Thailand, The world’s No. 1 in Recovery and Control Panamic of COVID-19

Authors

  • Sittichai Tantipasawasin Chonburi hospital

Abstract

ประเทศไทยแสดงให้ทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของการควบคุมโรคระบาด และระบบสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพ จนได้รับคำชื่นชมจากนานาประเทศ ตลอดจนองค์การอนามัยโรค (WHO)

องค์การอนามัยโลก กล่าวชม ประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุขไทย ว่ามีมาตรการรับมือ และ ควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19  ได้อย่างดีเยียม มีมาตรฐานการควบคุมโรคเป็นไปตามมาตรฐานของ องค์การอนามัยโลก สามารถวินิจฉัยผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนได้เป็นประเทศแรกของโลก สามารถติด ตามผู้ติดเชื้อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อได้อย่างทันท่วงที ชื่นชมมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ยกเลิกหรือเลื่อนกิจกรรมที่ผู้คนมารวมตัวกันมากๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมได้ดี ชื่นชมไทยว่ามีระบบการดูแลสุขภาพถึงระดับ ครอบครัว ที่ต้องกล่าวถึงก็คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) กว่า 1,040,000 คน ที่ทำให้สามารถดูแลคนไทยได้อย่างใกล้ชิด ชื่นชมต่อความร่วมมีอร่วมใจ ความมีระเบียบวินัย ความเข้มแข็งและ ความอดทนของปวงชนชาวไทย ประชาชนส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากป้องกันตัวเอง ใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมืออย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง สมควรนำมาเป็นแบบอย่าง

เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างย่ิงของชาวไทยทั้งประเทศกับข่าวดีที่ประเทศไทยได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ของโลกในการฟื้นตัว-รับมือของแต่ละประเทศ จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19  (COVID-19) จาก 184 ประเทศทั่วโลก จากดัชนี Global COVID-19 Index (GCI) ประเมินจากภาพ รวมด้านการฟื้นตัว (Global Recovery Index) และ ด้านความรุนแรงของการระบาด (Global Severity Index) ประเทศไทยได้คะแนนรวม 82.27 (ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2563)

ด้านการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์ของโรค COVID-19 โดย “The Global Recovery Index” 100 คะแนน่  ซึ่งคะแนน 70% มาจากตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ 1. จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังดูแลอยู่ (active case) ต่อประชากร 2. ผู้ที่รักษาหายแล้วต่อผู้ติดเชื้อ 3. จำนวนการตรวจต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ 4. จำนวนการตรวจต่อประชากร     คะแนนอีก 30% ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (The Global Health Security Index: GHS) เพื่อวัดความพร้อมของประเทศในการรับมือกับโรคระบาด ซึ่งมาจากตัวชี้วัด 3 ด้าน ประกอบด้วย1. ความสามารถในการตรวจพบและรายงานการติดเชื้อ 2. ความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็วในการควบคุมโรค 3. ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ทางสาธารณสุขในการรักษาผู้ติดเชื้อและดูแลบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ด้านความรุนแรงของสถานการณ์ชองโรค โควิด-19 โดย“Global Severity Index” ดัชนีนี้ คะแนน 70% เป็นค่าความรุนแรง ซึ่งวิเคราะห์มาจาก 2 ส่วนคือ 1. จำนวนผู้ติดเชื้อต่อประชากร 2. สัดส่วนผู้ เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตจากโรคต่างๆและต่อประชากร ส่วนคะแนน อีก 30% เป็นคะแนนคงที่ ที่ได้มาจากดัชนีความปลอดภัย ทางสุขภาพทั่วโรค (The Global Health Security Index: GHS) ซึ่งประเมินโดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อวัดความพร้อมของแต่ละประเทศในการรับมือกับโรคระบาด แบ่งเป็น 2 หมวดคือ 1. ความ สามารถในการป้องกันโรคระบาด 2. ความสามารถของระบบ

ประเทศไทยได้รับการประเมินให้ได้คะแนนดีที่สุดทั้งสองมิติ จัดอยู่ในกลุ่มเรตติ้ง 5 คิอประเทศที่ บรรเทาการระบาดของไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุดในโลก ที่ประเมินโดย มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้านการควบคุมการระบาด ประเทศไทยได้คะแนนรวม 10.70 จัดอยู่ในกลุ่มเรตติ้ง 1 หมายถึง ประเทศที่รับมือกับวิกฤตได้ดี มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อต่ำ และมีผู้เสียชีวิตน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน ประชากร ส่งผลต่อการเสริมสร้างความมั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยสร้างความ มั่นใจของนักลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เว็บไซด์ชื่อดังของสหรัฐชื่อ “U.S. News & World Report” รายงานการจัดอันดับประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลก ประจำปี 2563 (Best Countries to Start a Business 2020) ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นอันดับ   ที่ 1 ของโลก ที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจจากทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลก

บรรณาธิการ                             

ทพ.สิทธิชัย ตันติภาสวศิน

 

Author Biography

Sittichai Tantipasawasin, Chonburi hospital

chairman of oral and maxillofacial surgery department

Downloads

Published

2020-09-02