สถานการณ์และปัญหาการปฏิบัติงานของการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
สถานการณ์และปัญหา, การบริหารเวชภัณฑ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, องค์การบริหารส่วนจังหวัดบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต้องถ่ายโอนภารกิจไปอยู่ภายในการกำกับขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การวิเคราะห์ข้อมูลค่าเวชภัณฑ์ และสถานการณ์ของการบริหารเวชภัณฑ์ จะช่วยสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีข้อมูลการบริหารเวชภัณฑ์ที่จะต้องบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาสถานการณ์การใช้ยา 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารเวชภัณฑ์ของผู้ปฏิบัติงาน 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการปฏิบัติงานบริหารเวชภัณฑ์ และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานบริหารเวชภัณฑ์
วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในระยะที่ 1 วิจัยเชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์การใช้ยา สำรวจการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารเวชภัณฑ์ โดยใช้แบบสอบถาม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ใน รพ.สต. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการปฏิบัติงานด้วยสถิติแมนน์- วิทนีย์ ยู และครัสคาล- วอลลิส และระยะที่ 2 วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ใน รพ.สต. จำนวน 17 คน เพื่อค้นหาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัย: มูลค่าการใช้ยาในปีงบประมาณ 2563 - 2565 เป็น 3,448,368.31 บาท 3,545,575.95 บาท และ 3,871,026.28 บาท ตามลำดับ มูลค่าการใช้ยาและจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นร้อยละ 63 – 67 และ ร้อยละ 11 – 17 ของทั้งหมด ตามลำดับ ระดับการปฏิบัติงานบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับปฏิบัติมาก ระดับการปฏิบัติงานจำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานบริหารเวชภัณฑ์พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัญหาการดำเนินงาน ด้านภาระงาน มีภาระงานมาก ด้านการวางแผน ขาดการจัดทำแผนจัดหาเวชภัณฑ์ ด้านการควบคุมคลังเวชภัณฑ์ เบิกยาไม่พอใช้ ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ด้านการควบคุมคุณภาพจัดเก็บรักษายายังไม่ได้มาตรฐาน ข้อเสนอแนะ ควรกระจายงาน มีแผนการใช้ยา นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีเครือข่ายมาใช้ และให้การสนับสนุนงบประมาณ
สรุปผล: มูลค่าการใช้ยามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีสัดส่วนการใช้ยาที่สูง มีการปฏิบัติงานบริหารเวชภัณฑ์ได้ในระดับมาก ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ มีปัญหาการดำเนินงาน ด้านภาระงาน การวางแผน การควบคุมคลังเวชภัณฑ์ และการควบคุมคุณภาพจัดเก็บรักษายา
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนัก นายกรัฐมนตรี. แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี; 2562 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://odloc.go.th/transfer/%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%81/
มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพ ระหว่างประเทศ. บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://www.ihppthaigov.net/publication/thainationalhealthaccounts2017-2019
สำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสำหรับเภสัชกร ในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2560.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ ประจำ หน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการร่วมให้บริการ. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2560.
กระทรวงสาธารณสุข สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. สืบค้นจาก: http://www.mdo.moph.go.th/computer/web51v2/nhso_star63.pdf
นันท์นภัส ฟุ้งสุข, อัษฎางค์ พลนอก. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลังเวชภัณฑ์ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ. 2560; 21(41):109-22.
มัตติกา ประพฤติดี. การพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2564;1(2):16-29.
กษมา แก้วบำรุง, วรินท์มาส เกษทองมา, วุธิพงศ์ ภักดีกุล. วิเคราะห์การบริหารคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(2):95-102.
López-Soto D, Angel-Bello F, Yacout S, Alvarez A. A multi-start algorithm to design a multi-class classifier for a multi-criteria ABC inventory classification problem. Expert systems with applications [Internet]. 2017 [cited 2022 July 30];81:12-21. Available from: https://doi.org/10.1016/j.eswa.2017.02.048
พรชนก เมฆไพบูลย์. ประสิทธิผลของระบบบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขายในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564.
วรวุฒิ สีหา, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล. การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จากโรงพยาบาลกมลาไสย โดยประยุกต์ใช้การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):670-82.
สุทิศา อาภาเภสัช. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบการบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(3):86-94.
ณัฏฐชัย แก้วเจริญสีทอง. ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุและแนวทางพัฒนางานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2563;3(2):76-93.
นิกร บาลี, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12(3):586-94.
ชนม์ชนกต์ ยุงกุลวณิชนันท์, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตพื้นที่เครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2566;9:1-16.
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, กฤษดา แสวงดี, เบญจพร รัชตารมย์, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, และคณะ. การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4893?show=full
สมบูรณ์ สิงห์พรม. ระบบการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์และระบบบัญชีที่กำกับดูแลด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมการศึกษา. 2563;5(4):163-71.
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. สถานการณ์และปัญหาการบริหารงานด้านสาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 2560;42(6):108-11.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