การทวนสอบเครื่องมือประเมินความเสี่ยงภาวะโซเดียมในเลือดต่ำจากการใช้ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • สาธิน ศรีนวล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • สุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สฐพรรฐ คำร้อง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • ขุนบุรุษ แก้วมีสุข กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลแพร่
  • จิระประภา เดชะ สาขาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การทวนสอบ, ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ, ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้โดยทั่วไปและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในการรักษาใช้ยากลุ่ม thiazide ใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยาอื่น อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยคือ ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (hyponatremia) ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตได้ เครื่องมือคัดกรองภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (คะแนน ABCDF-S) ต้องมีการทวนสอบความถูกต้องแม่นยำเพื่อขยายการนำไปใช้ได้โดยทั่วไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ(hyponatremia) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ใช้ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide และเพื่อทวนสอบความถูกต้องของเครื่องมือคัดกรองภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study) รูปแบบเชิงพรรณนา ใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ไค-สแควร์(Chi-square) ใช้อัตราส่วนออด (odds ratio) คำนวณหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยง และใช้ receiver operator characteristic (ROC) curve ประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องมือเพื่อทำนายภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide จากฐานข้อมูลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลในจังหวัดแพร่ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2562

ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำและให้คะแนนการคัดกรองตามเกณฑ์ของเครื่องมือ ABCDF-S แล้ว ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (score > 8) พบว่ามี ความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำ ร้อยละ 88.81, 84.13 และ 86.62 ตามลำดับ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (score < 6) มีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำ ร้อยละ 84.13, 88.81 และ 86.62 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ การให้คะแนนจุดตัดเพื่อทำนายกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำ ยืนยันตามข้อมูล AuROC ร้อยละ 98.06

สรุปผล: เครื่องมือ ABCDF-S score สามารถใช้ทำนายภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้ดี มีความแม่นยำ เมื่อนำมาทดสอบในกลุ่มผู้ป่วยทั้งจังหวัดแพร่ ยังยืนยันผลลัพธ์ที่ดี เภสัชกรที่ปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิกและแพทย์สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้ง่าย ควรพิจารณาใช้เครื่องมือนี้ในช่วงเริ่มต้นของการสั่งใช้ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide จะเกิดประโยชน์สูงสุด

ประวัติผู้แต่ง

สาธิน ศรีนวล, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่

ภ.บ.

สุกฤษฏิ์ กาญจนสุระกิจ , คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ภ.บ.(บริบาลเภสัชกรรม)

สฐพรรฐ คำร้อง, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่

ภ.บ.

ขุนบุรุษ แก้วมีสุข, กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลแพร่

วศ.ม.

เอกสารอ้างอิง

Bharati VM, Ajayi KS. Hypertension in the developing world: challenges and opportunities. Am J Kidney Dis. 2015;5:590-8.

Kayima J, Nankabirwa J, Sinabulya I, Nakibuuka J, Zhu X, Rahman M, et al. Determinants of hypertension in a young adult Ugandan population in epidemiological transition-the MEPI-CVD survey. BMC Pub Health. 2015;15:830-42.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF

Sakboonyarat B, Rangsin R, Kantiwong A, Mungthin M. Prevalence and associated factors of uncontrolled hypertension among hypertensive patients: a nation-wide survey in Thailand. BMC Res Notes. 2019;12(1):380.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ทริค ธิงค์; 2562. หน้า 1-23.

Gabb GM, Mangoni AA, Anderson CS, Cowley D, Dowden JS, Golledge J, et al. Guideline for the diagnosis and management of hypertension in adults - 2016. Med J. 2016;205:85–9.

Wright JM, Musini VM, Gill R. First-line drugs for hypertension. Cochrane Database Syst Rev. 2018 Apr. doi: 10.1002/14651858.CD001841.pub3

Hwang KS, Kim GH. Thiazide-induced hyponatremia. Electrolyte Blood Press. 2010;8(1):51-7. doi: 10.5049/EBP.2010.8.1.5

Sonnenblick M, Friedlander Y, Rosin AJ. Diuretic-induced severe hyponatremia. Review and analysis of 129 reported patients. Chest. 1993;103:601-6.

Glover M, Clayton J. Thiazide-induced hyponatraemia: epidemiology and clues to pathogenesis. Cardiovasc Ther. 2012;30:e219–26.

Kanchanasurakit S, Saokaew S, Siriplabpla W, Arsu A, Boonmak W, Watcharasiriphong W. Development of a hyponatremia screening tool (ABCDF-S score) for patients with hypertension using thiazide diuretic agents. J Clin Pharm Ther. 2020;00:1–9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-07-28