Health Education on Condom Use in Male Attendants of Samutprakan STD Clinic-ผลการให้สุขศึกษาการสวมใส่ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีในกลุ่มชายที่มาตรวจรักษาที่หน่วยกามโรคและโรคเอดส์จังหวัดสมุทรปราการ
Abstract
The objective of this research was to study the relationship between the correct condom use and these following factors: age, marital status, education level, occupation and income; and to compare the method of condom used before and after health education among male STD patients attending Samutprakan provincial STD clinic during January 1993 to April 1993. The results showed that the factors correlated with correct condom use were age, marital status, education level and income. Before health education, 10.0% of condom use were correct. The steps of condom use always missing were squeeze the tip of condom before use and to pull the condom off after use. After health education, 61.4% of condom use were correct, which was significantly improved.
วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ด้านลักษณะประชากรและเศรษฐกิจ กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง และเปรียบเทียบอัตราการสวมใส่ถุงยางอนามัยก่อนให้สุขศึกษาและหลังให้สุขศึกษาของชายที่มาตรวจรักษาจำนวน 280 คน ที่เข้าตรวจรักษาที่หน่วยกามโรคและโรคเอดส์จังหวัดสมุทรปราการระหว่างเดือนมกราคม 2536 ถึงเดือนเมษายน 2536
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยถูกวิธีได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ส่วนอาชีพไม่มีความสัมพันธ์
ก่อนให้สุขศึกษาชายที่มาตรวจรักษาสามารถสาธิตขั้นตอนการใช้ถุงยางอนามัยได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 10.0 ขั้นตอนที่มักผิดพลาดบ่อยๆคือ ไม่ไล่อากาศก่อนใช้และการถอดถุงยางอนามัย หลังการให้สุขศึกษาชายที่มาตรวจรักษาสามารถสาธิตได้ถูกต้อง ร้อยละ 61.4 ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีก่อนและหลังการให้สุขศึกษาพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05