การประเมินผลกระทบด้านงบประมาณจากการใช้ยาในกลุ่ม PCSK9 Inhibitors ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในสถาบันโรคทรวงอก

ผู้แต่ง

  • อุดม แท้วิริยะกุล สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • เอมอัจฉรา วรสาร สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • ธรรมรัฐ ฉันทแดนสุวรรณ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

ยากลุ่ม PCSK9 inhibitors, โรคหัวใจและหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงแข็ง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: Proprotein convertase subtilisin kexin type 9 (PCSK9) inhibitors เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาด้วยยาเพื่อลดระดับ low density lipoprotein cholesterol (LDL-C) ในเลือด ที่มีประโยชน์ในการลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ปัจจุบันยังเป็นยาใหม่ที่มีราคาสูงมาก

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลกระทบด้านงบประมาณจากการใช้ยาในกลุ่ม PCSK9 inhibitors คือ evolocumab ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง (altherosclerotic cardiovascular disease; ASCVD)

วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย ASCVD ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันโรคทรวงอก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2563 ติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 1 ปี จากนั้นแบ่งผู้ป่วยตามผลตอบสนองต่อยาลดไขมันในเลือด เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ผู้ป่วยทุกรายที่มีระดับ LDL-C ≥ 70 มก./ดล. กลุ่มที่ 2) ผู้ป่วยที่ได้รับยา high intensity statin แล้วยังมีค่า LDL-C ≥ 70 มก./ดล. และกลุ่มที่ 3) ผู้ป่วยที่ได้รับยา high intensity statin ร่วมกับยา ezetimibe แล้วยังมีค่า LDL-C ≥ 70 มก./ดล. สร้างสถานการณ์สมมุติในการเพิ่มยา evolocumab ร่วมในการรักษาแต่ละกลุ่ม ประเมินและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากยา evolocumab ในแต่ละสถานการณ์ ตามราคายาปัจจุบันในประเทศไทย

ผลการวิจัย: ผู้ป่วย ASCVD ที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาในกลุ่ม PCSK9 inhibitors จำนวน 7,491 ราย มีค่ามัธยฐานของระดับ LDL-C ก่อนเริ่มให้ยาลดไขมันในเลือดเท่ากับ 120.43 มก./ดล. เมื่อติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 77.79 ยังมีระดับระดับ LDL-C มากกว่า 70 มก./ดล. และหากเพิ่มการรักษาด้วยยา evolocumab ในผู้ป่วย ASCVD ในแต่ละกลุ่มจะต้องใช้งบประมาณด้านยาเพิ่มขึ้น ดังนี้ กลุ่มที่1) 1,567 – 2,164 ล้านบาท/ปี กลุ่มที่ 2)  885 – 1,222 ล้านบาท/ปี และกลุ่มที่ 3) 147 – 203 ล้านบาท/ปี

สรุปผล: การเพิ่มยา evolocumab ร่วมในการรักษาผู้ป่วย ASCVD เพื่อลดระดับ LDL-C ให้ <70 มก./ดล. ตามแนวทางปฏิบัติมาตรฐาน คาดการณ์ว่าจะทำให้งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้น 147-2,164 ล้าบาท/ปี โดยหากเลือกใช้ยาเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยา high intensity statin ร่วมกับ ezetimibe แล้วยังมีค่า LDL-C ≥ 70 มก./ดล. อาจจะลดค่าใช้จ่ายด้านยาลงได้ถึง 1,420 – 1,961 ล้านบาท/ปี เมื่อเทียบกับการใช้ยาในผู้ป่วยทุกรายที่มีระดับ LDL-C ≥ 70 มก./ดล.

ประวัติผู้แต่ง

อุดม แท้วิริยะกุล, สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์

ภ.บ.

เอมอัจฉรา วรสาร, สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์

ภ.บ.

ธรรมรัฐ ฉันทแดนสุวรรณ, สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์

พ.บ.

เอกสารอ้างอิง

Stone NJ, Robinson JG, Lichtenstein AH, Bairey Merz CN, Blum CB, Eckel RH, et al. 2013 ACC/AHA guideline on the treatment of blood cholesterol to reduce atherosclerotic cardiovascular risk in adults: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol. 2014;63(25 Part B):2889-934. doi: 10.1016/j.jacc.2013.11.002.

Lloyd-Jones DM, Morris PB, Ballantyne CM, Birtcher KK, Daly DD Jr, DePalma SM, et al. 2016 ACC expert consensus decision pathway on the role of non-statin therapies for LDL-cholesterol lowering in the management of atherosclerotic cardiovascular disease risk: a report of the American College of Cardiology Task Force on Clinical Expert Consensus Documents. J Am Coll Cardiol. 2016; 68(1):92-125. doi: 10.1016/j.jacc.2016.03.519.

Taylor F, Ward K, Moore TH, Burke M, Davey Smith G, Casas JP, et al. Statins for the primary prevention of cardiovascular disease. Cochrane Database Syst Rev. 2011;(1):CD004816. doi: 10.1002/14651858.CD004816.pub4.

Cholesterol Treatment Trialists' (CTT) Collaboration; Fulcher J, O'Connell R, Voysey M, Emberson J, Blackwell L, Mihaylova B, et al. Efficacy and safety of LDL-lowering therapy among men and women: meta-analysis of individual data from 174,000 participants in 27 randomised trials. Lancet. 2015;385(9976):1397-405. doi: 10.1016/S0140-6736(14)61368-4.

Cannon CP, Blazing MA, Giugliano RP, McCagg A, White JA, Theroux P, et al. Ezetimibe added to statin therapy after acute coronary syndromes. N Engl J Med. 2015;372(25):2387-97. doi: 10.1056/NEJMoa1410489.

Sabatine MS, Giugliano RP, Keech AC, Honarpour N, Wiviott SD, Murphy SA, et al. Evolocumab and clinical outcomes in patients with cardiovascular disease. N Engl J Med. 2017;376(18):1713-22. doi: 10.1056/NEJMoa1615664.

Sabatine MS, Giugliano RP, Wiviott SD, Raal FJ, Blom DJ, Robinson J, et al. Efficacy and safety of evolocumab in reducing lipids and cardiovascular events. N Engl J Med. 2015; 372(16):1500-9. doi: 10.1056/NEJMoa1500858.

Amgen Inc. REPATHA® (evolocumab) injection, for subcutaneous use. In: Drugs@FDA: FDA-Approved Drugs [Internet]. n.p.: U.S. Food and Drug Administration; 2017 [cited 2018 May 22]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2021/125522orig2s000lbl.pdf

Amgen Inc. REPATHA® solution for injection: summary of product characteristics. In: European Medicines Agency [Internet]. Amsterdam: European Medicines Agency; 2017 [cited 2018 May 22]. Available from: https://www.ema.europa.eu/en/documents/product-information/repatha-epar-product-information_en.pdf

Kazi DS, Moran AE, Coxson PG, Penko J, Ollendorf DA, Pearson SD, et al. Cost-effectiveness of PCSK9 inhibitor therapy in patients with heterozygous familial hypercholesterolemia or atherosclerotic cardiovascular disease. JAMA. 2016;316(7):743-53. doi: 10.1001/jama.2016.11004.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้