อุบัติการณ์และสาเหตุของภาวะไตวายฉับพลันในผู้ป่วยที่นอนรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ผู้แต่ง

  • วิทยา ศิริชีพชัยยันต์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, สาเหตุ, ภาวะไตวายฉับพลัน

บทคัดย่อ

ภาวะไตวายฉับพลันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มานอนรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลกระทบต่ออัตราการป่วย อัตราการเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษา และระยะเวลาในการนอนรักษาในโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้น การศึกษาไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะไตวายฉับพลัน ตามเกณฑ์ของ KDIGO ปี ค.ศ 2012 รวมถึงสาเหตุของภาวะไตวายฉับพลันในผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปีที่นอนรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและการทบทวนเวชระเบียน คำนวณหาอุบัติการณ์และสาเหตุของภาวะไตวายฉับพลัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา chi-square test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการนอนรักษาในแผนกอายุรกรรมจำนวน 3,428 ราย มีอุบัติการณ์ของภาวะไตวายฉับพลัน คิดเป็นร้อยละ 32.2 ส่วนใหญ่วินิจฉัยจากเกณฑ์ค่าครีแอทินินในเลือด ร้อยละ 96.8 และวินิจฉัยจากเกณฑ์ปริมาณปัสสาวะเพียงร้อยละ 3.2 พบระดับความรุนแรงตามเกณฑ์ของ KDIGO ปี ค.ศ. 2012 ระดับที่ 1 ร้อยละ 18.1 ระดับที่ 2 ร้อยละ 21.7 และระดับที่ 3 ร้อยละ 60.2 สาเหตุของภาวะไตวายฉับพลันส่วนใหญ่เกิดจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/การติดเชื้อ (ร้อยละ 44.4) เกิดจากภาวะขาดน้ำ (ร้อยละ 22.2) และเกิดจากกลุ่มอาการโรคหัวใจและไต (ร้อยละ 10.4) มีผู้ได้รับการบำบัดทดแทนไต ร้อยละ 19.5 และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายฉับพลันร้อยละ 21.9 อายุที่มากกว่า 60 ปี และระดับความรุนแรงของภาวะไตวายฉับพลันเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระต่อการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายฉับพลัน โดยสรุปภาวะไตวายฉับพลันพบได้บ่อยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่นอนรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ภาวะติดเชื้อ ภาวะขาดน้ำ และกลุ่มอาการโรคหัวใจและไตเป็นสาเหตุหลักของภาวะไตวายฉับพลัน

เอกสารอ้างอิง

Cely, J. E. et al. (2017). Incidence and Risk Factors for Early Acute Kidney Injury in Nonsurgical Patients: A Cohort Study. International journal of nephrology, 8(1): 1482-1489.

Hoste, E. A. et al. (2018). Global epidemiology and outcomes of acute kidney injury. Journal of Nature Reviews Nephrology, 14(10): 607–625.

Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) Acute Kidney Injury Work Group. (2012). KDIGO clinical practice guideline for acute kidney injury. Journal of Kidney International Supplements, 2(1): 1-138.

Mehta, R. L. et al. (2015). International Society of Nephrology’s 0by25 initiative for acute kidney injury (zero preventable deaths by 2025): a human rights case for nephrology. Journal of The Lancet, 385(9987): 2616-2643.

Pisitsak, C. et al. (2016). Prevalence, Outcomes and Risk factors of Acute Kidney Injury in Surgical Intensive Care Unit: A Multi-Center Thai University-Based Surgical Intensive Care Units Study (THAI-SICU Study). Journal of the Medical Association of Thailand, 99(Suppl 6): S193-S200.

Rewa, O., & Bagshaw, S. M. (2014). Acute kidney injury-epidemiology, outcomes and economics. Journal of Nature reviews nephrology, 10(4): 193-207.

Srisawat, N. et al. (2020). The epidemiology and characteristics of acute kidney injury in the Southeast Asia intensive care unit: a prospective multicentre study. Journal of Nephrology Dialysis Transplantation, 35(10): 1729-1738.

Susantitaphong, P, et al. (2013). World incidence of AKI: a meta-analysis. Clinical Journal of the American Society of Nephrology, 8(9): 1482-1493.

Thakar, C. V. et al. (2009). Incidence and outcomes of acute kidney injury in intensive care units: a Veterans Administration study. Journal of Critical Care Medicine, 37(9): 2552-2558.

Treamtrakanpon, Worapot., & Khongkha, Wichitra. (2016). Impact and Incidence of Acute Kidney Injury (AKI) : A One-year Period of Study at a Center Hospital in Thailand. Srinagarind Medical Journal, 31(2), 178-184. (in Thai).

Xu, X. et al. (2015). Epidemiology and Clinical Correlates of AKI in Chinese Hospitalized Adults. Clinical Journal of the American Society of Nephrology, 10(9): 1510-1518.

Yang, L. (2016). Acute Kidney Injury in Asia. Journal of Kidney Diseases (Basel), 2(3): 95-102.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง