Infectiou Diseases in Pyrexia of Unknown Origin Patients in Community Hospitals in Public Health Region 1, 2004 - โรคติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๗

Authors

  • Sarayuth Uhttamangkapong
  • Veena Bhakdisirivichai
  • Nipat Poonsawat

Abstract

Abstract

          The purpose of this cross-sectional descriptive research was to study the etiology of acute illness based on laboratory investigations and epidemiology characteristics in community hotpitals in two provinces in Public Health Region 1 selected by simple random sampling, during January-December 2003. Target patients were those over 10 years old, running temperature at over 38.3ºC without definite diagnosis emerging from histories and physical examinations. Paired serum of each patient were collected at a 12-14 day interval for laboratory examinations. Their medical records were assessed and compilation of data was made by descriptive statistical analysis and comparion was made with epidemiological reports in respective areas.

            Among 126 subjects in the study, 73.8 percent were in-patients, 54.0 percent females, 38.9 percent aged 25-45 years and 57.9 percent employees. It took 70.6 percent of them less than 5 days from the onsets of illness to see physicians. The subjects reported the symptoms of chill (41.3%), cough (40.5%) and myalgia (37.3%). Laboratory examinations were complete blood count (73.6%), urine analysis (58.6 %) and Widal test (25.4%). Their diagnoses included pyrexia of unknown origin (46.0%), enteric fever (11.1%) and dengue infection (6.4%). However the laboratory investigations of their paired serums revealed dengue viral infection (25.4%), influenza (6.3%), leptospirosis (4.0%), melioidosis (4.0%) and scrub typhus (2.4%). No case of typhoid and malaria were reported. Such similarities were also observed when data from epidemiological reports in respective areas were compared. There should be efforts to develop guideline to identify the causes of acute febrile illnesses, supporting standard laboratory examinations and effective surveillance system to properly prevent and control infectious diseases.

Key words: infectious disease, acute febrile illness

บทคัดย่อ

          การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของกลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุอันเนื่องจากโรคติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการ และลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยไข้ไม่ทราบ สาเหตุที่มารักษาที่โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่สองจังหวัดของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ โดยการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่ายในผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุที่มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ ๓๘.๓ องศาเซลเซียส อายุ ๑๐ ปีขึ้นไป และแพทย์ซักประวัติและตรวจร่างกายแล้วไม่สามารถหาสาเหตุของไข้ได้ ระยะเวลาศึกษา ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ๒๕๔๖ เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลและตัวอย่างเลือด ๒ ครั้งห่างกัน ๒ สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

          พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ๑๒๖ ราย เป็นผู้ป่วยในร้อยละ ๗๓.๘ เพศหญิงร้อยละ ๕๔.๐ กลุ่มอายุ ๒๕-๔๕ ปี ร้อยละ ๓๘.๙ และอาชีพรับจ้างร้อยละ ๕๗.๙ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยจนมาพบแพทย์น้อยกว่า ๕ วัน ร้อยละ ๗๐.๖ มีอาการหนาวสั่นร้อยละ ๔๑.๓ ไอร้อยละ ๔๐.๕ และปวดกล้ามเนื้อร้อยละ ๓๗.๓ มีการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ Complete Blood Count ร้อยละ ๗๘.๖ Urine Analysis ร้อยละ ๕๘.๖ และ Widal test ร้อยละ ๒๕.๔ แพทย์ให้การวินิจฉัยเป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ ๔๖.๐ ไข้เอนเทอริคร้อยละ ๑๑.๑ และไข้เลือดออกร้อยละ ๖.๔ พบอัตราการติดเชื้อไข้เลือดออกร้อยละ ๒๕.๔ ไข้หวัดใหญ่ร้อยละ ๖.๓ เลปโตสไปโรสิสและเมลิออยโดสิสเท่ากัน ร้อยละ ๔.๐ สครับไทฟัส ร้อยละ ๒.๔ ไม่พบการติดเชื้อ ไข้ไทฟอยด์และไข้มาลาเรีย เปรียบเทียบการกระจายของกลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุและโรคไข้เลือดออก จำแนกรายเดือนในผลการศึกษากับรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รายงาน ๕๐๖) ปี ๒๕๔๖ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นควรมีการกำหนดแนวทางการค้นหาสาเหตุของไข้ไม่ทราบสาเหตุ สนับสนุน การตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ได้ตามมาตรฐานและพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคให้มีประสิทธิภาพ เพื่อวางแผนในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้ออย่างเหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ: โรคติดเชื้อ, ไข้ไม่ทราบสาเหตุ

 

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2019-05-25

How to Cite

Uhttamangkapong, S., Bhakdisirivichai, V., & Poonsawat, N. (2019). Infectiou Diseases in Pyrexia of Unknown Origin Patients in Community Hospitals in Public Health Region 1, 2004 - โรคติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๗. Journal of Health Science of Thailand, 15(1), 141–149. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6725

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)