Effect of Learning Program on Nurse’ Knowledge and Skill Improvement in Caring for Patients with Cleft Lip-Cleft Palate, Khon Kaen, Thailand

Authors

  • Suteera Pradubwong Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Darawan Augsornwan Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Suntaree Numjaitaharn Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kesorn Lao-unka Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Pattama Surit Faculty of Nursing, Khon Kaen University
  • Bowornsilp Chowchuen Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อการพัฒนาความรู้และทักษะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ขอนแก่น ประเทศไทย

สุธีรา ประดับวงษ์1, ดาราวรรณ อักษรวรรณ1, สุนทรี น้ำใจทหาร1, เกสร เหล่าอรรคะ1, ปัทมา สุริต2,

บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น3

1งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ รวมทั้งความพึงพอใจ และผลลัพธ์ทางคลินิก

วิธีการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวในพยาบาลที่เข้าอบรมโปรแกรมการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ทั้งทฤษฎีและฝึกทักษะ 2 วัน เก็บข้อมูลจากแบบประเมินความรู้ก่อน-หลัง ความพึงพอใจ และผลลัพธ์ทางคลินิก

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงทั้ง 36 ราย ช่วงอายุ 40-49 ปี 20 ราย (ร้อยละ 55.56)  พบ มีค่าคะแนนความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (=77.86, df=16.64, CI=13.50-19.78, p<0.05) มีความพึงพอใจในโปรแกรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.5±0.63) ส่วนผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ผู้ป่วย 18 ราย อยู่ในช่วงอายุ 4-60 เดือน มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และเป็นเพศหญิง 11 รายเท่ากัน (ร้อยละ 61.11) ผลลัพธ์ทางคลินิกเป็นไปตามค่าเป้าหมาย 5 ข้อ

สรุป: โปรแกรมการเรียนรู้สามารถพัฒนาความรู้และทักษะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยได้จริง ค่าคะแนนความรู้ทั้งรายข้อและภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความพึงพอใจในการจัดโปรแกรม เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะได้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ทางคลินิกน่าพึงพอใจ ควรขยายโปรแกรมการเรียนรู้ออกไปยังสถานพยาบาลอื่นที่บริบทคล้ายคลึงกัน

 

คำสำคัญ: โปรแกรมการสอน; ความรู้; ความพึงพอใจ ผลลัพธ์ทางคลินิก; ปากแหว่งเพดานโหว่

 

Objective: To evaluate pre- and post-knowledge of nurses through the usage of learning program in caring for patients with Cleft Lip and/or Palate, including users’ satisfaction and clinical outcomes.

Methods: Experimental study was conducted in a separated group of nurses who participated in an education program on nurses' knowledge in caring for patients with cleft lip-cleft palate. Both theoretical and skill training had been provided for 2 days. Data collection was done using pre- and post-test, satisfaction evaluation, and clinical outcomes assessment.

Results: The survey on 36 female nurses with age range of 40-49 years old found a statistically significant increase in overall knowledge score (xˉ = 77.86, df = 16.64, CI = 13.50-19.78., p <0.05) had the highest level of satisfaction with the overall learning program (4.59±0.63). Clinical outcomes revealed that among 18 patients in total with age range of 4-60 months, 11 patients were female and had cleft lip and cleft palate (61.11 percent). Significantly, the clinical outcomes were compatible with 5 target values.

Conclusion: Learning Program on Nurses’ Knowledge and skill in Caring for Patients with Cleft Lip and/or Palate is usable. The nurses revealed higher score in issues and in overall with statistical significance. The nurses satisfied with the program and gained the opportunity to develop knowledge and skill which is useful in patient care. Clinical outcomes are at satisfied level, so this learning program should be distributed in broader scale.

Keywords: Learning programs; Knowledge; Satisfaction; Clinical outcomes; Cleft lip-palate

Downloads

Published

2021-01-22

Issue

Section

Original Articles