พัฒนา ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลของโรงพยาบาลตะกั่วป่า

ผู้แต่ง

  • พงษ์กฤษฎ์ เทียนครบ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า

คำสำคัญ:

การใช้ยาสมเหตุผล, rational drug use

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลตะกั่วป่ามีมูลค่าการใช้ยาเพิ่มขึ้นใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังพบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลจึงได้นำนโยบายและกลยุทธ์มาขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลของโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์:  เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ของโรงพยาบาลตะกั่วป่า

วิธีวิจัย: ติดตามและประเมินผลกระบวนการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล การบรรลุเกณฑ์ตามตัวชี้วัดการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุสมผล 18 ตัวชี้วัด การดูแลกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในกลุ่มยาปฏิชีวนะแบบฉีด ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ (defined daily dose :DDD) ชนิดรับประทานในผู้ป่วยนอกและชนิดฉีดในผู้ป่วยใน แนวโน้มการเกิดชื้อดื้อยาที่สำคัญ และความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้ยา metformin โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลตะกั่วป่าและ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559- 30 กันยายน 2564 และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: โรงพยาบาลตะกั่วป่ามีกระบวนการดำเนินงานครบถ้วนตามเกณฑ์ ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด 15 ตัวชี้วัด การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในการปรับเปลี่ยนชนิดยาปฏิชีวนะหลังผลเพาะเชื้อ การปรับเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นยาชนิดรับประทาน และ การปรับขนาดยาตามการทำงานของไต ปริมาณการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในผู้ป่วยนอกและชนิดฉีดในผู้ป่วยในลดลงในปีงบประมาณ 2564 ความไวของเชื้อแบคทีเรียเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น การสั่งจ่ายยา metforminลดลงในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลง

สรุปผลการวิจัย: การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล เพิ่มความปลอดภัยและในการรักษา และลดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม

ประวัติผู้แต่ง

พงษ์กฤษฎ์ เทียนครบ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

IQVIA Institute. The global use of medicines 2022 outlook to 2026 [Internet]. n.p.: IQVIA Inc.; 2021 [cited 2023 Sep 25]. Available from: https://www.iqvia.com/insights/the-iqvia-institute/reports-and-publications/reports/the-global-use-of-medicines-2022

Holloway KA. Combating inappropriate use of medicines. Expert Rev Clin Pharmacol. 2011;4(3):335-48. doi: 10.1586/ecp.11.14.

สุมาลี ชูช่อ, รุ่งทิวา หมื่นปา. ผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สิบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2566];9(2):463-74. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/170847

กองยา. รายงานการบริโภคยาต้านจุลชีพในมนุษย์และสัตว์ของประเทศไทย พ.ศ. 2563 และแนวโน้มระหว่างปี พ.ศ. 2560-2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2566 [สืบค้นเมื่อ 2 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://drug.fda.moph.go.th/information-service/thailand-surveillance/

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST). สถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปี 2000-2020(12M) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2565 [สืบค้นเมื่อ 2 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/data/AMR%202000-2022-12M.pdf

กลุ่มงานเภสัชกรรม. รายงานการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ครั้งที่ 2/2555. พังงา: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า; 24 ส.ค. 2555.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (service plan : rational drug use) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2559 [สิบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/Manual_Service%20Plan%20RDU_Sept2016.pdf

กลุ่มงานเภสัชกรรม. รายงานการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ครั้งที่ 1/2559. พังงา: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า; 15 ก.พ. 2559.

กลุ่มงานเภสัชกรรม. รายงานการประชุมคณะทำงานระบบยา ครั้งที่ 1/2562. พังงา: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า; 25 เม.ย. 2562.

WHO Collaborating Centre for Drugs Statistics Methodology. ATC/DDD index 2023 [Internet]. Oslo, Norway: WHO Collaborating Centre for Drugs Statistics Methodology, Norwegian Institute of Public Health; 2023 [cited 2023 May 14]. Available from: https://www.whocc.no/atc_ddd_index/?code=J-01CA&showdescription=no

Tamblyn R, Huang A, Perreault R, Jacques A, Roy D, Hanley J, et al. The medical office of the 21st century (MOXXI): effectiveness of computerized decision-making support in reducing inappropriate prescribing in primary care. CMAJ. 2003;169(6):549-56. PMID: 12975221. PMCID: PMC191278.

Waleekhachonloet O, Rattanachotphanit T, Limwattananon C, Thammatacharee N, Limwattananon S. Effects of a national policy advocating rational drug use on decreases in outpatient antibiotic prescribing rates in Thailand. Pharm Pract (Granada). 2021;19(1):2201. doi: 10.18549/PharmPract.2021.1.2201.

Nandi A, Pecetta S, Bloom DE. Global antibiotic use during the COVID-19 pandemic: analysis of pharmaceutical sales data from 71 countries, 2020-2022. EClinicalMedicine. 2023;57:101848. doi: 10.1016/j.eclinm.2023.101848.

Towers CV, Carr MH, Padilla G, Asrat T. Potential consequences of widespread antepartal use of ampicillin. Am J Obstet Gynecol. 1998;179(4):879-83. doi: 10.1016/s0002-9378(98)70182-6.

Rattanachotphanit T, Waleekhachonloet O. Effect of a rational drug use policy on the prescribing safety in outpatient settings in Thailand. Int J Pharm Pract. 2020;28(6):608-16. doi: 10.1111/ijpp.12665.

Fukushige M, Ngo NH, Lukmanto D, Fukuda S, Ohneda O. Effect of the COVID-19 pandemic on antibiotic consumption: a systematic review comparing 2019 and 2020 data. Front Public Health. 2022;10:946077. doi: 10.3389/fpubh.2022.946077.

Stevens PE, Levin A; for the Kidney Disease: Improving Global Outcomes Chronic Kidney Disease Guideline Development Work Group Members. Evaluation and management of chronic kidney disease: synopsis of the kidney disease: improving global outcomes 2012 clinical practice guideline. Ann Intern Med. 2013;158(11):825-30. doi: 10.7326/0003-4819-158-11-201306040-00007.

Watson WA, Freer JP, Katz RS, Basch C. Kidney function during naproxen therapy in patients at risk for renal insufficiency. Semin Arthritis Rheum. 1988;17(3 Suppl 2):12-6. doi: 10.1016/0049-0172(88)90039-x.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13