สรุปผลการดำเนินงาน ตามประเด็นดำเนินการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563

Authors

  • Pakee Sappipat Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office

Abstract

            ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีสาระสำคัญเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ เป็นไปในทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
เสริมสร้างความเป็นผู้นำและเจ้าของร่วมกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดจนสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัวและชุมชนมีสุขภาวะทางกาย จิตและสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืน รัฐบาลโดยกระทวงมหาดไทยได้สั่งการให้จังหวัดให้ความสำคัญของการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และให้นำแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ไปบูรณาการกับแผนพัฒนาจังหวัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

           ในปีงบประมาณ 2563 จังหวัดมหาสารคาม ได้สั่งการให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ทุกอำเภอ ทบทวนคำสั่งและประเด็นการดำเนินงาน โดยคัดเลือกประเด็นดำเนินการของ พชอ.อย่างน้อย 2 ประเด็น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในอำเภอ ตามลำดับความสำคัญที่วิเคราะห์ร่วมกัน พร้อมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงานตามประเด็นที่คัดเลือก โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดประเด็น/เป้าประสงค์/แนวทางและตัวชี้วัดการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้ตอบสนองแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตภาพรวมของจังหวัดมหาสารคาม โดยมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นเลขานุการ ได้ผลักดันการพัฒนาคุณภาพชีวิตภาพรวมของจังหวัดเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561–2565 (ในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม 2561-2565 ในปีงบประมาณ 2563) ที่มีวิสัยทัศน์ของการพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม คือ เป็นแหล่งผลิตสินค้ำเกษตรและอาหารคุณภาพ ศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยประเด็นการพัฒนาที่ 4 คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สู่สังคมรู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบันของชาติ เอื้ออาทรและสมานฉันท์

            โดยการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอภาพรวมจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563 ทุกอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งแต่ละ พชอ. ได้มีการทบทวนและปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการ พชอ. เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น และอำเภอมีการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมีการประชุม เพื่อคัดเลือกประเด็นดำเนินการและจัดทำแผน ซึ่งประเด็นที่ทุกอำเภอดำเนินการขับเคลื่อน คือ การดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) ของหน่วยงานดำเนินงานร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร 36 หน่วยงาน และ พชอ. 13 อำเภอ และประเด็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแต่ละอำเภอคัดเลือกประเด็นเพิ่มเติม ตามบริบทในพื้นที่

           สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ พชอ. ประจำปีงบประมาณ 2563 1) โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เชิดชูเกียรติส่วนราชการในการขับเคลื่อนการดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่ เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) ปี 2563
2) โครงการประชุมเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และระบบบริการสุขภาพรองรับประชาคมอาเซียน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ปี 2563 และจัดสรรงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน พชอ. 1) สป.สธ. จัดสรรให้ อำเภอละ 20,000 บาท 2) สสส. จัดสรรให้ อำเภอละ 60,000 บาท (ระยะเวลาดำเนินการ ก.ค. 63 – ก.ย. 64) โดยได้มีการ กำหนดกิจกรรมการดำเนินการ ตามประเด็น เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของแต่ละ พชอ. โดยใช้กลไกล พชอ. ถ่ายทอดการดำเนินงานจากระดับอำเภอไปสู่ระดับตำบล  เสนอ Timeline การดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามลงนามเห็นชอบ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 63 และมอบรับรองการปฏิบัติราชการ การดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ประจำปีงบประมาณ 2563 ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามกับ นายอำเภอ (ประธาน พชอ.) จำนวน 13 อำเภอ ในวาระก่อนการประชุม ของการประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม ประจำเดือน กันยายน 2563

