วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคใต้)
https://thaidj.org/index.php/srtc
<p>วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคใต้) จัดทำขึ้นโดยศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยตีพิมพ์ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นช่องทางการเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานการจัดการองค์ความรู้ ผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และบุคคลที่สนใจ เพื่อเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านระบบสุขภาพกับภาคีเครือข่อย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>1. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง<br />2. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานวิชาการ และผลงานวิจัยของนักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และบุคคลที่สนใจ<br />3. เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผลงานวิชาการ และผลงานงานวิจัยของศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ<br />4. เพื่อจัดให้มีวารสารวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน<br />5. เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานวิชาการของศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณา</strong> : บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณา โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong> : บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความนวัตกรรม</p> <p><strong> ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong> : ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : วารสารตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน)</p> <p>ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม)</p> <p>ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ (Article processing charges: APC)</strong> : ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ ยกเว้นกรณียกเลิกหรือถอนบทความหลังจากที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Reviewers) พิจารณาแล้ว โดยผู้นิพนธ์จะต้องชำระค่าประเมินบทความ จำนวน 3,000 บาท</p> <p> </p>
ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช
th-TH
วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคใต้)
0857-7293
-
หน้าปก
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15373
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
-
พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15342
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทุกคนจำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วน คือ ลักษณะส่วนบุคคล, ความรู้, ทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม, การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.00), ทัศนคติเกี่ยวกับโรคอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.50), แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.00), การรับรู้ความรุนแรง โอกาสเสี่ยง ประโยชน์ และอุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.00) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, SD = 0.412) ระดับความรู้, ระดับทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม และระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญที่ P < 0.05</p>
ฉันทนา ธรรมชาติ
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
8
17
-
ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดในโรงพยาบาลสิชล
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15582
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ (Retrospective Case control Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดในโรงพยาบาลสิชล โดยศึกษาในเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนประชากรทุกราย (Census) จำนวน 232 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง จำนวน 206 ราย และกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางช่องคลอด 26 ราย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่า CVI .93 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้ สถิติ independent t-test และFisher’s extract test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 49.43 ± 10.02 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.46 ± 4.84 kg/m<sup>2</sup> มีประวัติการผ่าตัดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน ร้อยละ 61.2 ประวัติการคลอดบุตร ร้อยละ 75 การวินิจฉัยโรค ที่พบมากที่สุด คือ Myoma uteri ร้อยละ 44.8 รองลงมาคือ Adenomyosis และ Prolapse uteri ร้อยละ 26.7 และ 11.2 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการผ่าตัดน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ร้อยละ 76.7 มีจำนวนเลือดที่สูญเสียน้อยกว่า 500 ซีซี ร้อยละ 83.6 การได้รับเลือดระหว่างผ่าตัด ร้อยละ 14.7 และมีการผ่าตัดร่วม ร้อยละ 78.4ด้านผลลัพธ์การดูแลรักษา พบว่า ผู้ป่วยมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.61 ± 3.67 วัน ประเภทการจำหน่ายแบบ improve ร้อยละ 100 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัด คิดเป็น ร้อยละ 92.2 และ 94.8 ตามลำดับ และพบว่า ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ประเภทการจำหน่าย และภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่มในทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่าง และหลังผ่าตัดในประเด็นย่อย พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องจะมีการเสียเลือด และการบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัดมีภาวะเลือดออก และการติดเชื้อแผลผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง และทางช่องคลอดที่ไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง </p>
