟนตานิล (Fentanyl) เทียบกับขนาดยาชาปกติในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกข้อสะโพกหักในโรงพยาบาลอุทัยธานี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมโดยมีการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (Randomized double-blind controlled trial) จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มควบคุม ใช้ยาชา 0.5% Hyperbaric Bupivacaine 10 มิลลิกรัม และกลุ่มศึกษา ใช้ยาชา 0.5% Hyperbaric Bupivacaine 5 มิลลิกรัม เสริมฤทธิ์ด้วย Fentanyl 25 ไมโครกรัม เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะความดันเลือดต่ำ ปริมาณการให้ยากระตุ้นความดันเลือด (Ephedrine), ปริมาณสารน้ำ, ระดับความชาและความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ, คะแนนความปวด และปริมาณการใช้มอร์ฟีนหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มศึกษาที่ลดขนาดยาชาและเสริมฤทธิ์ด้วย Fentanyl พบอุบัติการณ์ภาวะความดันเลือดต่ำในระหว่างผ่าตัด 20% เทียบกับกลุ่มควบคุม 76%, ปริมาณการให้ยากระตุ้นความดันเลือดในกลุ่มศึกษาเทียบกับกลุ่มควบคุมคือ 1.3±3.8 มิลลิกรัม และ 12.1±11.1 มิลลิกรัมตามลำดับ และปริมาณสารน้ำในกลุ่มศึกษาคือ 430 ±127.4 มิลลิลิตร เทียบกับกลุ่มควบคุมคือ 688 ±265.4 มิลลิลิตร ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value<0.01) โดยที่ระดับความชาและความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ, คะแนนความปวด และปริมาณการใช้มอร์ฟีนไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>สรุป:</strong> การระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังเมื่อลดขนาดยาชาและเสริมฤทธิ์ด้วย Fentanyl มีผลลดอุบัติการณ์ภาวะความดันเลือดต่ำ ลดปริมาณการให้ยากระตุ้นความดันเลือด และปริมาณสารน้ำ โดยไม่มีผลต่อระดับความชา คะแนนความปวด และปริมาณการใช้มอร์ฟีน</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ภาวะความดันเลือดต่ำหลังการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ผู้สูงอายุ, ผ่าตัดข้อสะโพกหัก</p>
2024-10-15T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15380
การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดมดลูกแบบผ่าตัดผ่านกล้องและผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง : ประสบการณ์ 10 ปี
2024-06-18T08:33:36+07:00
ปวีณา หันชะนา
Upoweena@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดมดลูกแบบผ่าตัดผ่านกล้องและผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบเก็บข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมดลูกด้วยการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องหรือการผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2566</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่าง 121 ราย แบ่งเป็นผ่าตัดมดลูกแบบผ่าตัดผ่านกล้อง 60 ราย ผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง 61 ราย อายุเฉลี่ย 46.02±9.89 ปี ระดับฮีโมโกลบินลดลงกลุ่มผ่าตัดเปิดหน้าท้องสูงกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Median=11.4, IQR 9.1-11.8 g/dl และ Median =10, IQR 5.9-11.4 g/dl, <em>p</em>-value=0.002) ปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องสูงกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Median=200, IQR 100-300 ml และ Median 50, IQR 20-125 ml, <em>p</em>-value<0.001) แต่ระยะเวลาการผ่าตัด น้ำหนักชิ้นเนื้อ และระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล ความปวดหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>สรุป:</strong> การผ่าตัดมดลูกแบบผ่านกล้องมีปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัดน้อย และมีความปลอดภัยจึงเป็นทางเลือกของการผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช อย่างไรก็ตามระยะการผ่าตัด ระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน ดังนั้นควรให้ข้อมูลข้อดีข้อเสียประกอบการตัดสินใจของผู้ป่วย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง, การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง</p>
2024-09-24T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15635
มาไม่ตรงนัด? ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเขตเมืองจังหวัดนครสวรรค์
2024-08-07T13:14:30+07:00
กุลนิดา มุขแจ้ง
nidamiw31@gmail.com
กัมปนาท สุริย์
kpn.suri@gmail.com
วัชรศักดิ์ พงศ์ประไพ
watcharasak.phong@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมาไม่ตรงนัดของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่หน่วยบริการปฐมภูมิ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้รับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสุขภาพในเครือข่ายของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จำนวน 214 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ สอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลปัจจัยด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านการให้บริการ ผลการรักษาโรคประจำตัวและสาเหตุของการมาไม่ตรงนัดที่จะถามเฉพาะผู้ที่มาไม่ตรงนัดเท่านั้น ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาไม่ตรงนัด ด้วยสถิติทดสอบการถดถอยโลจิสติกแบบเชิงพหุ แสดงค่าขนาดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Odds ratio (OR) และ 95% Confidence interval (CI) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ น้อยกว่า 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ความชุกของการมาไม่ตรงนัดร้อยละ 18.9 สาเหตุที่มาไม่ตรงนัด ได้แก่ คิดว่าไม่มีอาการคือหายแล้ว ไม่มีคนมารับส่งที่ PCU ยายังเหลือเยอะ ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมาไม่ตรงนัดคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (OR=0.15 ; 95%CI 0.04-0.55, <em>p</em>-value<0.01) จำนวนการนัดหมายที่มากกว่า 6 ครั้งต่อปี (OR: 0.21; 95%CI: 0.06-0.69, <em>p</em>-value=0.01) จำนวนการนัดหมาย 4-6 ครั้ง/ปี (OR: 0.32; 95%CI: 0.12-0.90, <em>p</em>-value=0.03) และประวัติเคยมาไม่ตรงนัด (OR: 25.42; 95%CI 7.11-90.86, <em>p</em>-value<0.01)</p> <p><strong>สรุป:</strong> พบความชุกของการมาไม่ตรงนัดในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 18.9 สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคและมีความไม่สะดวกในการมารับบริการ การออกกำลังกาย ความถี่ในการนัดหมายแต่ละครั้งและประวัติเคยไม่มาตรงนัดเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่มาตรงนัดหมายของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, การมาไม่ตรงนัด</p>
2024-11-13T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15576
ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล
2024-07-30T08:39:19+07:00
วันดี แย้มจันทร์ฉาย
wandee@bcnsprnw.ac.th
ศุภานัน ทองทวีโภคิน
jiraporn.s@bcnsprnw.ac.th
ลมัย นิรมิตรถวิล
yesterday909@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนของการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โดยทำการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2) พัฒนารูปแบบการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมในการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โดยนำข้อมูลจากระยะที่ 1 และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ ระยะที่ 3 และ4) ทดลองใช้รูปแบบฯและการประเมินผล โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น และประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้ความรู้ฯ โดยใช้แบบประเมินความรู้ฯ วัดก่อนและหลังการได้รับรูปแบบการให้ความรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและ ผู้ดูแล จำนวน 30 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ ดำเนินระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึงมิถุนายน 2567</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ระยะที่ 1 ปัญหาและความต้องการของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล พบว่า ผู้ป่วยไม่ทราบอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด ปัญหาความต้องการของผู้ดูแล พบว่า การสังเกตอาการของภาวะสมองขาดเลือด ระยะที่ 2 รูปแบบการให้ความรู้ฯ มี 4 องค์ประกอบคือการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองและดูแล การสะท้อนความคิด และการสรุปความคิดรวบยอด ระยะที่ 3 และ4 การทดลองใช้และการประเมินผล พบว่า ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ภายหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้ฯผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ฯเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05</p> <p><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการให้ความรู้ฯ เป็นรูปแบบที่ใช้การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเอง</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ภาวะสมองขาดเลือด, ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, ผู้ดูแล</p>
2024-10-28T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15524
ความเหมาะสมในการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลอุทัยธานี
2024-07-02T10:54:16+07:00
จงรัก ขันวิลัย
tumlovely@gmail.com
<p><strong>บทนำ:</strong> การเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดที่มากเกินความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับการใช้จริงของผู้ป่วย อาจส่งผลกระทบต่อระบบการสำรองเลือดของโรงพยาบาล เพิ่มภาระงานของเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือดและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดเพิ่มขึ้น การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเป็นหัตถการที่ทำมากเป็นอันดับต้นๆของโรงพยาบาลอุทัยธานี แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงความเหมาะสมในการจองเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลอุทัยธานีมาก่อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการจองเลือดสำหรับผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการได้รับเลือดในระหว่างผ่าตัดและภายใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดเพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาแนวทางในการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องของโรงพยาบาลอุทัยธานีต่อไป</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Anesthetic Record และเวชระเบียนของผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลอุทัยธานีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 เป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วนำมาคำนวณความเหมาะสม ในการ เตรียมเลือดสำหรับผ่าตัดจากค่า Crossmatch to transfusion ratio (C/T ratio), Transfusion Probability (%T) และ Transfusion index (Ti) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับเลือดระหว่างผ่าตัดด้วย t-test, Chi-square test และ Binary Logistic Regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 621 ราย พบว่าเป็น การเตรียมเลือดแบบ Type and screen 285 ราย (ร้อยละ 45.9) และเตรียมเลือดแบบ Crossmatch 336 ราย (ร้อยละ 54.1) จำนวนเลือดที่ Crossmatch ทั้งหมด 445 ยูนิต ใช้เลือดจริงจำนวน 48 ยูนิตสำหรับผู้ป่วย 33 ราย คำนวณ Crossmatch to transfusion ratio (C/T ratio) เท่ากับ 9.3, Transfusion Probability (%T) เท่ากับ 9.8 และ Transfusion index (Ti) เท่ากับ 0.14 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกับการได้รับเลือดในระหว่างผ่าตัดและภายใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดพบว่า การมีภาวะโลหิตจาง (Hct<31%) ก่อนผ่าตัด (<em>p</em>-value<0.01, odds ratio 14.47, 95%CI 6.39-32.78) และภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) (<em>p</em>-value<0.01, odds ratio 1.82, 95%CI 1.37-2.41) มีผลต่อการได้รับเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป:</strong> การเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องของโรงพยาบาลอุทัยธานีอยู่ในเกณฑ์ไม่เหมาะสม จึงควรใช้การ เตรียมเลือดแบบ Type and screen อย่างไรก็ตามควรพิจารณาปัจจัยด้านผู้ป่วยและความเสี่ยงในการเกิด Postpartum Hemorrhage มาประกอบกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัด, การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, ดัชนีความคุ้มค่าการใช้เลือด</p>
2024-10-08T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15398
ความชุกและลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคท ในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิต โรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
2024-07-02T09:40:20+07:00
กิติศักดิ์ สีดานุช
tlekitisak@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิต</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบสังเกตเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาลดความดันโลหิตอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี ระหว่าง เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่วัดระดับความดันโลหิตด้วยเครื่องชนิดพกพาที่บ้านจำนวน 1,088 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิกจากเวชระเบียน นำเสนอความชุกด้วยร้อยละ วิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตที่สูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาลจำนวน 459 คน ระหว่างกลุ่มความดันโลหิตสูงไวท์โคท