การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก

ผู้แต่ง

  • สุณัฏดา คเชนทร์ชัย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • มุจจรินทร์ อัศวพัฒน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การดูแลระยะท้าย, การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก (OPD Case) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้แนวคิดวงจรพัฒนาของเดมมิ่ง 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์การวางแผนการปฏิบัติ การดำเนินงาน และการประเมินผล ดำเนินการพัฒนา 3 วงรอบ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 3 คน สหสาขาวิชาชีพ 2 คน ผู้ป่วยหรือครอบครัวระยะท้าย 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่ผู้วิจัยร่วมกับทีมสหสาขาพัฒนาขึ้น แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบเก็บรวมรวมข้อมูลผลลัพธ์ ตัวชี้วัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบแต่ละวงรอบกา พัฒนาด้วยสถิติ Chi-square และ t-test พบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก ซึ่งพัฒนาจากทีมสหสาขา ประกอบด้วย คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบ ประคับประคองในผู้ป่วยนอก ระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระยะท้ายจากโรงพยาบาลลงสู่ชุมชนในเครือข่าย ผลการวิจัย พบว่า ด้านผู้ป่วยได้รับการดูแลครอบคลุมองค์รวมมากขึ้นอย่างมีมาตรฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สามารถเข้าถึงบริการ ได้มากขึ้น ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามระบบที่พัฒนา มีผลลัพธ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนผลลัพธ์ทางคลินิก ระยะหลังการพัฒนา มีร้อยละของการจัดการอาการรบกวนที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับระยะก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และ ครอบครัวมีความพึงพอใจต่อระบบการดูแลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ ดังนั้นควรนำระบบดังกล่าวไปใช้กับโรงพยาบาลอื่นต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Kirchhoff, K. T., & Beckstrand, R. L. (2000). Critical care nurse’ perceptions of obstacles and helpful behaviors in providing end of life care to dying patients. American Journal of Critical Care, 9(2): 96-104.

Kuuppelomäki, M. (2001). Spiritual support for terminally ill patients: nursing staff assessments Journal of Clinical Nursing, 10(5): 660-670.

Mororo, D. D. S., et al. (2017). Concept analysis of nursing care management in the hospital context. Journal of Acta Paulista de Enfermagem, 30(3): 323-332.

Ramsbottom, K., & Kelley, M. L. (2014). Developing strategies to improve advance care planning in long term care homes: Giving voice to residents and their family members. International Journal of Palliative Care, 2014: 1-8. doi: 10.1155/2014/3584572014.

Sekse,R.J. T., Hunskar,I., & Ellingsen,S. (2017). The nurse’s role in palliative care: A metasynthesis. Joumal of Clinical Nursing, 17(1-2): 21-38.

Watson, J. (1985). Nursing : human science and human care : a theory of nursing. Norwalk : Connecticut, Appletion-Century-Crofts.

Weaver MS, et al. (2016). Establishing psycho social palliative care tandards for children and adolescents with cancer and their families: an integrative review. Joumal of Palliat Med, 30(3): 212-223.

World Health Organization. (2000). Pain relief and Palliative Care. In: National Cancer Control Programmes. Policiesand managerial guidelines (2 ed.). Geneva: World Health Organization. 83-91.

World Health Organization. (2000). Definition of Palliative Care 2002. Retrieved May 7, 2021,from: http://www.who.int/cancer/ palliative/definition/en/Weissman,

World Health Organization. (2016). Planning and implementing palliative care services: A guide for programme managers. Retrieved May 7, 2021, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/250584/9789241565417-eng.pdf.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23

วิธีการอ้างอิง