This is an outdated version published on 2023-06-01. Read the most recent version.

The Thai Wisdom, Thai Herbs, Thai Health. : Thai massage therapy

Authors

  • Natrada Burusliam Chonburi hospital

Abstract

เมื่อเรากล่าวถึงภูมิปัญญาไทย เราก็จะนึกถึงความรู้ที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมาและนำมาใช้ในท้องถิ่นหรือชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านของปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ ประกอบด้วย ความสามารถในการแสวงหาอาหาร การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย การคิดค้นหัตถกรรมสิ่งทอเพื่อการนุ่งห่มและความรู้ในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ภูมิปัญญาเหล่านี้เกิดจากการคิดค้น สร้างสรรค์เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อการดำรงชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้อย่างสุขสงบมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าด้านการรักษาโรคก็เป็นภูมิปัญญาอันหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากการดูแลรักษาและแก้ปัญหาสุขภาพของคนในท้องถิ่นจากการใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยา หรือการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ของหมอพื้นบ้านที่รักษาได้เฉพาะโรคหรือรักษาได้เฉพาะที่ตนสืบทอดมา เช่น หมอยาสมุนไพร หมอน้ำมันรักษากระดูก หมอตำแย หมอนวดพื้นบ้าน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ในการรักษา มิได้ศึกษาทฤษฎีการแพทย์ใด ๆ อย่างเป็นระบบ

การแพทย์แผนไทยเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับธาตุ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ประกอบด้วย 4 สาขา ได้แก่

  1. เวชกรรมไทย คือ การตรวจวินิจฉัยโรคทางการแพทย์แผนไทย พิจารณาสาเหตุการเกิดโรคจากธาตุกำเนิดหรือธาตุเจ้าเรือน ธาตุที่ทำให้เกิดโรค (ธาตุสมุฏฐาน) ฤดูที่เกิดโรค (อุตุสมุฏฐาน) ช่วงอายุ (อายุสมุฏฐาน) ช่วงเวลาที่เกิดโรค (กาลสมุฏฐาน)และลักษณะที่อยู่อาศัย (ประเทศสมุฏฐาน) ตลอดจนพฤติกรรมที่ก่อโรคร่วมกับการตรวจประเมินร่างกาย เพื่อให้การบำบัดรักษาตามองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยด้วยยาสมุนไพรหรือการทำหัตถการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย
  2. เภสัชกรรมไทย คือ การปรุงยาสมุนไพร โดยจะต้องใช้ยาสมุนไพรให้ถูกต้น ถูกส่วน ถูกขนาด ถูกวิธีและถูกโรคเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย เนื่องจากยาสมุนไพรมีทั้งยาเดี่ยว ยาตำรับ ยาปรุงเฉพาะรายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาโรค
  3. ผดุงครรภ์ไทย คือ การบำบัด ส่งเสริมสุขภาพ ให้คำแนะนำหญิงมีครรภ์และฟื้นฟูสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย
  4. หัตถเวชกรรมไทย คือการนวด เป็นวิธีการบำบัดรักษาอาการปวดเมื่อย ฟื้นฟูสภาพร่างกายและผ่อนคลายความเครียด ซึ่งการนวดแผนไทยหรือหัตถเวชกรรมไทยเป็นศาสตร์และศิลป์อีกสาขาหนึ่งที่มุ่งรักษาความผิดปกติของธาตุทั้งสี่ในร่างกายที่เกิดจากการติดขัดของเลือดและลมในเส้น ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การกด การคลึง การบีบ การทุบ การสับ หรือกรรมวิธีอื่น ๆ ตามที่ได้รับการสืบทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา

Author Biography

Natrada Burusliam, Chonburi hospital

Thai Traditional Medicine

References

อภิชาติ ลิมติยะโยธิน, ลุจนา ลิมติยะโยธิน, กานต์ สุขไมตรี, กุสุมาลย์ เปรมกมล, พรนภา วิเศษสุทธิมนต์,ทศพิธ วรธรรมพิทักษ์, ศุภลักษณ์ ฝ่นเรือง. คู่มืออบรมการนวดไทยแบบราชสำนัก ภาคเทคนิคการนวดรักษาอาการโรคที่พบบ่อย. นนทบุรี: มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา; 2556.

อภิชาติ ลิมติยะโยธิน. คำบรรยายเรื่องการนวดไทยบำบัด (นวดราชสำนัก). การอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรนวดไทย 800 ชั่วโมง รุ่นที่ 3. สถาบันการแพทย์แผนไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2547.

