Laboratory Examination for Narcotic Drugs and Psychotropic Substances Used among Drug Users in Thailand - ชนิดของสารเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ และประสาทที่ใช้ในกลุ่มผู้เสพ ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๗
Abstract
Abstract
The government policy on drug suppression increases demands on drug analysis in urine samples. The main agencies which carry out such analysis are 12 Regional Medical Sciences Centers and Bureau of Drug and Narcotic, Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health, Thailand. In 2004 at laboratories of those agencies 17,714 samples collected from drug users were examined for drugs and psychotropic substances. Most of the samples, 57.98 percent, were sent from the Royal Thai Police, the rest were sent from the Office of Probation (19.50%), hospitals or health clinics (13.07%), private enterprises (4.26%), and education facilities (1.71%). Geographically, most samples (52.34%) were sent from the Central region of Thailand. The rest were sent from the North (19.65%), the Northeast (15.62%) and the South (12.39%). The identification by gender showed, 81.27 percent of the samples were collected from men and 14.80 percent were from women. Laboratory investigation revealed that there were 9,119 specimens (51.48%) tainted with drugs and 4.64 percent of these containing more than one type of drugs. The types of the drugs identified were methamphetamine (76.74%), cannabis (13.84%), ecstasy (3.28%), benzodiazepines (2.97%), opiates (1.64%), pseudoephedrine (1.45%), ephedrine (0.05%), ketamine (0.03%). Cocaine was not found.
Key words: drug in urine, laboratory analysis, amphetamines, ecstasy, benzodiazepines
บทคัดย่อ
นโยบายปราบปรามยาเสพติดของชาติทำให้มีความต้องการในการตรวจพิสูจน์ยืนยันสารเสพติดในตัวอย่างปัสสาวะ โดยมีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน ๑๒ แห่ง และสำนักยาและวัตถุเสพติด ในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ มีตัวอย่างปัสสาวะที่ส่งมาเพื่อตรวจพิสูจน์หาชนิดของสารเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จำนวนทั้งสิ้น ๑๗,๗๑๔ ตัวอย่าง โดยส่งมาจากหน่วยงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ ๕๗.๙๘ สำนักงานคุมประพฤติ (๑๙.๕๐%) สถานพยาบาล (๑๓.๐๗%) สถานประกอบการ (๔.๒๖%) สถานศึกษา (๑.๗๑%) และอื่นๆ (๓.๔๘%) ภาคกลางส่งตัวอย่างมากที่สุด ๙,๒๗๑ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๔ รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ ๑๙.๖๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ ๑๕.๖๒ และภาคใต้ ร้อยละ ๑๒.๓๙ เจ้าของตัวอย่างปัสสาวะเป็นเพศชาย ร้อยละ ๘๑.๒๗ เพศหญิง ร้อยละ ๑๔.๘๐ และไม่ระบุ ร้อยละ ๓.๙๓ พบสารเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาททั้งสิ้นจำนวน ๙,๑๑๙ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๔๘ โดยมีการใช้สารเสพติดมากกว่าหนึ่งชนิดร้อยละ ๔.๖๔ ชนิดของสารเสพติดที่พบเป็นเมทแอมเฟตามีน (methamphetamine) ร้อยละ ๗๖.๗๔ กัญชา (cannabis) ร้อยละ ๑๓.๘๔ กลุ่มยาอีหรือเอกซ์ตาซี (ecstasy) ร้อยละ ๓.๒๘ กลุ่มเบนโซไดอะซีปืนส์ (benzodiazepines) ร้อยละ ๒.๙๗ กลุ่มอนุพันธุของฝิ่น (opiates) ร้อยละ ๑.๖๔ ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine) ร้อยละ ๑.๔๕ อีเฟดรีน (ephedrine) ๐.๐๕ คีตามีน (ketamine) ร้อยละ ๐.๐๓ และตรวจไม่พบโคคาอื่น/โคเคน (cocaine) ในทุกตัวอย่าง
คำสำคัญ: สารเสพติดในปัสสาวะ, การตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ, กลุ่มแอมเฟตามีนส์, เอกซ์ตาซี, กลุ่มเบนโซไดอะซีในส์