ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Eptinezumab ในการรักษาไมเกรน

ผู้แต่ง

  • วรัญญา วิริยะสุนทร ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
  • พจนา โกเมศมุนีบริรักษ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช

คำสำคัญ:

eptinezumab, calcitonin gene-related peptide monoclonal antibody, CGRP, ไมเกรน

บทคัดย่อ

Eptinezumab เป็นยากลุ่ม calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibody ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.2020 สำหรับใช้รักษาและป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนในผู้ใหญ่ ยานี้บริหารทางหลอดเลือดดำครั้งละ 100 มิลลิกรัม ทุก 3 เดือน การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า eptinezumab เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน โดยให้ผลการรักษาตั้งแต่ขนานแรกของการได้รับยาและมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาการติดตามเป็นเวลาหนึ่งปีด้วยขนาดยา 100 หรือ 300 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังพบว่ายา eptinezumab สามารถลดระยะเวลาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ดี อีกทั้งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน และโรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากไม่พบรายงานอันตรกิริยากับยาอื่นและมีอุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างน้อย ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ การอักเสบของเยื่อจมูกและลำคอ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และไซนัสอักเสบซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง การศึกษาในอนาคตจำเป็นต้องประเมินเรื่องความปลอดภัยระยะยาว ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในกลุ่มประชากรอื่น ๆ และการเปรียบเทียบกับยาตัวอื่นในกลุ่มเดียวกันต่อไป

ประวัติผู้แต่ง

วรัญญา วิริยะสุนทร, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช

ภ.บ.

พจนา โกเมศมุนีบริรักษ์, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

Lundbeck Seattle BioPharmaceuticals, Inc. VYEPTITM (eptinezumab-jjmr) injection [Internet]. Washington; 2020 [cited 2022 Sep 1]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2020/761119s000lbl.pdf

Morgan KW, Joyner KR. Eptinezumab: a calcitonin gene-related peptide monoclonal antibody infusion for migraine prevention. SAGE Open Med. 2021;9:1-8.

Dhillon S. Eptinezumab: first approval. Drugs. 2020;80(7):733-9.

Datta A, Maryala S, John R. A review of eptinezumab use in migraine. Cureus. 2021;13(9):e18032. doi: 10.7759/cureus.18032.

Scuteri D, Adornetto A, Rombolà L, Naturale MD, Morrone LA, Bagetta G, et al. New trends in migraine pharmacology: targeting calcitonin gene–related peptide (CGRP) with monoclonal antibodies. Front Pharmaco. 2019;10:363.

Ashina M, Saper J, Cady R, Schaeffler BA, Biondi DM, Hirman J, et al. Eptinezumab in episodic migraine: a randomized, double-blind, placebo-controlled study (PROMISE-1). Cephalalgia. 2020;40(3):241–54.

Lipton RB, Goadsby PJ, Smith J, Schaeffler BA, Biondi DM, Hirman J, et al. Efficacy and safety of eptinezumab in patients with chronic migraine: PROMISE-2. Neurology. 2020;94(13):e1365–77. doi: 10.1212/WNL.0000000000009169.

Diener H, Marmura MJ, Tepper SJ, Cowan R, Starling AJ, Diamond ML, et al. Efficacy, tolerability, and safety of eptinezumab in patients with a dual diagnosis of chronic migraine and medication-overuse headache: subgroup analysis of PROMISE‐2. Headache. 2021;61(1):125–36.

Kudrow D, Cady RK, Allan B, Pederson SM, Hirman J, Mehta LR, et al. Long-term safety and tolerability of eptinezumab in patients with chronic migraine: a 2-year, open-label, phase 3 trial. BMC Neurology. 2021;21(1):126.

Winner PK, McAllister P, Chakhava G, Ailani J, Ettrup A, Krog Josiassen M, et al. Effects of intravenous eptinezumab vs placebo on headache pain and most bothersome symptom when initiated during a migraine attack: a randomized clinical trial. JAMA. 2021;325(23):2348-56.

Baker B, Schaeffler B, Hirman J, Hompesch M, Pederson S, Smith J. Tolerability of eptinezumab in overweight, obese or type 1 diabetes patients. Endocrinol Diabetes Metab. 2021;4(2):e00217. doi: 10.1002/edm2.217.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-26