การประเมินความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน โรคมะเร็งของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ความรู้โรคมะเร็ง, พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็ง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)บทคัดย่อ
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย นำมาสู่การสูญเสียชีวิตของประชากรและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก การที่ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน และการคัดกรองโรค จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากจะช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตนที่เหมาะสม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) เป็นกลไกสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ เป็นแบบอย่างและส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมที่ดี การวิจัยนี้จึงประเมิน ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งของ อสม. ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 54 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจาก อสม. ที่เข้าร่วมอบรมในโครงการรวมพลังป้องกันโรคมะเร็งอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน วันที่ 29 มีนาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลประชากรศาสตร์ แบบประเมินความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันคัดกรองโรคมะเร็งที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคมะเร็งโดยหาค่า KR20 มีค่าเท่ากับ 0.73 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ความเชื่อและทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 87.07 มีอายุเฉลี่ย 60.30 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพหรือเป็นแม่บ้าน ร้อยละ 37.04 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีญาติสายตรงเคยป่วยเป็นโรคมะเร็ง ร้อยละ 70.37 มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ร้อยละ 61.11 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งอยู่ในระดับสูง (X = 16.28, SD = 3.28) มีคะแนนความเชื่อและทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็ง อยู่ในระดับสูง (X = 2.42, SD = 0.39) และส่วนใหญ่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ผลจากการการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ทำให้ทราบความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจนำมาใช้ในการพิจารณาวางแผนงาน ด้านการส่งเสริมความรู้ และเพิ่มความตระหนักถึงประโยชน์ของการป้องกันและคัดกรองโรคมะเร็งให้กับ อสม. และประชาชนในพื้นที่ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Aekhakul, Tarawut. (2000). Research methodology in behavioural sciences and social sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University. (in Thai)
Auttama, Nisarat. & Seangpraw, Katekaew. (2019). Factors Predictor Health Literacy among Older Adults with Risk Hypertension Disease, Phayao Province. Journal of Health Education. 42(2): 75-85.(in Thai)
Chabuakam, Natthaya., Pisaipanth, Suparat. & Harasarn, Pawinee. (2018). Knowledge of Kills and Breast Self-Examination Behavior Among Woman of Municipal Area in Ubon Ratchathani. Journal of Nursing and Health Care. 36(3): 166-176. (in Thai)
Chaiarch, Kanayod., Jirapornku, Jirapornku. & Maneenin, Naowarat. (2018). Knowledge of Colorectal Cancer of Risk population at Namphong District, Khon Kaen Province. KKU Journal for Public Health Research. 10(3): 37-44. (in Thai)
Chantkran, Wittawat. (2019). The basic concepts of carcinogenesis. Asian Archives of Pathology. 1(1): 29-39. (in Thai)
Kanjanawanit, Pranom. (2021). The Factors Affecting to Self-Care Behaviors for Non-Communicable Diseases (NCDs) Prevention of Village Health Volunteer (VHVs), Suphan Buri Province. Primary Health Care Journal (Northeastern Edition). 36(2): 20-33. (in Thai)
Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health, Health Data Center. (2022). Public Health Personnel. Retrieved May 25, 2023, from https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/page.php?cat_id=c11dad88f800 61c70cd1ae96b500d017.(in Thai)
Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health, Strategy and Planning Division. (2002). Public Health Statistics. Retrieved May 25, 2023, from https://bps.moph.go.th/ new_bps/sites/default/files/statistic%2061. pdf. (in Thai)
Sanguankittipun, Tep. (n.d.). Belief. Retrieved May 25, 2023, from https://www.stou.ac.th/offices/rdec/ udon/upload/socities9_10.html#a1. (in Thai)
Santiwong, Thongchai. (1997). Consumer behavior in marketing (9th ed). Bangkok: Thai Watana Panich Press. (in Thai)
Supaket, Bang On. & Suriya, Jongmanee. (n.d.). The Evaluation of Breast Self-examination Behavior Among Thai Female Under the Project Royal Grandmother’s Initiative Against Breast Cancer.
Suwannachat, Supisara. & Nimkratoke, Tidarat. (2022). The Level of Knowledge about Colorectal Cancer and the Information Needs of the Thai People. Journal of Health and Nursing Education. 28(1): e257077. Retrieved May 25, 2023, from https://he02. tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/ view/257077/175921.(in Thai)
American Institute for Cancer Research. (2022). Cancer Prevention. Retrieved May 25, 2023, from https://www.aicr.org/resources/medialibrary/around-40-of-cancers-can-be-prevented
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.