และกลุ่มความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ <em>p</em>-value น้อยกว่า 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบความชุกคิดเป็นร้อยละ 15.8 จากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 37.5 ของผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตที่สูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.5) สูงอายุ (อายุเฉลี่ย 64.7 ปี) ลักษณะทางคลินิกที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การมีระดับความดันซิสโตลิกที่โรงพยาบาลสูงระดับ 1 และค่าไขมันเอชดีแอล ที่มากกว่า แต่มีค่าดัชนีมวลกาย การได้รับยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นๆ การพบแอลบูมินในปัสสาวะ และการมีหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบได้มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตที่สูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาล การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องชนิดพกพาที่บ้านสามารถช่วยในการวินิจฉัย ทำให้ลดการสั่งจ่ายยาลดความดันโลหิตโดยไม่จำเป็นลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา และยังเป็น การลดภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลอีกด้วย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ความดันโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูงไวท์โคท, การวัดความดันโลหิตที่บ้าน, ความชุก, ลักษณะทางคลินิก</p>
2024-10-02T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15793
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับของโรงพยาบาลลำปาง
2024-10-03T09:52:24+07:00
อภินภัส ประจวบ
aphinphuspra@hotmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับของโรงพยาบาลลำปาง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอน ระยะที่ 1 วิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 ออกแบบพัฒนารูปแบบการพยาบาล ระยะที่ 3 ปรับปรุงทดลองใช้ และระยะที่ 4 ทดสอบผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือศัลยแพทย์, วิสัญญีแพทย์, พยาบาลห้องผ่าตัด, วิสัญญีพยาบาล, พยาบาลผู้ดูแล และผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ ทั้งหมดจำนวน 149 คน ดำเนินการตั้งแต่ธันวาคม 2566-พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ระยะที่ 1 จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) พบปัญหาผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ แผลบวม, ชาขาข้างที่ผ่าตัด และแผลติดเชื้อ ระยะที่ 2 รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีค่า CVI = 0.89 ระยะที่ 3 ปรับปรุงทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง 1 เดือน พบว่าเพิ่มระดับความรู้และลดความกังวล และระยะที่ 4 ทดสอบผลการใช้รูปแบบการพยาบาลพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ 24.3 (±2.6) มากกว่ากลุ่มควบคุม 14.8 (±6.3) และค่าเฉลี่ยคะแนนความกังวลของกลุ่มทดลอง 26.4 (±3.3) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม 53.6 (±3.8) คะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <em>p</em>-value < 0.001 และกลุ่มควบคุมเกิดแผลซึม แผลบวม และแผลติดเชื้อร้อยละ 1.9, และ 2.9 ตามลำดับ กลุ่มทดลองมีคะแนนความพึงพอใจระดับดีมาก และไม่กลับมารักษาตัวซ้ำ</p> <p><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เสนอแนะพัฒนาสู่แนวปฏิบัติต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การพยาบาลแบบไร้รอยต่อ, ไส้เลื่อนขาหนีบ, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15606
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในเด็กโรคปอดอักเสบโรงพยาบาลตาคลี
2024-10-03T14:53:10+07:00
ธานัติยา อรุโณทอง
ptanuttiya@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาแบบรวบรวมย้อนหลังในผู้ป่วยอายุ 1 เดือน ถึง 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบและรักษานอนในโรงพยาบาลตาคลีระหว่างเดือนมกราคม 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 493 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล รายงานผลข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายทางรังสีทรวงอก ผลการรักษา และวิเคราะห์หาปัจจัยหรือลักษณะของผู้ป่วยที่มีผลต่อการใช้ HFNC ในการรักษา</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบเป็นเพศชายร้อยละ 55.8 ค่ามัธยฐานของอายุ 3 ปี (IQR 1.5-4.8 ปี) และค่ามัธยฐานของน้ำหนัก 14 กิโลกรัม (IQR 10.1-18.4 กิโลกรัม) ใช้ HFNC ในการรักษาร้อยละ 29.6 