This is an outdated version published on 2022-05-01. Read the most recent version.

Herbal medicines for liver health

Authors

  • Natrada Burusliam

Abstract

ยกนัง (ยะ – กะ - นัง) เป็นภาษาบาลี แปลว่า ตับ หมายถึง ระบบการทำงานของตับ รวมถึงตับอ่อน ถุงน้ำดี น้ำดีและท่อน้ำดี ตั้งอยู่บนปถวีธาตุ (ธาตุดิน) มีเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นลักษณะของพลังงานความร้อน เป็นธาตุประจำ  มีระบบแห่งความร้อนที่เกิดขึ้น เรียกว่า ปิตตะ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบความร้อนภายในร่างกาย เรียกว่า พัทธะปิตตะ ซึ่งยกนังมีการทำงานโดยการรุ ล้าง สร้าง เสริมและเก็บ คือการสร้างน้ำตาลและไขมัน ซึ่งเป็นพลังงานในการสร้างโลหิตตัง เพื่อหล่อเลี้ยงธาตุดิน ทั้งอวัยวะภายในและภายนอกให้ดำรงอยู่เป็นปกติ โดยในการสร้างน้ำตาลนั้น ไขมันจะไปเสริมส่วนที่ขาด จะเก็บเมื่อเกิน และหากมากไปจะขับออก (รุ) แต่ถ้าร่างกายได้รับน้ำตาลและไขมันมากเกินไป ยกนังก็จะล้างออกไป โดยทั้งตับและไตจะทำหน้าที่ขับของเสียออกไป เมื่อใดก็ตาม ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง ใน 3 ธาตุ คือ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) หรือเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เกิดกำเริบ หย่อน พิการ ก็จะส่งผลกระทบต่อธาตุที่เหลือและสุดท้ายจะแสดงผลออกมาที่ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้น และนอกจากนี้ ยังมีระบบความร้อนที่เข้ามาจากภายนอกร่างกาย เรียกว่า อพัทธะปิตตะ เช่น อาหาร สารคัดหลั่ง อากาศ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิ่งที่มากระทบต่ออายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นต้น 

References

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป2 : 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป่องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก; 2553.

คมสัน ทินกร ณ อยุธยา.หลักการพื้นฐานของการแพทย์แผนไทย. มปป.

บุษบา ประภาสพงศ์, อุทัย ไชยกลาง, ศิริมาลา สุวรรณโภคิน, บรรณาธิการ. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว; 2551.

กองประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ไทภูมิ; 2549.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, กัญจนา ดีวิเศษ, ภัทราพร ตั้งสุขฤทัย, พรทิพย์ เติมวิเศษ, เดชา ไชยรักษ์, วนิดา ศักดิ์สกุลพรเลิศ. กษัยตามแนวทฤษฎีการแพทย์แผนไทย. วารสารการแพทย์แผนไทย 2546;7:33-43.

กนกพร อะทะวงษา. สมุนไพรกับโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/447/สมุนไพรกับไขมันพอกตับ

เจมส์ พึ่งผล, พลอยทราย โอฮาม่า, ธวัชชัย กมลธรรม, สรรใจ แสงวิเชียร. การศึกษาพฤกษเคมีเบื้องต้นและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของสมุนไพรในเบญจผลธาตุ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2562;17(1):85-94.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กำแพงเจ็ดชั้น [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=4

จันทร์เพ็ญ ธรรมพร, เกศริน มณีนูน, นิสิตา บำรุงวงศ์, มาลินี วงศ์นาวา. การใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคตับของหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 2559; 44(1):124-41.

ทรงพล ชีวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์, ปราณี ชวลิตธำรง, สมเกียรติ ปัญญามัง, ทรงพล ผดุงพัฒน์, รุ่งทิพย์ เจือตี๋. การศึกษาความเป็นพิษของยาแก้กษัยลิ้นกระบือ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2557;3(1):40-56.

กุลสิริ ยศเสถียร, วิวรรณ วรกุลพาณิชย์, มณฑกา ธีรชัยสกุล, ปราโมทย์ เสถียรรัตน์. ตำรับยาเบญจอำมฤตย์ในผู้ป่วยมะเร็งตับ : ความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2560;15(3):301-11.

Downloads

Published

2022-05-01

Versions