การพัฒนาระบบการปรับขนาดยาโคลิสตินในโรงพยาบาลพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ปัญจะ อินทรทัศน์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร
  • ไพโรจน์ โจวตระกูล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร

คำสำคัญ:

โคลิสติน, การปรับขนาดยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการปรับขนาดยาโคลิสตินในโรงพยาบาลพิจิตรตามแนวทางการปรับขนาดยารูปแบบใหม่ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ร้อยละของผลลัพธ์ทางคลินิก จำนวนวันใช้ยา และผลกระทบด้านมูลค่ายา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 (ขั้นเตรียมการ): กำหนดแนวทางในการเฝ้าระวังและกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวัง โดยผ่านการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (Pharmacy and Therapeutics Committees: PTC)
ระยะที่ 2 (ขั้นดำเนินการ): ชี้แจงแนวทางปฏิบัติให้แพทย์และสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทราบ โดยปรับเปลี่ยนจากแนวทางปรับขนาดยาจากเดิมพิจารณาเมื่อค่า serum creatinine (SCr) มากกว่า 1.5 เท่าของค่าเริ่มต้นของผู้ป่วย (baseline) มาเป็นการปรับขนาดยาเมื่อค่า creatinine clearance (CrCl) เริ่มลดลงต่ำกว่า 40 มล./นาที
ระยะที่ 3 (ขั้นเก็บข้อมูล): เก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการปรับเปลี่ยนตามแนวทางปฏิบัติทั้ง 2 รูปแบบ
ระยะที่ 4 (ขั้นสรุปผล): สรุปผลการศึกษาและเสนอผลการดำเนินงานต่อ PTC
ผลการศึกษา: การพัฒนารูปแบบการปรับขนาดยาโคลิสตินโดยพิจารณาจากค่า CrCl ของผู้ป่วยพบว่าแพทย์ปฏิบัติตามนโยบายเพิ่มขึ้นแม้ให้ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างจากการปรับขนาดการใช้ยาโดยพิจารณาจากค่า SCr ในรูปแบบเดิม อย่างไรก็ตาม หากเริ่มปรับลดขนาดยาเมื่อผู้ป่วยมีค่า CrCl ลดลงตั้งแต่ 40 มล./นาที จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการไม่ปรับขนาดยาอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในด้านผลทางคลินิกและปริมาณการใช้ยา ทั้งนี้จำนวนวันใช้ยาและมูลค่าการใช้ยาโคลิสตินลดลงหลังจากการนำระบบการปรับขนาดยาดังกล่าวมาใช้
สรุปผล: การพัฒนารูปแบบการปรับขนาดยาโคลิสตินโดยพิจารณาค่า CrCl ส่งผลให้มีการปรับลดการใช้ยาและใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมในผู้ป่วยโดยไม่มีผลกระทบต่อผลการรักษาทางคลินิก สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา ลดปริมาณการใช้ยาโดยไม่จำเป็นที่อาจมีผลต่อการดื้อยาในอนาคต และยังช่วยลดมูลค่าการใช้ยาในโรงพยาบาล อีกทั้งแพทย์มีแนวโน้มที่ปฏิบัติตามแนวทางที่พัฒนามากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยและโรงพยาบาลในระยะยาว

ประวัติผู้แต่ง

ปัญจะ อินทรทัศน์, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร

ภ.บ, ภ.ม.

ไพโรจน์ โจวตระกูล, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564].แหล่งข้อมูล: http:// dmsic.moph.go.th/index/detail/6849

National Antimicrobial Resistant Surveillance Center Thailand. Antibiogram 2020 (Jan-Jun) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://narst.dmsc.moph.go.th/antibiograms/2020/6/Jan-Jun2020-All.pdf

Javan AO, Shokouhi S, Sahraei Z. A review on colistin nephroto­xicity. Eur J ClinPharmacol 2015;71(7):801-10.

Almutairy R, Aljrarri W, Noor A, Elsamadisi P, Shamas N, Qureshi M, et al. Impact of colistin dosing on the incidence of nephrotoxicity in a tertiary care hospital in Saudi Arabia. Antibiotics 2020;9:1-12.

วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม, ณัฐวรา สมศักดิ์, วราภรณ์ ระหงษ์, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์. อุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโคลิสตินในโรงพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560;36(5):589-96.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล และ สุคนทิพธ์ โพธิ์พุ่ม. การติดตามประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาโคลิสตินรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบที่ดื้อยาต้านจุลชีพที่โรงพยาบาลศิริราช. J Med Assoc Thai 2559;99(3):301-7.

ศิรินาถ วงศ์สัมพันธ์, อภิชาติ จิตต์ซื่อ, นัยนา สันติยานนท์, สุวิมล ยี่ภู่, กาญจนาภา อาริยวิทยา, ณัฐพร กิจจาการ.ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ด้วยยาฉีด colistin. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561;10(2): 376-81.

สิริมา สิตะรุโน, วิชัย สันติมาลีวรกุล. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้โคลิสตินในทางปฏิบัติ. TJPP 2561;10(2):505-16.

ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์. การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบดื้อยาต้านจุลชีพ. ใน: ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์,บรรณาธิการ. การส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศิริราช; 2561:หน้า 143-72.

ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. คำแนะนำขนาดยาโคลิสติน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.medkorat.in.th/admin/ckfinder/userfiles/files/Guidelines%20for%20drug%20use.pdf

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2559 กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร. พิจิตร: โรงพยาบาลพิจิตร, 2559:หน้า 78-148.

Acute Kidney Injury Network. RIFLE Criteria [Internet]. 2007 [cited 2021 Mar 14]. Available from: https://litfl.com/rifle-criteria-and-akin-classification/

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. แนวทางการปรับขนาดยาโคลิสตินในผู้ป่วยไตบกพร่อง. จดหมายข่าวด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.sawanghospital.com/sawang/myfile/070220_105413.pdf

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพิจิตร. พิจิตร: โรงพยาบาลพิจิตร, 2561:หน้า 182-215.

Nation RL, Rigatto MHP, Falci DR, Zavascki AP. Polymyxin acute kidney injury: dosing and other strategies to reduce toxicity. Antibiotics 2019;8:1-18.

Nation RL, Garonzik SM, Thamlikitkul V, Giamarellos-Bourboulis EJ, Forrest A, Paterson DL, et al. Dosing guidance for intravenous colistin in critically ill patients. Clin Infect Dis 2017;64:565-71.

วิลาวัณย์ ทิพย์มนตรี. Antimicrobial Resistance (AMR) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [อินเทอร์–เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.medkorat.in.th/admin/ckfinder/userfiles/files/AMRJan9-12.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19