           ซึ่งสรุปประเด็นดำเนินการของ พชอ.ของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563 ได้ดังนี้ 1) ประเด็นการดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) จำนวน 13 อำเภอ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 13 อำเภอ 2)iประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 7 อำเภอ 3) ประเด็นการจัดการขยะ/สิ่งแวดล้อม จำนวน 4 อำเภอ 4) ประเด็นอุบัติเหตุ จำนวน 3 อำเภอ 5) ประเด็นยาเสพติด จำนวน 2 อำเภอ 6) ประเด็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 2 อำเภอ 7) ประเด็นอาหารปลอดภัย จำนวน 2 อำเภอ 8) ประเด็นคุณธรรมจริยธรรม/ระเบียบวินัย/ยาเสพติด ประเด็นโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ประเด็นโรคพิษสุนัขบ้า และประเด็นเศรษฐกิจ/สิ่งแวดล้อม  ประเด็นละ 1 อำเภอ โดยสรุปประเด็นดำเนินการของ พชอ. ของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563 เป็นรายอำเภอ ได้ดังนี้ (1) พชอ.เมืองมหาสารคาม ดำเนินการ 4 ประเด็น (2) พชอ.แกดำ ดำเนินการ 4 ประเด็น (3) พชอ.โกสุมพิสัย ดำเนินการ 4 ประเด็น (4) พชอ.กันทรวิชัยดำเนินการ 5 ประเด็น (5) พชอ.เชียงยืน ดำเนินการ 5 ประเด็น (6) พชอ.บรบือ ดำเนินการ 6 ประเด็น (7) พชอ.นาเชือก ดำเนินการ 3 ประเด็น (8) พชอ.นาดูน ดำเนินการ 2 ประเด็น
(9)พชอ.วาปีปทุม ดำเนินการ 6 ประเด็น (10) พชอ.พยัคฆภูมิพิสัย ดำเนินการ 4 ประเด็น (11) พชอ.ยางสีสุราช ดำเนินการ 2 ประเด็น (12) พชอ.กุดรัง ดำเนินการ 2 ประเด็น และ
(13) พชอ.ชื่นชม ดำเนินการ 4 ประเด็น

           โดยจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดให้แต่ละอำเภอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามประเด็นที่คัดเลือกเพิ่มเติมของคณะกรรมการ พชอ. โดยบันทึกในโปรแกรม Cockpit พชอ. ที่เว็บไซต์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และรายงานการดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) โดยบันทึกในโปรแกรม (Cockpit Smart Kids Taksila 4.0 ) ที่เว็บไซต์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ทุกเดือน

            ทุกอำเภอมีการประชุมคัดเลือกประเด็นเพื่อนำมาพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ตามบริบทของพื้นที่อย่างน้อย 2 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่ทุกอำเภอดำเนินการขับเคลื่อน คือ การดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) และคัดเลือกประเด็นเพิ่มเติมเพื่อนำพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ตามบริบทของพื้นที่  เพื่อมุ่งหวังให้พี่น้องประชาชนจังหวัดมหาสารคามมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกๆ ด้าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของจังหวัดมหาสารคาม

             ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม (นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ) ได้เห็นชอบแผนการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ภาพรวมของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการในกิจกรรมสำคัญดังนี้ (1) กำหนดให้มีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ทั้งหมด 13 อำเภอ ในการประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม ประจำเดือนกันยายน 2563 (2) กำหนดให้ประธาน พชอ.นำเสนอผลการดำเนินงานของ พชอ. ในวาระสืบเนื่องและติดตามของการประชุมคณะกรมการจังหวัดเดือนละ 1 อำเภอ (3) กำหนดให้มีการเยี่ยมเสริมพลัง พชอ. โดยผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัดเป็นหัวหน้าทีม จำนวน 5 ทีม ในระหว่างวันที่ 16-25 พฤศจิกายน 2563 และ (4) กำหนดให้มีเวทีเชิดชูเกียรติ พชอ. ในวันที่
26 พฤศจิกายน 2563 เพื่อให้การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 ของจังหวัดมหาสารคามมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด บรรลุตามเป้าหมายและกิจกรรมที่กำหนด ซึ่งจะเกิดผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนจังหวัดมหาสารคาม โดยได้ดำเนินการจัดมหกรรม คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดมหาสารคาม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการดำเนินงาน/Best Practice และสร้างขวัญกำลังใจให้กับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ทั้ง 13 อำเภอ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม และการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติการดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) และการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณเพื่อเชิดชูเกียรติ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของจังหวัดมหาสารคาม

Published

2021-04-28

Issue

Section

Preliminary Report (รายงานเบื้องต้น)