สรุปผลการดำเนินงาน ตามประเด็นดำเนินการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562

Authors

  • Pakee Sappipat

Abstract

          ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่iพ.ศ.i2561iประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มีสาระสำคัญเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ เป็นไปในทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างความเป็นผู้นำและเจ้าของร่วมกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดจนสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัวและชุมชนมีสุขภาวะทางกาย จิตและสังคม
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืน รัฐบาลโดยกระทวงมหาดไทยได้สั่งการให้จังหวัดให้ความสำคัญของการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และให้นำแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ไปบูรณาการกับแผนพัฒนาจังหวัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

          ในปีงบประมาณ 2562 จังหวัดมหาสารคาม ได้สั่งการให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ทุกอำเภอ ทบทวนคำสั่งและประเด็นการดำเนินงาน โดยคัดเลือกประเด็นดำเนินการของ พชอ.อย่างน้อย 2 ประเด็น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในอำเภอ ตามลำดับความสำคัญที่วิเคราะห์ร่วมกัน พร้อมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงานตามประเด็นที่คัดเลือก โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดประเด็น/เป้าประสงค์/แนวทางและตัวชี้วัดการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน  ให้ตอบสนองแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตภาพรวมของจังหวัดมหาสารคาม โดยมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นเลขานุการ ได้ผลักดันการพัฒนาคุณภาพชีวิตภาพรวมของจังหวัดเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561–2565 (ในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม 2561-2565 ในปีงบประมาณ 2562) ที่มีวิสัยทัศน์ของการพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม คือ เป็นแหล่งผลิตสินค้ำเกษตรและอาหารคุณภาพ ศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยประเด็นการพัฒนาที่ 4 คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สู่สังคมรู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบันของชาติ เอื้ออาทรและสมานฉันท์ ซึ่งประกอบด้วยi3iแผนงานหลัก โดยแผนงานหลักที่ 1 คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ประกอบด้วย 3 แผนงาน คือ (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (2) การสร้างเสริมทักษะสุขภาวะ/การกีฬาส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ (3) การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยแผนงานหลักที่ 1 มีเป้าหมายของจังหวัดมหาสารคามที่ต้องการในปี 2580 ที่ประกอบด้วย 8 เป้าหมาย คือ (1) อายุเฉลี่ยของประชากรจังหวัดมหาสารคามเมื่อปี 2565 เท่ากับ 74.5 ปี (ประเทศปี 2565 เท่ากับ 77 ปี) ปี 2580 เท่ากับ 82 ปี (ประเทศ 85 ปี) (2) ระดับสติปัญญาเฉลี่ยเด็กปฐมวัยของจังหวัดมหาสารคามเมื่อปี 2565 เท่ากับ 99 จุด (ประเทศเท่ากับ 100 จุด) ปี 2580 เท่ากับ 102 จุด (ประเทศเท่ากับ 105 จุด) (3) ร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยผ่านเกณฑ์ จปฐ. (4) ประชาชน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ทุกภาคส่วนออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของประชากร (5) มูลค่าอุตสาหกรรมการกีฬามีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละi5iต่อปีi(6)iพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองศูนย์กลางจังหวัดเป็นเมืองน่าอยู่ (5 ด้าน) ภายในปี 2565 (สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12) (7) ชุมชนเมืองและชนบทพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่ครบทั้งหมดภายในปี 2580 (สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)iและi(8) พัฒนาเมืองศูนย์กลางจังหวัดเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) (7 ด้าน) ภายในปี 2580 (สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)

           โดยการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอภาพรวมจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อการดำเนินงาน
ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อใช้ในการ
(1) การประชุมของคณะกรรมการ พชอ. ซึ่งทุก พชอ. ได้จัดการประชุมเพื่อจัดทำแผน คัดเลือกประเด็นการดำเนินงานiและขับเคลื่อนการดำเนินงานiจำนวนอำเภอละi6iครั้ง (งบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ปี 2562 อำเภอละ 40,800 บาท) (2) การเยี่ยมเสริมพลังคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของทีมระดับจังหวัด (3) การเยี่ยมเสริมพลังระดับตำบลของ คณะกรรมการ พชอ. ซึ่งทุกอำเภอได้ดำเนินงาน เยี่ยมเสริมพลังในระดับตำบลทุกตำบล (งบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอละ 30,000 บาท) และ (3) การจัดมหกรรมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดมหาสารคาม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการดำเนินงาน/Best Practice การจัดเวทีเพื่อเชิดชูเกียรติ พชอ. ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ทั้ง 13 อำเภอ (งบประมาณจากสำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอละ 27,000 บาท) ซึ่งสรุปประเด็นดำเนินการของ พชอ.ของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562 ได้ดังนี้ (1) ประเด็นการดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) จำนวน 13 อำเภอ (2) ประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 11 อำเภอ (3) ประเด็นการจัดการขยะ/สิ่งแวดล้อม จำนวน 6 อำเภอ (4) ประเด็นอาหารปลอดภัย จำนวน 5 อำเภอ (5) ประเด็นอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 3 อำเภอ (6) ประเด็นยำเสพติด จำนวน 3 อำเภอ (7) ประเด็นโรคไม่ติดต่อโรคเรื้อรังจำนวน 3 อำเภอ (8) ประเด็นโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 2 อำเภอ (9) ประเด็นประเพณีวัฒนธรรม จำนวน 2 อำเภอ (10)iประเด็นเศรษฐกิจ/รายได้ จำนวน 1 อำเภอ และ (11) ประเด็นคุณธรรม/จริยธรรม จำนวน 1 อำเภอ โดยสรุปประเด็นดำเนินการของ พชอ. ของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562 เป็นรายอำเภอ ได้ดังนี้ (1) พชอ.เมืองมหาสารคาม ดำเนินการ 6 ประเด็น (2) พชอ.แกดำ ดำเนินการ 3 ประเด็น (3) พชอ.โกสุมพิสัย ดำเนินการ 4 ประเด็น (4) พชอ.กันทรวิชัยดำเนินการi2iประเด็นi(5)iพชอ.เชียงยืน ดำเนินการi5iประเด็นi(6)iพชอ.บรบือ ดำเนินการ 4 ประเด็น (7) พชอ.นาเชือก ดำเนินการ 3 ประเด็น (8) พชอ.นาดูน ดำเนินการ 6 ประเด็น (9) พชอ.วาปีปทุม ดำเนินการ 4 ประเด็น (10) พชอ.พยัคฆภูมิพิสัย ดำเนินการ 4 ประเด็น (11) พชอ.ยางสีสุราช ดำเนินการ 3 ประเด็น (12) พชอ.กุดรัง ดำเนินการ 5 ประเด็น และ (13) พชอ.ชื่นชม ดำเนินการ 3 ประเด็น

          ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม (นายเกียรติศักดิ์ จันทรา) ได้เห็นชอบแผนการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ภาพรวมของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ซึ่งกำหนดให้ ดำเนินการ ในกิจกรรมสำคัญดังนี้ (1) กำหนดให้มีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ทั้งหมด 13 อำเภอ ในการประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม ประจำเดือนมิถุนายน 2562 (2) กำหนดให้ประธาน พชอ. นำเสนอผลการดำเนินงานของ พชอ. ในวาระสืบเนื่องและติดตามของการประชุมคณะกรมการจังหวัดเดือนละ 1 อำเภอ ซึ่งเดือนมิถุนายนเป็นอำเภอเมืองมหาสารคาม เดือนกรกฎาคมเป็นอำเภอรบือ เดือนสิงหาคมเป็นอำเภอวาปีปทุม และเดือนกันยายนเป็นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และ 9 อำเภอที่เหลือให้นำเสนอในปีงบประมาณ 2563 (3) กำหนดให้มีการเยี่ยมเสริมพลัง พชอ. โดยผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัดเป็นหัวหน้าทีม จำนวน 5 ทีม ในระหว่างวันที่ 21-27 สิงหาคม 2562 และ (4) กำหนดให้มีการมอบประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติ พชอ. ในวันที่ 26 กันยายน 2562 เพื่อให้การดำเนินงานในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2562 ของจังหวัดมหาสารคาม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด บรรลุเป้าหมายและกิจกรรมที่กำหนด ซึ่งจะเกิดผลต่อสุขภาพชีวิตที่ดีของประชาชนจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จึงได้ประชุมยกระดับการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562 ใน 4 เดือนสุดท้าย ในวันที่ 7 มิถุนายน 2562 กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่แต่งตั้ง จำนวน 13 อำเภอ รวม 273 คน โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม (นายนที มนตริวัต) ผู้บริหารของจังหวัดมหาสารคาม ได้ให้กำลังใจคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะกรรมการ พชอ.ทุกอำเภอ ทุกท่าน ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอให้เป็นไปในทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายของจังหวัดมหาสารคามอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในอำเภอที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความเป็นผู้นำและเจ้าของร่วมกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอำเภอ เพื่อมุ่งหวังให้พี่น้องประชาชนจังหวัดมหาสารคามมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกๆ ด้าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของจังหวัดมหาสารคาม โดยสรุปการดำเนินงานปีงบประมาณ 2562

Published

2020-02-12

Issue

Section

Preliminary Report (รายงานเบื้องต้น)