Suicide in Thai Society

Authors

  • Sittichai Tantipasawasin Chonburi hospital

Keywords:

Suicide, Thailand

Abstract

สองสามเดือนที่ผ่านมามีข่าวเรื่องคนไทยฆ่าตัวตายให้เห็นกันบ่อยขึ้นและกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่กำลังถูกพูดถึงกันในโลกโซเชียลมีเดีย จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตประเทศไทยมีการฆ่า ตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 4,000คน เฉลี่ย 5.77 คนต่อประชากรแสนคน ถ้าคิดเฉลี่ยต่อวันพบ ว่าในแต่ละวันมีคนฆ่าตัวตายถึง 12 คนหรือเฉลี่ย 1 คนต่อทุกๆ 2ชั่วโมง ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ช่วงอายุ 30-39 ปีมากที่สุด เพศชายมากกว่าเพศหญิง 4 เท่า ต่างรายก็ต่างปัญหา เมื่อเกิดปัญหาก็เกิด ความเครียด เมื่อหาหนทางออกหาการแก้ปัญหาไม่ได้ก็รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เกิดภาวะซึมเศร้า ในที่สุดหลายคนตัดสินใจหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย และนับวันก็ยิ่งเกิดในคนที่อายุน้อยลง โดยเฉพาะหลายรายเป็นนักเรียน-นักศึกษา ด้วยวิธีการที่ต่างๆกัน บ้างเรียนแบบกัน

ด้วยสภาพวิถีชีวิตของสังคมไทยขณะนี้เป็นสังคมโดดเดี่ยวมากขึ้น สังคมไทยเข้าสู่วิถีชีวิต ที่เร่งรีบ “ควิก-ควิก” ซึ่งมีผลทำให้เกิดรูปแบบความคิดที่เร่งเรีบขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ขาดการไตร่ตรอง จนทำให้ขาดการยั้งคิด การฆ่าตัวตายสะท้อนถึงเรื่องราว ปัญหา ความจริงในสังคมที่รอการแก้ไข

เราทุกคนสามารถดูแลตนเองให้ห่างจากความคิดฆ่าตัวตายได้หากเรารู้เท่าทันความรู้สึก ของตัวเอง และเราทุกคนก็สามารถช่วยเหลือป้องกันการฆ่าตัวตายของคนใกล้ชิดของเราได้ เพียงแค่ เราช่วยกันอัดฉีดวัคซีน 3 ส.ป้องกันคือ ใส่ใจดูแลและห่วงใยกัน- สัมพันธ์ดี -สื่อสารดี

ส.ที่ 1 Care คือใส่ใจและรับฟัง มีเวลาให้คนในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกัน ดูแลช่วยเหลือ  

           กันเมื่อมีปัญหา และสังเกตสัญญานเตือนของการฆ่าตัวตาย

ส.ที่ 2 Connect คือการมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่ห่างเหินและใกล้ชิดจนเกินไป ให้ทุกคนเป็น 

           ตัวของตัวเอง

ส.ที่ 3 Communication คือการสื่อสารที่ดีต่อกัน ใช้ภาษาพูดและภาษากายที่เป็นมิตร ทุกคน

          สามารถบอกความรู้สึก ความต้องการของตัวเองได้

Author Biography

Sittichai Tantipasawasin, Chonburi hospital

Chairman of Oral and Maxillofacial Surgery Department

Downloads

Published

2019-05-08