พฤกษาภัทร คันธะ
มณฑิรา ชาญณรงค์
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
18
29
-
การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากภาวะปอดอักเสบ
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15583
<p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>โรคปอดอักเสบ (pneumonia) พบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าอาการรุนแรงหรือไม่ได้รักษาทันท่วงทีสามารถเพิ่มระดับความรุนแรงส่งผลให้ เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว พยาบาลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจพยาธิสภาพของโรค แนวทางการรักษาเป็นอย่างดี นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ใน การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้ครอบคลุม ในแต่ละระยะของการดำเนินของโรค จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในแสเลือดจากภาวะปอดอักเสบ กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย</p> <p><strong>วิธีดำเนินงาน</strong><strong>: </strong>เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระนอง ช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์การพยาบาล 3 ระยะ ระยะแรกรับ ระยะระหว่างการดูแล และระยะจำหน่าย</p> <p> <strong>ผลลัพธ์</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยรายที่1ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 82 ปี มีประวัติเป็น ความดันโลหิตสูง ถุงลมโป่งพอง ต่อมลูกหมากโตหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง เบาหวาน มีประวัติสูบบุหรี่ มาด้วย 3 วัน ไอมีเสมหะสีขาว ไข้ 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลหายใจหอบเหนื่อย พ่นยา3ครั้งไม่ดีขึ้น แพทย์ให้การรักษาจากการตรวจร่างกาย ฟังเสียงหายใจพบเสียงหวีดแห้งๆ ในหลอดลม วางแผนการรักษาโดยให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ ใช้ยาพ่นขยายหลอดลมทุก4 ชั่วโมง จนอาการดีขึ้น ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 8 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 เพศหญิง อายุ 92 ปี มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัลไซเมอร์ เส้นเลือดสมองตีบ ปัจจุบันเป็นผู้ป่วยติดเตียง มาด้วย 7 วันไข้อ่อนเพลียวันนี้ หายใจเหนื่อยญาติ นำส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการให้ออกซิเจนชนิดแรงดันบวก แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนผู้ป่วยมีอาการคงที่พ้นภาวะวิกฤติ ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน รวมเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล 12 วัน</p> <p><strong>สรุป : </strong>ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระเลือดจากภาวะปอดอักเสบ จากการที่ พยาบาลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ดูแลผู้ป่วย และครอบครัวแบบองค์รวม ร่วมกับสหวิชาชีพ จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยพ้นภาวะวิกฤต ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตรา การเสียชีวิต</p>
ศิริพร ปานนิล
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
30
41
-
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการผ่าตัดเท้าและมีโรคร่วม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15578
<p>การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการผ่าตัดเท้าและมีโรคร่วม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 รายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้ากรณีศึกษา 2 ราย วิธีดําเนินงาน เป็นศึกษาเชิงพรรณนากรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า 2 รายที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ การวางแผนการพยาบาลตามแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน จากพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาลแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลรวมถึงการวางแผนจําหน่ายผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทยอายุ 57 ปี สถานะสมาส อาชีพแม่บ้าน ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง BP = 130/ 80 mmHg หลังตัดเล็บโดนเนื้อบริเวณนิ้วเท้าที่ 4 ข้างซ้าย แผลเป็นสีดำมีหนอง แพทย์ให้ Amputated นิ้วที่ 4 ของเท้าซ้าย จากนั้นหลังจำหน่ายแพทย์นัดให้ล้างแผลทุกวัน ระดับนํ้าตาลไม่ปกติ FBS อยู่ในช่วง 170 - 280 mg/dl HbA1c = 8.5 แพทย์ปรับเพิ่มยา glipizide 1 tab oral ac เป็น glipizide 1 tab oral bid ac ระดับน้ำตาลในเลือดหลังปรับยาอยู่ในช่วง 170- 210 mg/dl ผู้ป่วยเข้าใจในสภาพแผลผ่าตัดนิ้วเท้าจากโรคเบาหวานตามการรับรู้จากแพทย์พยาบาลแนะนํามาทำแผลทุกวันอย่างต่อเนื่องแผลหายดีในระยะเวลา 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 2 หญิงไทยอายุ 68 ปี สถานะสมรส อาชีพทำสวน ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง BP = 140/ 90 mmHg มาพบแพทย์ด้วยมีแผลอักเสบ discharge สีเหลืองมีกลิ่น ที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้าด้านขวา ปวดแผลเล็กน้อย แพทย์ให้ตัดนิ้วเท้าด้านขวา เพื่อควบคุมภาวะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยยาแก้อักเสบ 3 วัน แผลดี ไม่บวมแดง มีอาการเท้าชาเป็นบางครั้ง จำหน่ายกลับบ้านนัดผู้ป่วยมารับการพยาบาลเพื่อรักษาแผลผ่าตัดนิ้วเท้าขวา อย่างต่อเนื่องแผลหายดีในระยะเวลา 1 สัปดาห์ สรุป : กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 รายมีความแตกต่างกันด้วยอายุและเศรษฐานะมีแผลที่ถูกตัดนิ้วเท้าแต่ต่างตำแหน่ง การให้พยาบาลควบคุมระดับน้ำตาลเหมือนกัน และให้การพยาบาลดูแลแผลที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้ง 2 ราย ส่งผลให้ผู้ป่วยคลายความกังวลมีความอดทนจนแผลดีขึ้นเป็นลำดับและสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข</p>
สุพิศ ประดู่
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
42
53
-
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หอผู้ป่วยพิเศษ 5 ศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15584
<p>ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง พยาบาลต้องใช้องค์ความรู้ที่เฉพาะให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วยจะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจรูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) เปรียบเทียบกรณีศึกษา (case study) จำนวน 2 ราย รายที่ 1 เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566 รายที่ 2 เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2566 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2566ผลการศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 66 ปี เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ขาบวม นอนราบไม่ได้ การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ได้รับการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สรุปอาการการรักษาพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย ผู้ป่วยชายไทย มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ขาบวม นอนราบไม่ได้ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 3 เส้น หลังผ่าตัด อาการทั่วไปดีขึ้น หัวใจเต้นปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล 12 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทย อายุ 70 ปี เจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย การวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สรุปอาการการรักษาพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย ผู้ป่วยชายไทยมีเจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 3 เส้น มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หลังผ่าตัด อาการทั่วไปดีขึ้น หัวใจเต้นปกติ ภาวะปอดอักเสบดีขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล 9 วันพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีประเด็นที่เหมือนกัน คือ อาการแสดง จำนวนเส้นเลือดที่ตีบ มีโรคร่วม แต่มีความแตกต่างกันในด้านอายุ การตั้ง setting เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ การหย่าเครื่องช่วยหายใจ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายสรุป : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลเป็นผู้ที่มีความสำคัญ ต้องประเมินปัญหาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกทั้งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและที่เกิดจากการใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยและกลับบ้านได้เร็ว</p>
ภาวดี วงศ์พิพันธ์
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
54
67
-
การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วมหอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรมชาย 5 โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15587
<p>ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วม ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน, โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อีกทั้งการสูบบุหรี่ ความเครียด การไม่ออกกำลังกายและภาวะอ้วนลงพุง ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจเลือดเช่นกัน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ กลไกการเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยา ความรุนแรงของโรคและการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วม แต่ละระยะ ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วม ทั้งสองรายมาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอกมาก หายใจเหนื่อย วินิจฉัยโรคเป็น NSTEMI with Diabetes mellitus, Hypertension, Congestive heart failure, Dyslipidemia ได้รับการรักษาโดยวิธีการฉีดสีสวนหัวใจ และได้รับยา ผู้ป่วยรายที่ 1 และ ผู้ป่วยรายที่ 2 ควบคุมอาการได้ จำหน่ายกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านและนัดติดตามอาการเป็นระยะ การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วมมีความยุ่งยากซับซ้อนมีอาการอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย ซึ่งพยาบาลมีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล ให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนการดูแลของ Gordon ในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านจิตวิญญาณ ตามมาตรฐานการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p>
