การพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
คำสำคัญ:
วาร์ฟาริน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ความปลอดภัยด้านยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การส่งต่อข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมทำให้สามารถติดตามผลลัพธ์ของการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ นำปัญหาที่พบมาแก้ไขเชิงระบบได้ โรงพยาบาลกันทรลักษ์จึงพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินโดยใช้ S/O/A/P ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม PharMS ในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินและเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลรักษาและความปลอดภัยในการใช้ยาก่อนและหลังพัฒนาระบบ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมการ ระยะที่ 2 การดำเนินการ ระยะที่ 3 การสังเกตและเก็บข้อมูล และ ระยะที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติ ดำเนินการในปีงบประมาณ 2563-2565 กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่มีการสั่งใช้วาร์ฟารินในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 ครั้งในแต่ละปีงบประมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ independent t-test
ผลการศึกษา: การพัฒนาการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดความต่อเนื่องในกระบวนการบริบาลทางเภสัชกรรม การจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลมีความสะดวกมากขึ้น ผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินมีผลลัพธ์ INR อยู่ในช่วง 2.0 – 3.0 ปี 2563 – 2565 ร้อยละ 54.3, 55.6 และ 55.5 ตามลำดับ โดยปี 2565 ร้อยละของจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยแต่ละรายบรรลุ target INR ลดลงจากปี 2563 และ 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.020 และ 0.003 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม มี INR 2.0 - 3.0 ปี 2564 ร้อยละ 73.5 เพิ่มเป็นร้อยละ 76.1 ในปี 2565 ด้านความปลอดภัยด้านยาพบสาเหตุที่ทำให้ INR นอกช่วง 2.0 – 3.0 ในปี 2564 ร้อยละ 96.0 และลดลงเป็นร้อยละ 72.3 ในปี 2565 พบความเสี่ยงในระบบยาปี 2563, 2564, 2565 มีแนวโน้มลดลง เป็นความเสี่ยงที่ไม่รุนแรงและป้องกันได้ (ระดับ A, B, C) จำนวน 31, 20, และ 26 ครั้งต่อปีตามลำดับ ความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย (ระดับ D และ E) จำนวน 12, 8 และ 1 ครั้งต่อปีตามลำดับ
สรุปผลการศึกษา: การพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินสามารถสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย ทำให้มีผลลัพธ์การดูแลรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยความปลอดภัยมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
สถาพร มณี, นุชกานดา มณี. ผลลัพธ์การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการคลินิกวาร์ฟาริน. พุทธชินราชเวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565];34(3):371-81. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/122929
เจนจิรา ตันติวิชญวานิช, โพยม วงศ์ภูวรักษ์, วิบุล วงศ์ภูวรักษ์. การพัฒนาซอฟต์แวร์สาธิตเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินในโรงพยาบาลปัตตานี. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565];7(2):288-304 สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169652
สุภารัตน์ พัฒนสมบัติ, อุไรวรรณ ตระการกิจวิชิต, อุทัยวรรณ เมืองแมน, ณัฐวัฒน์ กังวานศิรวัธน์, ธงชัย วัลลภวรกิจ, นุชน้อยประภาโส, และคณะ, บรรณาธิการ. แนวทางการจัดการด้านยาใน Service Plan สาขาโรคหัวใจและสาขาโรคไต. กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สมุทรสาคร: บอร์นทูบีพัพลิชชิ่ง; 2563.
ภูขวัญ อรุณมานะกุล, สุรกิจ นาทีสุวรรณ, บรรณาธิการ. แนวทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2559.
พรชัย วีระเศรษฐ์ศิริ. ประเมินการใช้ trigger tool ในผู้ป่วยในที่ได้รับยา warfarin ของโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารองค์การเภสัชกรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565];43(1):34-44. สืบค้นจาก: https://www2.gpo.or.th/LinkClick.aspx?fileticket=nLvV5dTQX1w%3D&tabid=111&mid=599
Connolly SJ, Pogue J, Eikelboom J, Flaker G, Commerford P, Franzosi MG, et al. Benefit of oral anticoagulant over antiplatelet therapy in atrial fibrillation depends on the quality of international normalized ratio control achieved by centers and countries as measured by time in therapeutic range. Circulation. 2008;118(20):2029-37. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.107.750000.
ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ, ปวีณา สนธิสมบัติ, อิศราวรรณ ศกุนรักษ์, ขวัญชัย รัตนมณี, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา, ชาคริต หริมพานิช, และคณะ. ปฏิกิริยาระหว่างอาหารกับ warfarin: ข้อเท็จจริงกับความเชื่อ. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565];14(3):1-10. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/249934
สกนวรรณ พวงหอม, อรอนงค์ หงส์ชุมแพ, ศรีษา แซ่เนี้ยว. การพัฒนาแบบบันทึกปัญหาเนื่องจากการใช้ยาและคำแนะนำการปรับขนาดยาในผู้ป่วยใช้วาร์ฟาริน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565];1(1):74-84. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/175020
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน พ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; หน้า 21-6.
Priksri W, Rattanavipanon W, Saejear W, Tanyasaensook K, Phrommintikul A, Chulavatnatol S, et al. Incidence, risk factors, and outcomes of warfarin-associated major bleeding in Thai population. Pharmacoepidemiol Drug Saf. 2019;28(7):942-950. doi: 10.1002/pds.4781.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