ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับบริการผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการใช้ยา, ระบบเภสัชกรรมทางไกล, โรคความดันโลหิตสูง, ความร่วมมือในการใช้ยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า โรคเรื้อรังชนิดต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ทั่วโลกนั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุข จึงได้ศึกษาโปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาพัฒนาขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ได้รับบริการผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล
วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาต่อความร่วมมือในการใช้ยา และวัตถุประสงค์รองเพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้ยาที่บ้าน การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่บ้าน และ ปัญหาการใช้ยาที่บ้าน
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน –ธันวาคม 2565 กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (เป็นตัวแทนโรคเรื้อรัง) ที่เข้าร่วมโครงการการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยถึงบ้าน ด้วยระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล จำนวนทั้งสิ้น 202 ราย
ผลการวิจัย: การเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้โปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ย+ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความร่วมมือในการใช้ยาตามสเกลของมอริสกี้ (คะแนนเต็ม 8) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 6.18±0.95 เป็น 7.36±0.79 (p<0.05) พฤติกรรมการใช้ยาที่บ้าน (คะแนนเต็ม 5) เพิ่มจาก 3.60±034 เป็น 4.06±0.57 (p<0.05) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองที่บ้าน (คะแนนเต็ม 5) เพิ่มจาก 3.34±0.39 เป็น 3.49±0.34 p<0.05) และลดปัญหาการใช้ยาที่บ้าน (คะแนนเต็ม 5) จาก 1.89±0.62 เป็น 1.45±0.32 (p<0.05
สรุปผล: โปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาผ่านระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งการเสริมสร้างความรู้ ความร่วมมือ มีพฤติกรรมการใช้ยา และการดูแลตนเองที่ถูกต้อง และลดปัญหาการใช้ยาที่บ้าน
เอกสารอ้างอิง
อดุลย์ บัณฑุกุล. คู่มือโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. 2561.
World Health Organization. Improving access to treatment for chronic diseases [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2022 Jul 4]. Available from: https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/improving-access-to-treatment-for-chronic-diseases
เนติมา คูนีย์. การทบทวนวรรณกรรม: สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2557 [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565]. สืบค้นจาก: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/doc20141107.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). โรคเรื้อรังคุกคามคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2563.
โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน ปีงบประมาณ 2562 – 2564. ลำพูน: โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน; 2565.
จิราพร ลิ้มปานานนท์, วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, วิไลลักษณ์ ตันตะโยธิน, กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย, นุศราพร เกษสมบูรณ์ และคณะ. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานบริการเภสัชกรรมทางไกล (telepharmacy) ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2564.
วริษา ณ ลำปาง. ความก้าวหน้าของ telepharmacy ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการเภสัชกรรม แบบ new normal ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/2563 เรื่อง การกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (telepharmacy) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สภาเภสัชกรรม; 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565]. สืบค้นจาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=1846&catid=0
โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน. โครงการให้บริการผ่านระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล (telepharmacy). ลำพูน: โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน; 2565.
Morisky DE, Ang A, Krousel-Wood M, Ward HJ. Predictive validity of a medication adherence measure in an outpatient setting. J Clin Hypertens (Greenwich). 2008;10(5):348-54. doi: 10.1111/j.1751-7176.2008.07572.x.
ศิริพร พรหมรัตน์, พนิตา ค้าผล, ณัฏฐิญา ค้าผล. ผลของโปรแกรมสร้างความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้เภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. ไทยไภษัชยนิพนธ์. 2564;17(1):31-41.
ชนานุช มานะดี. ผลการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังด้านการใช้ยาที่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2557;10(3):354-371.
Poudel A, Nissen LM. Telepharmacy: a pharmacist's perspective on the clinical benefits and challenges. Integr Pharm Res Pract. 2016;5(8):75-82. doi: 10.2147/IPRP.S101685.
Sungsana W, Nakaranurack C, Weeraphon B, Charoenwaiyachet W, Chanprasert S, Torvorapanit P, et al. Telepharmacy during home isolation: drug-related problems and pharmaceutical care in COVID-19 patients receiving antiviral therapy in Thailand. J Pharm Policy Pract. 2023;16(1):29. doi: 10.1186/s40545-023-00538-z.
Rocha PA, Toma TS. Use of telepharmacy for the care of people with chronic communicable diseases. Research, Society and Development. 2023;12(3):287-98.
สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (telepharmacy) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สภาเภสัชกรรม; 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565]. สืบค้นจาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=2966&catid=0
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