Ventilator - Associated Pneumonia in Premature Infants in a Neonatal Intensive Care Unit at Chaoprayayommaraj Hospital : The Rates, Risk Factors and Outcomes - โรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในทารกเกิดก่อนกำหนด ณ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อัตราการเกิด ปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์

Authors

  • Thunyagorn Nuntiyagul

Abstract

               This retrospective descriptive and analytic study was to determine the rates, risk factors and outcomes of ventilator-associated pneumonia (VAP) in premature infants with a gestational age ฃ 36 weeks and with a birth weight ฃ 2,000 grams, admitted to the neonatal intensive care unit (NICU) for ณ 48 hrs.  from October 2004 - September 2007.  The infants were also required to have received at least 48 hrs.  of mechanical ventilation and developed new and persistent radiographic evidence of focal infiltrates 48 hrs.  or more after the initiation of mechanical ventilation.  The primary outcome was the development of VAP.  The secondary outcome were death and NICU length of stay.  Multivariate logistic regression analysis was performed to determine independent predictors for VAP and mortality.  A total of 105 premature infants were enrolled.  VAP occurred in 31 (29.5%) of 105 premature infants mechanically ventilated patients.  VAP rates were 8.6, 9 and 3 per 1000 ventilator days for infants ฃ 1,000 grams, 1,001-1,500 grams, and 1,501 to 2,000 grams, respectively.  By multivariate logistic regression analysis, the number of re-intubation before VAP was the only independent risk factor for VAP.  The infants who need 1-2 subsequent reintubation (OR 15.3, 95%CI  5.0, 46.4) and > 2 subsequent reintubation (OR 71.2, 95%CI 7.5, 679.9) have increased risk more than infants who had no subsequent reintubation.  The infants with VAP also had prolonged NICU length of stay (median:44 vs 14 days).  VAP occurred in 7 of 8 nonsurvived infants (87.5%).  By multivariate logistic regression analysis, VAP (OR 22.4, 95%CI 2.3, 216.7) and bloodstream infection (OR 7.0, 95%CI 1.2, 43.3) were independent risk factors of mortality.

            The incidence of VAP increased in preterms with very low birth weight and low gestational age and was associated with increased mortality.  Infants with VAP had significantly prolonged NICU length of stay and increased medical costs.  So education and preventive strategy of VAP and effective systematic surveillance programs are necessary to prevent nosocomial infection and may reduce the VAP rates and risk factors of VAP and mortality in premature infants.

Key words: VAP-ventilator-associated pneumonia, NICU-neonatal intensive care unit, prematurity, very low birth weight

              การศึกษาย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อัตราการเกิด, ปัจจัยเสี่ยง และผลลัพธ์ของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 36 สัปดาห์ และน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 กรัม และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ณ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ระหว่างเดือนตุลาคม 2547 ถึง เดือนกันยายน 2550 ผลลัพธ์ปฐมภูมิคือการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลลัพธ์ทุติยภูมิคือ การเสียชีวิตและระยะเวลาในการนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดนานขึ้น ใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุ (multivariate logistic regression analysis) เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และการเสียชีวิต จากผลการศึกษาทารกเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อย จำนวน 105 ราย พบทารก 31 ราย (ร้อยละ 29.5) เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจคิดเป็น 8.6, 9 และ 3 ต่อ 1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 กรัม, 1,001-1,500 กรัม และ 1,501-2,000 กรัมตามลำดับ จากการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุ พบปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดปอดอักเสบ คือ จำนวนครั้งของการใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ก่อนเกิดปอดอักเสบโดยพบการใส่ 1-2 ครั้ง และใส่มากกว่า 2 ครั้งมีความเสี่ยง ต่อการเกิดปอดอักเสบมากกว่าทารกที่ไม่ได้ใส่ท่อใหม่ เท่ากับ 15.3 และ 71.2 เท่าตามลำดับ ทารกที่เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จะมีระยะเวลาอยู่ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด [44 วัน (พิสัย 16-274 วัน)] นานกว่าทารกที่ไม่มีปอดอักเสบ [14 วัน (พิสัย 3-83 วัน)] และทารกที่เสียชีวิต 7 ราย จาก 8 ราย (ร้อยละ 87.5) เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จากการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุ พบปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากที่สุดต่อการเสียชีวิตได้แก่ การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 22.4 และ 7 เท่า ตามลำดับ โรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจจะพบมากขึ้นในทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดและอายุครรภ์ที่น้อยลง และทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น นอกจากนี้ยังต้องนอนในโรงพยาบาลนานขึ้น ใช้ยาต้านจุลชีพที่มีราคาแพง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น ดังนั้นการให้ความรู้ และมาตรการป้องกันโรคปอดอักเ บจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดอัตราการเกิดปอดอักเ บจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและการเสียชีวิตของทารกเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อยลงได้

คำสำคัญ:   โรคปอดอักเบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด,ทารกเกิดก่อนกำหนด, น้ำหนักแรกเกิดน้อย

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2018-11-08

How to Cite

Nuntiyagul, T. (2018). Ventilator - Associated Pneumonia in Premature Infants in a Neonatal Intensive Care Unit at Chaoprayayommaraj Hospital : The Rates, Risk Factors and Outcomes - โรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในทารกเกิดก่อนกำหนด ณ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อัตราการเกิด ปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์. Journal of Health Science of Thailand, 17(Sup.3), SIII723–735. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5114

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)