การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา
คำสำคัญ:
งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน, การพัฒนาระบบ, ความคลาดเคลื่อนทางยาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานภายในงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยในโดยตรง และศึกษาผลของการพัฒนาที่มีต่ออัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา (pre-dispensing error) และความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (dispensing error) ทำการศึกษาในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2563 ในวันและเวลาราชการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ สำเนาใบสั่งแพทย์ (doctor order sheet) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ โปรแกรมรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง โดยเก็บข้อมูลอัตราความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา และอัตราความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ก่อนและหลังพัฒนาระบบ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า หลังการพัฒนาระบบภายในงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน อัตราความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา ลดลงจาก 8.42 ครั้ง/1000 วันนอน เหลือ 5.52 ครั้ง/1000 วันนอน และอัตราความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ลดลงจาก 4.62 ครั้ง/1000 วันนอน เหลือ 2.96 ครั้ง/1000 วันนอน และไม่พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาที่มีความรุนแรงระดับ E อัตราความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาในขั้นตอนการบันทึกข้อมูลลดลงจาก 4.64 ครั้ง/1000 วันนอน เหลือ 3.54 ครั้ง/1000 วันนอน และในขั้นตอนการจัดยาลดลงจาก 3.78 ครั้ง/1000 วันนอน เหลือ 1.98 ครั้ง/1000 วันนอน
สรุป การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยางานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน สามารถลดอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา และความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาได้ แต่ต้องมีการเก็บข้อมูลอัตราความคลาดเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนถึงประสิทธิภาพของระบบและการปฏิบัติตามแนวทางของบุคลากร ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
เอกสารอ้างอิง
สมถวิล คำมาบุตร, ภัทริกา ทัศนวิจิตร. การศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลห้างฉัตร.วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551; 15:407-419.
สุภาวดี ศรีสุขศิริ, วัลลภา ชูราศีเวช. ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. สืบค้นจาก: http://www3.srisangworn.go.th/kmnet/. วันที่สืบค้น June 30,2020.
ยุพา วิภาสวัชรโยธิน, มาศรินทร์ ธรรมสิทธิ์บูรณ์. การศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์.วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551;15:151-161.
สุรีรัตน์ ลำเลา, รพีพรรณ ฉลองสุข. การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ชุตินุธโรอุทิศ กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal,Science and Technology Silpakorn University 2017;4:117-137.
กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม, ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย.Veridian E-Journal, Silpakorn University 2552;2:195-217.
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). กรอบงานพื้นฐานระบบยา 1. กรุงเทพมหานคร:สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย),2563:16
สุภาพร สนองเดช. การศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาในงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2559;24:123-132.
เกษศรินทร์ ขุนทอง, อัลจนา เฟื่องจันทร์. การพัฒนาระบบบริการด้านยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอผักไห่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2558;11(ฉบับพิเศษ):82-88.
วรัญญาญาติ ปราโมทย์, สงคราม ชัยลีทองดี, สงัด เชื้อลิ้นฟ้า. การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563;9:20-30
สุวรรณา แซ่อือ. การปรับลดความคลาดเคลื่อนทางยาในกระบวนการจัดยาก่อนจ่ายยา ในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551;15:321-330
ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต. การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยของยาที่มีรูปคล้ายเสียงพ้องในโรงพยาบาลของรัฐ.วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุวิมล อนันต์ศิริภัณฑ์, วรภา วราธนกุล และ นภดล วุฒินันติวงศ์. ประสิทธิภาพของระบบป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551;15:73-81
อนุชา อาภาสวัสดิ์. ความคลาดเคลื่อนทางยาหลังการพัฒนาระบบการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชสาส์น.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2554;20:237-243
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