ปณิตตา ภมรบุตร. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อผังผืดมัยโอฟาสเชียล (Myofascial Pain Syndrome) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=en&id=21

กิติยา โกวิทยานนท์, ปนตา เตชทรัพย์อมร. เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก Myofascial Pain Syndrome ด้วยการนวดไทยกับอัลตร้าซาวด์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก [อินเทอร์เน็ต].2553 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566];8(2-3):179-90. เข้าถึงได้จาก: http://db.hitap.net/articles/1555

สุภารัตน์ สุขโท, ปริยาภัทร สิงห์ทอง, ภควัต ไชยชิต, วาสนา หลงชิน. ผลระยะสั้นของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการของโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หลัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566];6(1):1-20. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/download/240446/165022/839665

พีรดา จันทร์วิบูลย์, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับบริการในศูนย์วิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/296/1/019-53.pdf

จิรภรณ์ แนวบุตร, บุรณี กาญจนถวัลย์. ผลการนวดไทยต่อระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้าและอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดที่มารับบริการนวดแผนไทย ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2559;60(3):313-27.

รุ่งวิทย์ เหราบัตย์, กรรธิราพร ฝ่ายราช. ประสิทธิภาพของการนวดแผนไทยในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม [นิพนธ์ต้นฉบับ]. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2560;42(3):275-82.

ณัฐรดา บุรุษเลี่ยม, จารุวรรณ ฉิมมานิตย์. ประสิทธิผลของการนวดผสมผสานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2561;43(1):27-36.

แตวูยูโซะ กูจิ. ผลของการนวดแบบประยุกต์ที่มีความอดทนและแรงระเบิดของกล้ามเนื้อและระดับความผ่อนคลายทางจิตใจของนักกีฬา [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง

สาธารณสุข. คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน

กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชชูปถัมภ์; 2547.

รัตติยา จินเดหวา. การนวด โครงการจัดตั้งคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [อินเทอร์เน็ต]. 2539 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h168605.pdf

ภูริทัต กนกกังสดาล. การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาตำรับสหัศธาราในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิเทียบกับยาไดโคลฟิแนค (งานวิจัยคลินิกระยะที่2) [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

ปรีชา หนูทิม. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาสหัศธารากับยาเม็ดไดโคลฟิแนค ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อ [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

Jaiaree N, Itharat A. Anti-inflammatory effect of a Thai traditional drug for muscle pain treatment via nitric oxide and COX-II inhibitor. Planta Med. 2012;78 - PF23. doi: 10.1055/s-0032-1320570

Kakatum N. Anti-inflammatory activity of Thai traditional remedy extract for muscle pain treatment called Sahasthara and its plant ingredients [dissertation]. Bangkok: Thammasat University; 2011.

Thamsermsang O, Akarasereenont P, Laohapand T, Panich U. IL-1β-induced modulation of gene expression profile in human dermal fibroblasts: the effects of Thai herbal Sahatsatara formula, piperine and gallic acid possessing antioxidant properties. BMC Complement Altern Med. 2017;17:32.

Booranasubkajorn S, Huabprasert S, Wattanarangsan J, Chotitham P, Jutasompakorn P, Laohapand T, et al. Vasculoprotective and vasodilatation effects of herbal formula (Sahatsatara) and piperine in spontaneously hypertensive rats. Phytomedicine. 2017;24:148-56.

บังอร ศรีพานิชกุลชัย, นิรามัย ฝางกระโทก, พร้อมจิต ศรลัมภ์, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย. วารสารวิจัย มข. 2550;12(4): 492-8.

จุไรรัตน์ คงล้อมญาติ, รัตติกาล คุณพระ. ประสิทธิผลของการใช้ยาเถาวัลย์เปรียงในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2562;9(3):304-12.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา: กรุงเทพมหานคร; 2546.

Chavalittumrong P, Chivapa S, Chuthaputti A, Rattanajarasroj S, Punyamong S. Chronic toxicity study of crude extract of Derris scandens Benth. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 1999;21(4):425-33.

PubHTML5. ท่าบริหารฤาษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pubhtml5.com/yapi/vowi/ฤาษีดัดตน/31

กระทรวงการต่างประเทศ. “นวดไทย” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mfa.go.th/th/content/113200-“นวดไทย”-ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก?page=5d5bd3c915e39c306002a90d&menu=5d5bd3c915e39c306002a90e

Downloads

Published

2023-04-30 — Updated on 2023-06-01

Versions