The comprehensive evaluation of Thailand Oral Health Plan for the Elde

Authors

  • Warangkana Vejvithee Bureau of Dental Health, Department of Health
  • Surat Mongkolchaiarunya Bureau of Dental Health, Department of Health

Keywords:

Thailand Oral Health Plan for the Elderly, Evaluation, Oral Health and Elderly, Thailand

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลภาพรวมเชิงระบบ (Comprehensive evaluation) ของแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2558 – 2561 ด้วยวิธี Mixed Method เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ กรอบแนวคิดใช้ CIPP model ในการประเมิน 4 ด้านคือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตและผลลัพธ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์คณะกรรมการบริหารแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทยและผู้บริหารระดับต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่การรับบริการทันตกรรมและสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ จากฐานข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) และจากรายงานผลการประชุมคณะกรรมการแผนงานฯ ผลการศึกษาพบว่า บริบทของแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบายและระบบสุขภาพของประเทศ ปัจจัยนำเข้า มีการถ่ายทอดแผนงานทันตสุขภาพฯ ผ่านกลไกระดับประเทศและระดับพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข แม้ไม่ทั่วถึงแต่ผู้ทำงานในระดับพื้นที่ส่วนใหญ่เข้าใจและปฏิบัติได้ การกำกับติดตามระดับเขตและจังหวัดใช้การบูรณาการไปกับงานสุขภาพอื่น การสนับสนุนด้านงบประมาณพบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่ใช้งบของหน่วยงานร่วมกับงบจากแผนบูรณาการฯ และส่วนใหญ่ใช้งบบูรณาการกับกิจกรรมสุขภาพอื่น ด้านกระบวนการ คณะกรรมการบริหารแผนงานฯ มีบทบาทหลักด้านประสานสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย กำกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด และพบว่าแต่ละยุทธศาสตร์ สามารถดำเนินงานกิจกรรมเป็นไปตามแผนงานฯ ด้านผลผลิตพบว่าส่วนใหญ่บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การเข้าถึงบริการ 3.5 ล้านคน นั่นคือเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 1.2 ล้านคน ในปี 2558 เป็น 3.4 ล้านคน ในปี 2561 และบริการรักษาทางทันตกรรมจาก 7 แสนคน ในปี 2558 เป็น 3.6 ล้านคน ในปี 2561 การจัดกิจกรรมดูแลอนามัยช่องปากผ่านชมรมผู้สูงอายุเป้าหมาย 7,000 ชมรม พบว่าในปี 2561 มีชมรมที่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากสะสมรวม 7,620 ชมรม ผลลัพธ์เชิงสุขภาพพบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้ใช้งาน 20 ซี่หรือมีฟันหลัง 4 คู่สบ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.9 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 66.6 ในปี 2561 ข้อเสนอแนะ การบริหารแผนงานฯควรจัดตั้งทีมหรือคณะทำงานผู้รับผิดชอบและประสานงานของหน่วยงานในยุทธศาสตร์ มีการวางแผนการเก็บและรายงานผลแต่ละยุทธศาสตร์

Published

2022-09-28

Issue

Section

บทวิทยาการ