การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนอำเภอนาหม่อม ในช่วงการระบาดปีที่ 3 ของโรคโควิด 19
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ประชาชนอำเภอนาหม่อม, การระบาดปีที่ 3 ของโรคโควิด 19บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ในช่วงสถานการณ์ การระบาดจนกระทั่งปีที่ 3 ของโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบวัดคุณภาพชีวิตของกรมสุขภาพจิตและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม (alpha 0.95) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test T-test และสถิติทดสอบ Pearson’s correlation coefficient
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชนในอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ในช่วงสถานการณ์การระบาด ปีที่ 3 ของโรคโควิด 19 กลุ่มที่เคยป่วยด้วยโรคโควิด 19 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับปานกลาง (x = 89.49 S.D. 20.29) และกลุ่มที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคโควิด 19 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับ ปานกลาง (x = 85.81 S.D.22.89) คุณภาพชีวิตรายด้าน การสนับสนุนทางสังคมแยกตามรายด้านและโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานจนกระทั่งปีที่ 3 ผลกระทบเกิดขึ้น หลายด้านแต่ระบบการจัดการที่ดี การเข้าถึงชุมชน ให้การสนับสนุนต่อประชาชนด้านต่างๆทำให้ประชาชนในอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ยังมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง
เอกสารอ้างอิง
BBC Thai. (2020). COVID-19:Not just the lungs, but the heart new strain of corona virus How does it damage other organs in some cases?. Retrieved May 15, 2022, from: https://www. bbc.com/thai/features-52269322.(in Thai)
Cobb, S. (1979). “Socail support as a moderator of life stess”. Psychomatic Medicine, Journal of Personality and Social Psychology 38, 7: 300-314.
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2022). World Health Organization Quality of Life Indicators, abbreviated, Thai version (WHOQOL–BREF–THAI) Retrieved May 15, 2022, from::https://www.dmh.go.th/test/ download/view.asp?id=17. (in Thai)
House, J.S.(1981).The nature of social support. In M.A. Reading. 4th Ed. Work stress and social support Philadelphia: Addison Wesley. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Na Zhu, Dingyu Zhang, Wenling Wang, Xingwang Li, Bo Yang, Jingdong Song, et al. (2022). A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China, 2019. New England Journal of Medicine, 382, pp.727-733.
Rattanakorn Poojanjob. (2022). The influence of adaptation from the impact of COVID-19 that affect the quality of life of informal workers in Muang District, Songkhla Province. School of Administrative Studies Academic Journal., 5(2), pp.1-18.(in Thai)
Sayin Kasar K, Karaman E. (2022). Life in lockdown: Social isolation, loneliness and quality of life in the elderly during the COVID-19 pandemic: A scoping review.Geriatr Nurs., 42(5), pp.1222-1229.
Songkhla Public relations agency COVID-19. (2022) [Internet]. Retrieved from: https://www.skho. moph.go.th/web/news.php?id=613. (in Thai)
Social communication National Health Commission Office (NHCO). (2022). Looking at Thai society after COVID-19, emphasizing the importance of decentralization, paving the way for national reform, Retrieved from: https://www. nationalhealth.or.th/en/node/2242.(in Thai)
Sopit Nasueb .Economic and Social Impacts of the COVID-19 Pandemic at the global level and in Thailand. (2021). International Health Policy Program(IHPP) Division of on Communicble Disease; 2022.(in Thai)
Vu MQ, Tran TTP, Hoang TA, Khuong LQ, Hoang MV. (2022). Health-related quality of life of the Vietnamese during the COVID-19 pandemic. (2020). PLoS One, 15(12), e02441.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.