Factors Associated with Pulmonary Tuberculosis among Diabetic Patients in Ban Fang Hospital, Khon Kaen Province

Authors

  • Paramee Trakulkajornsak Ban Fang Hospital
  • Pattapong Kessomboon Department of Community Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

ปารมี ตระกูลขจรศักดิ์1, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ 2*

1โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

2ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

* Corresponding author : pattapng@kku.ac.th

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อวัณโรคมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานและวัณโรคปอดทุกราย ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2555 ถึง วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้เป็นวัณโรคปอด ในช่วงเวลาเดียวกัน มีสัดส่วนเป็น 2 เท่าของกลุ่มศึกษา คัดเลือกมาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวมรวมข้อมูลจากเวชระเบียน   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสัดส่วน ค่าร้อยละ การทดสอบเพียร์สันไคสแควร์ ค่าอัตราส่วนออด และการวิเคราะห์การถดถอดแบบพหุตัวแปร

ผลการศึกษา: ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในการศึกษาทั้งหมด 210 ราย (กลุ่มศึกษา 68 ราย และกลุ่มควบคุม 142 ราย) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดวัณโรคปอดในผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร  ≥180 mg/dl (Adjusted OR= 5.63, 95% CI: 2.61-12.16) ค่าดัชนีมวลกาย <23 kg/m2 (Adjusted OR 4.86, 95% CI:2.18-10.84) การได้รับยาเบาหวานแบบฉีด (Adjusted OR 0.31, 95% CI: 0.13-0.74) และเพศชาย (Adjusted OR 2.28, 95% CI: 1.06-4.88)

สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังอดอาหาร ค่าดัชนีมวลกายปกติถึงต่ำ และเป็นเพศชาย มีความเสี่ยงในการเกิดวัณโรคปอดสูง ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับยาเบาหวานแบบฉีด มีความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคปอดต่ำ เมื่อเทียบกับอีกกลุ่ม    

คำสำคัญ : เบาหวาน วัณโรคปอด; ค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร

 

Background and Objective:  Poor control diabetic patients are at risk of various infections including tuberculosis (TB). This study aimed at studying factors associated with pulmonary tuberculosis infection in diabetic patients

Method: An unmatched case-control study was conducted among type 2 diabetes mellitus (T2DM) patients in Ban Fang hospital, Khon Kaem from October 1st, 2012 to April 30th, 2019. The study group included all T2DM patients who were diagnosed with pulmonary TB, where as the control group were T2DM patients without pulmonary TB diagnosis. Subjects in control group were randomly selected into a ratio 1:2 of case per control. Data collections were performed by reviewing medical records of the hospital database. Data were analyzed using descriptive and analytic approaches such as frequency, percentage, Pearson Chi-square test, Independent-Samples T-test, Odds ratio and multiple logistic regression.

Results: A total of 210 subjects were selected comprising 68 cases of study groupand 142 case of control group. The factors which were significantly related to pulmonary TB among diabetic patients included:  FBS ≥180 mg/dl (Adjusted OR = 5.63, 95% CI: 2.61-12.16); BMI<23 kg/m2 (Adjusted OR = 4.86, 95% CI: 2.18-10.84); receiving insulin injection (Adjusted OR = 0.31, 95% CI: 0.13-0.74) and male (Adjusted OR = 2.28, 95% CI: 1.06-4.88).

Conclusion: T2DM patients with high FBS, normal or low BMI and male gender were at high risk of pulmonary TB infection, while patients with history of taking insulin injection were at lower risk.

Key word: Diabetes Mellitus type 2; pulmonary tuberculosis; fasting blood sugar

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles