ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบาดเจ็บที่ไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านเอชไอวีสูตรต่าง ๆ
คำสำคัญ:
การบาดเจ็บที่ไต, การฟื้นตัวกลับของไต, เอชไอวี, ทีแอลดีบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภายหลังการเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวีเป็น dolutegravir (DTG) based พบว่า ผู้ป่วยมีแนวโน้มเกิดการบาดเจ็บที่ไตมากขึ้นกว่าการใช้ยาสูตรเดิม อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าการบาดเจ็บที่ไตเป็นผลจากปัจจัยใดบ้าง
วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บที่ไตและศึกษาการฟื้นตัวกลับของไตหลังเกิดการบาดเจ็บ
วิธีวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในผู้ที่ได้รับยาต้านเอชไอวีที่คลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวี ระหว่างเดือน เมษายน ถึง กันยายน พ.ศ.2565 ประเมินการบาดเจ็บที่ไต จากการเกิด acute kidney injury หรือ proximal renal tubulopathy ภายใน 12 เดือนหลังเข้าร่วมวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยโลจีสติกส์ ติดตามการฟื้นตัวกลับของไตต่ออีก 6 เดือนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ไต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา
ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 300 ราย อายุเฉลี่ย 43.64+10.59 ปี ได้รับ tenofovir disoproxil fumarate (TDF)+ dolutegravir (DTG) based ร้อยละ 60.33 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบาดเจ็บที่ไต ได้แก่ TDF+DTG-based 18.45 เท่า (95%CI: 2.32-146.77) DTG-based 14.59 เท่า (95%CI: 1.44-148.33) เมื่อเทียบกับ no TDF+DTG-based และกลุ่มที่ดัชนีมวลกาย <18.5 kg/m2 3.53 เท่า (95%CI: 1.19-10.50) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีดัชนีมวลกาย >23 kg/m2 การฟื้นตัวกลับของไตหลังเกิดการบาดเจ็บ 43 ราย ฟื้นตัวกลับอย่างสมบูรณ์ร้อยละ 9.30 โดยใน TDF+DTG-based 38 ราย ฟื้นตัวกลับอย่างสมบูรณ์ร้อยละ 5.26
สรุปผล: TDF+DTG-based, DTG-based และดัชนีมวลกาย <18.5 kg/m2 เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดการบาดเจ็บที่ไต ขณะที่อัตราการฟื้นตัวกลับอย่างสมบูรณ์หลังบาดเจ็บค่อนข้างต่ำ
เอกสารอ้างอิง
เสาวนีย์ วิบุลสันติ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, โอภาส พุทธเจริญ, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2564/2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 4 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.prepthai.net/Paper/HIVAIDS_Guidelines.pdf
Alfano G, Cappelli G, Fontana F, Di Lullo L, Di Iorio B, Bellasi A, et al. Kidney disease in HIV infection. J Clin Med. 2019;8(8):1254. doi: 10.3390/jcm8081254.
McLaughlin MM, Guerrero AJ, Merker A. Renal effects of non-tenofovir antiretroviral therapy in patients living with HIV. Drugs Context. 2018;7:212519. doi: 10.7573/dic.212519.
ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, เกรียง ตั้งสง่า. โรคไตวายเฉียบพลัน. วารสารกรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 27 เม.ย. 2567];42(6):64-8. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/248409
Kidney Disease Improving Global Outcomes (KDIGO). KDIGO clinical practice guideline for acute kidney injury. Kidney Int Suppl (2011). 2012;2(1):19-36. doi:10.1038/kisup.2011.32.
Luk CC, Chow KM, Kwok JS, Kwan BC, Chan MH, Lai KB, et al. Urinary biomarkers for the prediction of reversibility in acute-on-chronic renal failure. Dis Markers. 2013;34(3):179–185. doi: 10.3233/DMA-120959.
ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคสำหรับการวิจัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2567];4(1):1-12. สืบค้นจาก: https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1252
Lu L, Li X, Liu X, Han Y, Qiu Z, Song X, et al. Comparison of renal function biomarkers of serum creatinine and cystatin C in HIV-infected people on dolutegravir-containing therapy. Infect Drug Resist. 2022;15:1695-706. doi: 10.2147/IDR.S347054.
Patamatamkul S, Songumpai N, Payoong P, Katavetin P, Putcharoen O. Early switching of tenofovir disoproxil fumarate (TDF) in HIV-infected patients with TDF-induced nephrotoxicity: a prospective study. HIV Res Clin Pract. 2022;23(1):99-106. PMID: 36065999.
สุนีย์ ชยางศุ. ผลการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ติดตามเป็นเวลาสองปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 22 ธ.ค. 2566];32(1):1-11. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/118113
ปอแก้ว เพ็ชร์คำ, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสียงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากการได้รับยา tenofovir ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2567];25(1):92-103. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/229
เชิดชัย สุนทรภาส, ภิรุญ มุตสิกพันธุ์, รัชฎาพร สุนทรภาส. ปัจจัยเสี่ยงของความเป็นพิษต่อไตในผู้ป่วยที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ไดโซพรอกวิลฟูมาเรท ณ โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2567];33(2):102-11. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/261514
ใกล้รุ่ง สุทธารักษ์. อุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยเอชไอวีที่ใช้ยา tenofovir โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ธ.ค. 2566];28(1):29-40. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256920
ดวงรัตน์ สุวรรณ, อัครวัฒน์ กรจิระเกษมศานติ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยา tenofovir ในโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 22 ธ.ค. 2566];11(2):173-85. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp/article/view/245652
สิริลักษณ์ จันเทร์มะ, อนิวัต ชุมนิรัตน์, นฤมล อนุมาศ, วารณี ธีระกุล, อภิรดี แซ่ลิ่ม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 21 ธ.ค. 2566];31(3):482-90. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12342/
Songumpai N, Putcharoen O. 2491. Virologic response of switching tenofovir disoproxil fumarate (TDF)-based regimen to abacavir (ABC)-based regimen vs. lopinavir/ritonavir (LPV/r) plus lamivudine (3TC) in HIV-infected patients with TDF-induced nephrotoxicity at 24 weeks: a prospective, open-label, randomized, controlled trial. Open Forum Infect Dis. 2019;6(Suppl 2):S864. doi: 10.1093/ofid/ofz360.2169.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