ผลการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ในโรคติดเชื้อระบบการหายใจช่วงบน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • มลิวัลย์ จิระวิโรจน์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร
  • รุจาภา โสมาบุตร กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล, defined daily dose

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลต่ออัตราการสั่งใช้และชนิดของกลุ่มยาปฏิชีวนะที่สั่งใช้ในผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อระบบการหายใจช่วงบน (URI) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (AD) และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ (FTW) รวมถึงศึกษาผลต่อปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาในช่วง 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2563 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ช่วงๆละ 1 ปีงบประมาณ

ผลการวิจัย: ร้อยละการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอก URI AD และ FTW ในปีงบประมาณ 2563 ลดลงจากปีงบประมาณ 2561 ร้อยละ 9.95, 1.51 และ 3.82 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบร้อยละการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะในปีงบประมาณ 2561, 2562 และ 2563 กับเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ พบว่า URI ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 30 (สั่งใช้ร้อยละ 44.53, 43.84 และ 34.58 ตามลำดับ) AD ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 20 (สั่งใช้ร้อยละ14.48, 16.98 และ 12.97 ตามลำดับ) และ FTW ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 50 สั่งใช้ร้อยละ 38.14, 36.24 และ 34.32 ตามลำดับ กลุ่มยาที่สั่งใช้มากที่สุดในปี 2561, 2562 และ 2563 ใน URI คือ กลุ่ม penicillins สั่งใช้ร้อยละ 64.41, 63.33 และ 56.32 ตามลำดับ ใน AD คือ กลุ่ม fluoroquinolones สั่งใช้ร้อยละ 70.75, 65.50 และ 68.99 ตามลำดับ ใน FTW คือ กลุ่ม penicillins สั่งใช้ร้อยละ 73.98 , 68.57 และ 66.04 ตามลำดับ ส่วนปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะรวมทุกกลุ่มยาในปีงบประมาณ 2561, 2562 และ 2563 พบว่า ลดลงเล็กน้อย โดยมีปริมาณการใช้ยาคิดเป็น 2.1673, 2.0440 และ 2.0900 DDDs/1000 OP visit/วัน ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม penicillins ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีการสั่งใช้มากที่สุดใน URI และ FTW มีปริมาณการใช้ยาลดลงอย่างต่อเนื่อง คิดเป็น 0.5422, 0.4766 และ 0.3766 DDDs/1000 OP visit/วัน ตามลำดับ

สรุป: ผลของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลยโสธร ทำให้อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะใน URI, AD และ FTW ลดลง และชนิดของกลุ่มยาที่สั่งใช้สอดคล้องกับแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบ และมีผลให้ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะลดลงเล็กน้อย

ประวัติผู้แต่ง

มลิวัลย์ จิระวิโรจน์ , กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

ภ.บ.

รุจาภา โสมาบุตร , กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

นุศราพร เกษสมบูรณ์, ทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์, กฤษดา ลิมปนานนท์. ใน: ยุพดี ศิริสินสุข, ธิติมา เพ็งสุภาพ, บรรณาธิการ. ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทย พ.ศ. 2538-2556 รายงานสถานการณ์ระบบยา พ.ศ. 2555-2559. นนทบุรี: บจก.มาตาการพิมพ์; 2561. หน้า 64-69.

วีระศักดิ์ พุทธาศรี, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. การขับเคลื่อนโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโรงพยาบาลทั่วไทย ใช้ยาคุ้มค่า ปลอดภัย ไม่ซ้ำซ้อน [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 ม.ค.2564]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4694/hs2332.pdf?sequence=3&isAllowed=y

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational drug use hospital manual). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (service plan: rational drug use). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สํานักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

WHO Collaborating Centre for Drugs Statistics Methodology. ATC/DDD index [Internet]. [cited 2022 Feb 4]. Available from: http://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=J01CA&showdescription=no

นรากรณ์ นราธิกรณ์ฤทธิ์. ผลลัพธ์การใช้ยาปฏิชีวนะภายหลังการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2563;26(1):52-61.

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, กัญญดา อนุวงศ์, พิสนธิ์ จงตระกูล, เขมวดี ขนาบแก้ว, สมหญิง พุ่มทอง. ผลของโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล: การนำร่องที่จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2553;19(6):899-911.

นภดล ชะลอธรรม, ธนภูมิ เขียวชอุ่ม, เวโรจน์ เหล่าโภคิน, นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. การพัฒนาเครื่องมือ BC2017 เพื่อประมวลผลข้อมูลสารสนเทศของตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาที่ 15. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561;10(2):392-401.

จิราภรณ์ หาญธัญพงศ์. การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลพะเยา [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค.2563]. สืบค้นจาก: http://phdb.moph.go.th.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-16