สุชานรี กิ่งรัตน์
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
68
78
-
การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก (Nursing care of septic shock patient) โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15585
<p>ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (Sepsis) เป็นภาวะวิกฤตคุกคามต่อชีวิตที่สำคัญ เกิดจากกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะช็อก ( Septic shock) นำไปสู่ภาวะที่มีอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (Multiple organ dysfunction)</p> <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ กลไกการเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยา ความรุนแรงของ โรคและการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมิน วางแผนการพยาบาล การจัดการดูแล และการฟื้นฟูสภาพสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อกที่เข้ารับการคัดกรองที่แผนกผู้ป่วยนอกและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทยอายุ 57 ปี ให้ประวัติว่า 1 วันก่อนมา มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ไม่อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด ผู้ป่วยไปรับการรักษาที่คลินิกได้รับการฉีดยาฆ่าเชื้อและยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ให้กลับบ้าน แต่อาการไม่ทุเลา 1 ชม.ก่อนมา มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียมาก ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลถ้ำพรรณรา ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึมปลุกตื่น (Drowsiness) สัญญาณชีพปกติ แพทย์รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยใน การวินิจฉัยโรค Pyelonephritis with sepsis ให้ยาต้านจุลชีพ ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ BP 60/40 มิลลิเมตรปรอท แพทย์ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย ปัสสาวะออกคาสาย แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ และส่งตัวรักษาต่อที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช รับไว้ในหอผู้ป่วยอายุกรรมชาย 1 วันสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ และพักรักษาตัวรวม 5 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้</p> <p>กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทยอายุ 40 ปี ให้ประวัติว่า 3 วันก่อนมารพ. มีไข้ หนาวสั่น ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปัสสาวะปกติ ผู้ป่วยไปซื้อยากินเอง ได้รับยา Paracetamol, Brufen, Diclofenac, <em>Ciprofloxacin</em><em>,</em> Buscopan จนกระทั่ง 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นเศษอาหาร 4 ครั้ง เวียนศีรษะ ไม่มีอาการถ่ายเหลว ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลถ้ำพรรณรา ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึมปลุกตื่น (Drowsiness) ความดันโลหิตต่ำเล็กน้อย BP 89/60 มิลลิเมตรปรอท แพทย์รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยใน การวินิจฉัยโรค Pyelonephritis with septic shock แพทย์ให้ plasil10 mg vine stat ให้ยาต้านจุลชีพ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้ป่วยมีอาการหน้าซีด เหงื่อออกตัวเย็น ชาปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ 87/60 มิลลิเมตรปรอท แพทย์ปรับเพิ่มขนาดยาเพิ่มความดันโลหิต ให้ออกซิเจน cannular 3 LPM และส่งต่อโรงพยาบาลทุ่งสงเพื่อรักษาการรักษาต่อเนื่อง อยู่ รพ.ทุ่งสง 7 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้</p> <p><strong> </strong>การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก มีอาการและอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งพยาบาลมีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผลให้ครอบคลุม ทุกมิติ โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนการดูแลของ Gordon ในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยประกอบด้วยด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณตามมาตรฐานการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p>
รัชดาพร มาศกุล
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
79
88
-
ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15586
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต่อความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จำนวน 15 คน โปรแกรมประกอบด้วย ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และการฝึกทักษะการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยให้กิจกรรมรายบุคคล คนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โปรแกรมและเครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ และแบบประเมินทักษะ ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI = 0.74, 0.70 และ 0.80 ตามลำดับ ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือกับพยาบาลวิชาชีพที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ซึ่งประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้การวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้การทดสอบ KR-20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 2) แบบสังเกตการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คำนวณโดยใช้ Interrater reliability ได้ค่าความตรง เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Wilcoxon Matched-pair Signed rank Test ผลการศึกษาพบว่า การแจกแจงลำดับที่ความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในหลังได้รับโปรแกรมมีความแตกต่างก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>< .01)ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นการเพิ่มความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน เกี่ยวกับการใช้แนวทางวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง</p>
