Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 https://thaidj.org/index.php/smj <p> </p> <table> <tbody> <tr> <td width="149"> <p>ชื่อวารสาร </p> </td> <td width="467"> <p>วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>ชื่อภาษาอังกฤษ</p> </td> <td width="467"> <p>Region 3 Medical and Public Health Journal</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>ชื่อย่อวารสาร</p> </td> <td width="467"> <p>R3 Med PHJ</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>วัตถุประสงค์ </p> </td> <td width="467"> <p>เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข</p> </td> </tr> <tr> <td width="149"> <p>กำหนดการออก</p> </td> <td width="467"> <p>ปีละ 4 ฉบับ (มกราคม-มีนาคม, เมษายน-มิถุนายน, กรกฎาคม-กันยายน,ตุลาคม-ธันวาคม) ของทุกปี</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p> ISSN 2774-0579 (Online)</p> <p> ISSN 2821-9201 (Print) </p> <p>ค่าธรรมเนียมสำหรับการตีพิมพ์ 3000 บาท</p> <p>โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาถนนสวรรค์วิถี เลขที่บัญชี 633-0-58182-7</p> <p>ชื่อบัญชี วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3</p> <p>ผู้ส่งบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนที่ทางวารสารจะดำเนินการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ถ้าบทความ <strong>“ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ (Rejected)”</strong> <strong>กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ในทุกกรณี</strong></p> <p>วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตุสุขภาพที่ 3 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานทางวิชาการ ไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร ค่าธรรมเนียมที่วารสารจัดเก็บมีไว้เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณาบทความเท่านั้น</p> โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และ เขตสุขภาพที่ 3 กระทรวงสาธารณสุข th-TH Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 2821-9201 ผลของยา Dexmedetomidine ต่อการตอบสนองของอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต สำหรับการระงับความรู้สึกผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ: การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมปกปิดสองทาง https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15124 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของยา Dexmedetomidine ร่วมกับการระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ ต่ออัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตในช่วงใส่ท่อหายใจ ลงมีดผ่าตัด และตัดกระดูก Sternum และศึกษาปริมาณยา Nicardipine ที่ใช้เพื่อลดความดันซิสโตลิกให้ได้ 80-90 มิลลิเมตรปรอท ก่อนใส่ Aortic Cannulation เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมโดยมีการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (Randomized double-blind controlled trial) ในผู้ป่วย อายุ 40-75 ปี, ASA Physical Status II-III ที่มารับการผ่าตัดทำบายพาสเส้นเลือดหัวใจ (CABG) ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2566 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2566 ทั้งหมด 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่ม Dexmedetomidine จะได้รับ รับยาในขนาด 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเป็นเวลา 10 นาทีต่อด้วย 0.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง กลุ่มควบคุมจะได้รับ Normal Saline ในอัตราเร็วที่เท่ากัน ควบคุมความลึกของการสลบให้ได้ BIS 40-50 เปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก และความดันโลหิตเฉลี่ยในช่วงใส่ท่อหายใจ ลงมีดผ่าตัดและตัดกระดูก Sternum ขนาดยา Nicardipine เพื่อทำให้ความดันซิสโตลิก 80-90 มิลลิเมตรปรอท ก่อนทำ Aortic Cannulation</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> อัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยของกลุ่ม Dexmedetomidine น้อยกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในช่วงหลังใส่ท่อหายใจ 1 นาที (66±12.2 และ 88±19.4) 3 นาที (63±10.8 และ 81±18.4) 5 นาที (61±10.2 และ 77±16.1) หลังลงมีดผ่าตัด1 นาที (63±11.2 และ 85±17.3) 3 นาที (63±12.1และ 81±16.3) 5 นาที (63±10.0 และ 77±17.4) และหลังตัดกระดูก Sternum 1 นาที (66±12.1 และ 81±18.5) 3 นาที ( 65±12.0 และ 76±18.5) ที่ 5 นาที (65±11.1 และ 76±15.8) และมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value&lt;0.01) ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก และความดันโลหิตเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่ม Dexmedetomidine ใช้ยา Nicardipine เฉลี่ยเพื่อลดความดันซิสโตลิกให้ได้ 80-90 มิลลิเมตรปรอท น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.27±0.1 และ 0.5±0.2 มิลลิกรัม: <em>p</em>-value&lt;0.01)</p> <p><strong>สรุป:</strong> Dexmedetomidine มีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ (CABG) แต่ไม่มีผลลดความดันโลหิตเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีผลลดปริมาณการใช้ Nicardipine เพื่อลดความดันซิสโตลิก ก่อนทำ Aortic Cannulationเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> Dexmedetomidine, การใส่ท่อหายใจ, การลงมีดผ่าตัด, การตัดกระดูก Sternum</p> เผด็จ บุญมาก จิราภรณ์ พุกซื่อตรง ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ธาลัสซีเมียที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ สแวนสัน: กรณีศึกษา https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14958 <p> โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ เป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงหากสามีมียีนที่ผิดปกติทั้งคู่ก็จะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติร่วมกันไปสู่ลูกทำให้บุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศนโยบายกำหนดให้หญิงมีครรภ์ทุกรายได้รับคำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ได้รับการคัดกรองโดยสมัครใจและการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหญิงตั้งครรภ์ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและเป็นคู่เสี่ยงที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการพยาบาลตามแนวคิดการดูแลอย่างเอื้ออาทรของสแวนสัน ผลการศึกษา พบว่า สตรีตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิด Suspected 0 Thalassemia/ Hb E or Hb E with or without -Thalassemia 1 สามีคู่เสี่ยงธาลัสซีเมียเป็นชนิด Homozygous Hb E with or without -Thalassemia จึงเป็นคู่เสี่ยงมีโอกาสเกิดบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยทารกในครรภ์โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งผลการตรวจน้ำคร่ำสรุปว่าทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิด Homozygous Hb E โดยขณะที่มารับบริการฝากครรภ์ได้รับการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของสแวนสัน พบว่า หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม มาตรวจครรภ์ตามนัดและร่วมกันวางแผนครอบครัวหลังคลอดบุตร ด้านจิตใจความวิตกกังวลลดลงและสามารถตั้งครรภ์ต่อได้โดยได้รับคำแนะนำและการพยาบาลตามกระบวนการในแต่ละระยะของการมาฝากครรภ์<br /> ดังนั้น พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกฝากครรภ์จึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และสามี ซึ่งควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหรือพาหะธาลัสซีเมีย มีทักษะการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์และปฏิบัติการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรแก่หญิงตั้งครรภ์และสามีในแต่ละระยะของการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> หญิงตั้งครรภ์, ธาลัสซีเมีย, คู่เสี่ยง, การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด</p> ภรภัทร สนองคุณ ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธผู้เชี่ยวชาญ ในการทำความเข้าใจปัญหาของผู้มารับบริการ https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15324 <p> การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธผู้เชี่ยวชาญในการทำ ความเข้าใจปัญหาของผู้มารับบริการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 6 รายเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาที่เชี่ยวชาญในการใช้หลักการของพุทธศาสนาในการให้คำปรึกษา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การเอื้อให้ตระหนักถึงปัญหา การพูดคุย รับฟัง และทบทวนเรื่องราวช่วยให้ผู้รับบริการมีความตระหนักรู้ถึงความทุกข์และสามารถมองเห็นปัญหาที่เชื่อมโยงกัน (2) การเอื้อให้ตระหนักถึงรากของปัญหา การทำความเข้าใจทิฐิและความเชื่อที่ยึดติด ช่วยให้เกิดความเข้าใจชัดเจนและสามารถหาทางออกได้ด้วยตนเอง (3) การใช้หลักพุทธธรรมเป็นพื้นฐานในการทำงาน ช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจถึงธรรมชาติของความเชื่อมโยงและการพึ่งพาอาศัยกันของสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับปัญหาตามความเป็นจริง และนำไปสู่การคลี่คลายความทุกข์ทางจิตใจ</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การทำความเข้าใจปัญหา, นักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ, การวิจัยเชิงคุณภาพ</p> จักรา วีรกุล อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 การบูรณะฟันหน้าบนโดยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมร่วมกับการเสริมสันกระดูก : รายงานผู้ป่วย https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15000 <p> ผู้ป่วยชายไทยอายุ 55 ปี มาด้วยอาการสำคัญคือสูญเสียฟันหน้าบนด้านซ้ายจากการถอนฟันเนื่องจากมีการแตกของรากฟัน และต่อมาสันกระดูกมีการยุบตัวลงในแนวนอน จึงได้ทำการตรวจและประเมินทางภาพถ่ายรังสีส่วนตัดคอมพิวเตอร์ ชนิดโคนบีม (Cone Beam Computed Tomography) เพื่อประเมินและวางแผนการรักษาทางทันตกรรมรากเทียม ในขั้นตอนการผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมร่วมกับการเสริมสันกระดูกด้วยวิธีชักนำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกระดูก (Guided Bone Regeneration) ด้วยวัสดุทดแทนกระดูกวิวิธพันธุ์ (Xenograft) และปิดทับด้วยเยื่อกั้นชนิดละลายได้ (Resorbable membrane) เมื่อระยะเวลา 4 เดือนภายหลังจากการผ่าตัด พบว่าสันเหงือกมีลักษณะที่อูมนูน และทำการผ่าตัดระยะที่ 2 โดยการใส่ตัวผายเหงือก (Healing abutment) กับรากเทียมแล้วพบว่ารากเทียมมีการเสถียรภาพการยึดอยู่ที่ดี จากนั้นจึงทำการพิมพ์ปากเพื่อใส่ครอบฟันชั่วคราวเพื่อสร้างลักษณะรูปร่างเหงือกเลียนแบบฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเป็นระยะเวลา 1-2 เดือน จึงทำการใส่ครอบฟันถาวรเซรามิกที่ยึดสกรูกับรากเทียม ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีในเรื่องความสวยงามเป็นที่น่าพึงพอใจของผู้ป่วย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> รากฟันเทียม, การชักนำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกระดูก, วัสดุทนแทนกระดูก, แผ่นเยื่อกั้นชนิดละลาย</p> พิชญา เมฆฉา ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-24 2024-06-24