การจัดการเชิงระบบสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเครือข่ายอำเภอโนนสูง

ผู้แต่ง

  • สุทธินี เรืองสุพันธุ์ โรงพยาบาลโนนสูง
  • วรวุฒิ สุพิชญ์ โรงพยาบาลโนนสูง
  • สมพร พานสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสูง

คำสำคัญ:

ใช้ยาอย่างสมเหตุผล, จัดการเชิงระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเชิงระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาเหมาะสม ปลอดภัยจากการใช้ยา และลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 3 ระยะ ปีงบประมาณ 2557 วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการใช้ยา ปีงบประมาณ 2558-2559 เข้าร่วมโครงการ RDU hospital ปีงบประมาณ 2560-2562 ออกแบบจัดการเชิงระบบ พัฒนาต่อยอดตามเป้าหมายของแผน RDU service plan บูรณาการกับการพัฒนา รพ.สต. ติดดาว และ RDU in community ติดตามประเมินผล หาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ผลการวิจัย: ผลการจัดการเชิงระบบในโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพของอำเภอโนนสูง
1. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้านยาและเพิ่มคุณภาพการรักษา พบว่าช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านยาได้ก่อนที่จะมีผลกระทบถึงผู้ป่วยได้ จากการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยา การจัดระบบความปลอดภัยด้านยา การจัดการลดปัญหาเชื้อดื้อยา การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย และการจัดการลดปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสมในชุมชน ส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น
2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็น พบช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็นได้ เปรียบเทียบช่วงก่อนเริ่มดำเนินการ RDU และช่วงหลังดำเนินการแล้ว 5 ปี พบสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อยา ED เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.38 เป็นร้อยละ 97.75 สัดส่วนมูลค่าการสั่งใช้ยา ED เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.14 เป็นร้อยละ 96.12 ผลลดอัตราคงคลังได้
ตามเป้าหมาย นโยบายจำกัดการสั่งใช้ยาฟุ่มเฟือยพบว่าค่าใช้จ่ายยานวดจาก 349,971 บาท ในปีงบประมาณ 2558 ลดลงเป็น 133,584 บาท ในปีงบประมาณ 2562 ระบบติดตามการสั่งใช้ยา dual antiplatelet ให้เป็นไปตามแนวทางการรักษาพบว่าค่าใช้จ่ายยา clopidogrel จาก 607,750 บาท ในปีงบประมาณ 2559 ลดลงเป็น 71,116 บาท ในปีงบประมาณ 2562 ระบบติดตามยาพ่นเหลือใช้ของผู้ป่วย asthma/COPD ช่วงปีงบประมาณ 2560-2562 ช่วยประหยัดค่ายาได้ 733,086 บาท และจากผลการเปรียบเทียบช่วงก่อนและหลังดำเนินงาน RDU พบการลดลงของการใช้ยาปฏิชีวนะใน 4 กลุ่มโรคเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) ในช่วงปีงบประมาณ 2558-2562 ทำให้ช่วยประหยัดค่ายาได้ถึง 1,348,098 บาท
สรุปผลวิจัย: ปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลโนนสูงดำเนินงานผ่านตัวชี้วัดทุกข้อตามเกณฑ์ RDU ขั้น 3 ของกระทรวงสาธารณสุข และมีการจัดการเชิงระบบหลายกิจกรรมที่ส่งผลทำให้เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และเพิ่มคุณภาพการรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็นลงได้ ซึ่งการดำเนินงานบรรลุได้ตามเป้าหมายดังกล่าวเกิดจากการจัดการเชิงระบบและความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ประวัติผู้แต่ง

สุทธินี เรืองสุพันธุ์, โรงพยาบาลโนนสูง

ภ.ม.(เภสัชกรรมคลินิก)

วรวุฒิ สุพิชญ์, โรงพยาบาลโนนสูง

พ.บ.เวชศาสตร์ป้องกัน(แขนงสุขภาพจิตชุมชน)

สมพร พานสุวรรณ, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสูง

ส.ม.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization Promoting rational use of medicines: core components. 2002.Zhang NJ, Wan TT, Rossiter LF, Murawski MM, Patel UB. Evaluation of chronic disease management on outcomes and cost of care for Medicaid beneficiaries. Health Policy, 2008. 86(2): 345-54.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล.พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2558 : 28-150.

คณะทำงานบริหารโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคณะผู้วิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,คู่มือตัวชี้วัดโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. 2558: 1-60.

กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service Plan: Rational Drug Use). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2559 : 1-94.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561 Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:เฟมัสแอนด์ซัคเซลฟูล,2561: 59-86.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักบริหารการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ, สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Award:PCA). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2552 : 56.

คณะทำงานพัฒนา รพ.สต. ติดดาว สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต. ติดดาว) ปี 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562 : 57- 68.

กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, เบญจพร รัชตารมย์, ศุทธินี วัฒนกุล, จิรายุ บุญเรือน. รู้เขา-รู้เรา.ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. 2561; 9(35): 12-15.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมการสั่งยาและผู้ป่วยจากการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล (Effect from the Rational Drug Use Hospital policy on prescribing behaviours and patient outcomes). 2563: 159.

พิสิทธิ์ คงศักดิ์ตระกูล, หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล, สุภนัย ประเสริฐสุข. ประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. เภสัชศาสตร์อีสาน 2562;15(2):106-117.

กฎกระทรวงกำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนและกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือกและวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ.2560 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2560.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-09