รัชดา เจนวิทยารักษ์
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
89
98
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15588
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้ฯกับคุณภาพของการจัดทำบัญชีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรที่รับผิดชอบการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง จำนวน 95 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอจำนวนและร้อยละ สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้ฯกับคุณภาพการจัดทำบัญชีด้วย Chi-Square test ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ฯระดับปานกลาง ร้อยละ 65.3 และคุณภาพการจัดทำบัญชีระดับปานกลาง ร้อยละ 49.5 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้กับคุณภาพของการจัดทำบัญชีพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ฯ เพศ และประสบการณ์การผ่านการอบรมฯและมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการจัดทำบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Chi-square test เท่ากับ 34.073 6.424 และ 4.810 (<em>p</em><0.05) ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบบุคลากรควรมีการจัดอบรมและนิเทศเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งควรมีโปรแกรมการจัดทำบัญชีและการเงินที่เสถียรทันสมัย</p>
นิสาคร วีระกุล
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
99
107
-
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก : กรณีศึกษา 2 ราย
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15591
<p>ต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดอันดับหนึ่งของโลก และมีสาเหตุส่วนใหญ่จากต้อกระจกซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสมการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วม เปรียบเทียบ จำนวน 2 ราย ในหอหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลระนอง การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากแบบบันทึกทางการพยาบาล แบบบันทึกการทบทวนจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน และการซักประวัติจากญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด และระยะการวางแผนจำหน่าย ช่วงเดือน มกราคม 2567 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลการศึกษา : พบว่าปัญหาของผู้ป่วยที่เหมือนกัน คือ 1) วิตกกังวลเกี่ยวการผ่าตัด 2) เสี่ยงต่อความไม่พร้อมในการผ่าตัด 3) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเดินชนสิ่งของเนื่องจากมีภาวะสายตาเลือนราง 4) ปวดตาเนื่องจากมีแผลผ่าตัด 5) เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อภายในลูกตา 6) เสี่ยงต่อภาวะ Hyperglycemia, Hypoglycemia 7) ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดทักษะในการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้านสำหรับปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน กรณีที่ 1 คือ 1) เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากใช้เวลาในการผ่าตัดนาน 40 นาที หลังเปิดตามีเยื่อบุตาแดงเล็กน้อยต้องใช้ยาหยอดตา ส่วนกรณีที่ 2 ไม่มีปัญหาใช้เวลาในการผ่าตัดนาน 20 นาที หลังเปิดตาไม่พบอาการผิดปกติ สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกมีภาวะแทรกซ้อนและสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการประเมิน การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงตั้งแต่แรกรับ ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่ถูกต้อง เหมาะสม ควบคู่กับการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ชิตชนก ถาวรนุรักษ์
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
108
121
-
ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดระยะ 2 ชั่วโมงแรก ในมารดาคลอดปกติต่อความรู้ และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15593
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดระยะ 2 ชั่วโมงแรก ในมารดาคลอดปกติต่อความรู้ และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จำนวน 10 คน โปรแกรมประกอบด้วยการให้ความรู้การใช้แนวทางการเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด และทักษะการใช้แนวทางการเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยให้กิจกรรมรายบุคคล คนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โปรแกรมและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้และแบบประเมินทักษะ ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ .75, .71 และ .80 ตามลำดับ ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือกับพยาบาลวิชาชีพที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน แบบประเมินความรู้คำนวณโดยใช้การทดสอบ KR-20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .81 ส่วนแบบประเมินทักษะคำนวณโดยใช้ Interrater reliability ได้ค่าความตรง เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Wilcoxon Matched-pair Signed rank Test ผลการศึกษาพบว่าก่อนได้รับการพัฒนาตามโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 16.00, S.D. = .471) และทักษะอยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 7.50, S.D. = 1.958) ส่วนหลังได้รับการพัฒนาตามโปรแกรม ความรู้อยู่ในระดับดี (x̄= 20.00, S.D. = .000) และทักษะอยู่ในระดับดี (x̄= 10.00, S.D. = .000) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และทักษะก่อนและหลังได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมพบว่าความรู้และทักษะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือความรู้และทักษะหลังได้รับการพัฒนาสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับพยาบาลวิชาชีพที่จบใหม่และปฏิบัติงานห้องคลอดเพื่อให้มีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด</p>
สุชาดา ไชยรัตน์
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
122
133
-
การวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ โรงพยาบาลระนอง
https://thaidj.org/index.php/srtc/article/view/15592
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ ทบทวนสาเหตุของการตืดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลระนอง ศึกษาโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อปี 2566 จำนวน 10 ราย สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย จำนวน 52 คน ประเมินความรู้และการปฏิบัติกับพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 52 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า1 อุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ 1.59 ครั้ง/1000 วันคาสายสวนปัสสาวะ 2.ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการเกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ มีดังนี้ 1.ด้านโครงสร้าง ได้แก่มีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อจากกการคาสายสวนปัสสาวะที่ชัดเจน แต่เข้าถึงยาก อัตรากำลังไม่เพียงพอ มีการจัดอบรม พัฒนาบุคลากรเรื่องการป้องกันการติดเชื้อจากกการคาสายสวนปัสสาวะ แต่หน่วยงานยังขาดการทบทวนหาสาเหตุของการติดเชื้อ ขาดการสื่อสารกันในหน่วยงาน 2. ด้านกระบวนการ ได้แก่ หน่วยงานยังไม่มีการประเมินความจำเป็นหรือข้อบ่งชี้ในการคาสายสวนปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยบางรายคาสายสวนปัสสาวะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ขาดการลงบันทึกทางการพยาบาล การล้างมือล้างแบบเร่งรีบไม่ครบขั้นตอน ไม่ครบหลัก 5 moment โดยเฉพาะขั้นตอนก่อนการสัมผัสผู้ป่วย การตรึงสายสวนปัสสาวะ การเทปัสสาวะ และการทำความสะอาดอวัยวะก่อนการคาสายสวนปัสสาวะ 3. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ หน่วยงานไม่ทราบอุบัติการณ์การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และไม่ได้นำข้อมูลมาทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างชัดเจน ไม่ได้ประเมินอัตราการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ หน่วยงานทราบผลกระทบของการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะแต่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทาง CAUTI BUNDLE 2.3 ข้อเสนอแนะในการป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ มีดังนี้ ด้านโครงสร้าง ได้แก่ ควรกำหนดนโยบายและสื่อสารนโยบายแก่หน่วยงานให้ทั่วทั้งองค์กร ต้องการให้ปรับปรุงแนวทางให้สั้นๆ เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่าย ควรจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมตามเกณฑ์ของผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ จัดอบรมหรือจัดทำโครงการลดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะเฉพาะที่หน่วยงาน หรือจัดทำสื่ออื่นๆ สนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้เพิ่ม ทุกหน่วยงานควรจะมีการทบทวนหาสาเหตุของการติดเชื้อทุกเดือน มีการนิเทศควบคุมกำกับโดยหัวหน้าหอ/หัวหน้างาน มีการสนับสนุนอุปกรณ์เพิ่ม 2. ด้านกระบวนการ ได้แก่ ควรมีการประเมินการปฏิบัติโดยหัวหน้าหน่วยงานหรือหัวหน้าเวร ต้องการที่แขวนแอลกอฮอล์ที่เตียงสำหรับเข้าถึงได้ง่าย ต้องการโลชั่น ป้องกันมือแห้ง ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการกำหนดแนวทางการถอดสายสวยปัสสาวะ ต้องการให้มีเครื่องมือ/อุปกรณ์อย่างเพียงพอ 3. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ให้นำเสนอข้อมูลอุบัติการณ์แก่ผู้เกี่ยวข้อง หัวหน้าหน่วยงานควรร่วมประเมินติดตามการปฏิบัติตามแนวทาง และนำเสนอข้อมูลผลกระทบแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ ผลการศึกษาครั้งนี้ สำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล ทีมนำพัฒนาคุณภาพ คณะกรรมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถใช้ข้อมูลนี้ในการพัฒนาคุณภาพลดการเกิดการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาความรู้ ส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้อง จัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์ให้เพียงพอ รวมทั้งนิเทศควบคุมกำกับ เพื่อให้สามารถลดการติดเชื้อให้ลดลง</p>
อุไรลักษณ์ มงคล
ลิขสิทธิ์ (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-17
2024-07-17
38 3
134
146