มีอัตราการล้มเหลวใส่ท่อช่วยหายใจในเด็กที่ใช้ HFNC ร้อยละ 9.6 และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ HFNC ได้แก่ อายุเด็กน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี ระยะเวลาที่มีอาการน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน สัญญาณชีพแรกรับมีอัตราการหายใจเกินเกณฑ์อายุ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO<sub>2</sub>) แรกรับน้อยกว่า 92%</p> <p><strong>สรุป:</strong> การใช้ HFNC ในเด็กโรคปอดอักเสบที่มีอาการรุนแรงช่วยทำให้อัตราการหายใจลดลง ลดความเหนื่อยและลดการใส่ท่อช่วยหายใจ ควรมีการให้ความรู้กับทีมผู้ดูแลเด็กและเฝ้าระวังในเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงการใช้ HFNC เพื่อช่วยลดการเกิดโรคปอดอักเสบที่รุนแรงมากขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> High flow nasal cannula (HFNC), เด็ก, โรคปอดอักเสบ, ปัจจัยที่มีผล</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15553
การประเมินผลของการผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บร่างแหประสาทแขน ในโรงพยาบาลราชบุรี
2024-07-30T09:32:37+07:00
อรรถพล ไพรัชเวชภัณฑ์
Bankkrub911@gmail.com
<p><strong>ความเป็นมา:</strong> ภาวะการบาดเจ็บร่างแหประสาทแขน (Brachial plexus injury) เป็นภาวะที่เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนต้นที่แตกออกมาจากเส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ (C5-T1) ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียการทำงานของแขนและมือ ผู้ป่วยที่ไม่มีการฟื้นคืนของร่างแหประสาทแขนนั้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเส้นประสาทเพื่อฟื้นฟูการทำงานของแขนและมือให้กลับมาใกล้เคียงปกติ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลลัพธ์ก่อนและหลังผ่าตัดของการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทหรือการซ่อมแซมเส้นประสาทในผู้ป่วยที่มีภาวะการบาดเจ็บร่างแหประสาทแขน และเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การรักษาระหว่างกลุ่ม Brachial plexus injuries total arm type (BPI total arm type), Brachial plexus injuries upper arm and Extend upper arm type (BPI upper arm and Extend upper arm type) และ Open Brachial plexus injury (Open BPI)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective Descriptive study) ศึกษาในผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปี ที่มีการบาดเจ็บร่างแหประสาทแขน (Brachial plexus injury) และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดย้ายเส้นประสาท (Neurotization) หรือเย็บซ่อมเส้นประสาท (Brachial plexus repair) ในโรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2566 ซึ่งมีทั้งสิ้น 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่ามีผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บร่างแหประสาทแขนที่เข้ารับการผ่าตัด จำนวน 10 ราย เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การผ่าตัดมุมในการขยับของข้อไหล่และข้อศอก (ROM shoulder and ROM elbow) หลังผ่านไป 24 เดือนพบว่ามุมในการขยับของ Open Brachial Plexus Injury ของข้อไหล่ดีที่สุด และเมื่อประเมินผลลัพธ์การผ่าตัดของการประเมินกำลังของกล้ามเนื้อ ระหว่างกลุ่ม BPI total arm type, BPI upper arm and Extend upper arm type และ Open Brachial Plexus Injury พบว่า ในส่วน Shoulder และ Elbow หลังผ่าตัดเมื่อติดตามไปในระยะเวลา 24 เดือน พบว่าทั้ง 3 กลุ่ม มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับ M2 มากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพบว่าระดับความเจ็บปวด (VAS) ของ Open Brachial Plexus Injury จะมีการลดลงมากที่สุดหลังผ่าตัดเมื่อติดตามไปในระยะเวลา 24 เดือน</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> การผ่าตัดย้ายเส้นประสาท (Neurotization) และ การเย็บซ่อมเส้นประสาท (Brachial plexus repair) ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บร่างแหประสาทแขนและไม่ฟื้นคืน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดที่ดีขึ้น มีโอกาสที่ ความสามารถในการยกไหล่ (Shoulder abduction) และการงอข้อศอก (Elbow flexion) ที่ดีขึ้นเมื่อเวลา ผ่านไป 6-12 เดือน</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การบาดเจ็บร่างแหประสาทแขน, การรักษาแบบผ่าตัด, โรงพยาบาลราชบุรี <br /><br /><br /></p>
2024-11-05T00:00:00+07:00
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3