รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่รักษาแบบไม่ฟอกไต อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาและประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ปฏิเสธการฟอกไต อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ปฏิเสธการฟอกไต จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1)เครื่องมือในการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เทคนิค 5 เอ ร่วมกับการให้คำปรึกษารายบุคคล การจัดบริการ telemedicine 2) เครื่องมือในการประเมินผลโดยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตวาย (KDQOL-SF) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาด้วย paired t test
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน เพศหญิง ร้อยละ 62.5 อายุเฉลี่ย 71.37 การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ร้อยละ 68.75 โรคประจำตัว เป็นความดันโลหิตสูงอย่างเดียว ร้อยละ 65.62 ความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน ร้อยละ 31.25 รายได้ส่วนมากเพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 78.12 ความรู้สึกว่าสุขภาพไม่แข็งแรงแต่ดูแลตนเองได้ร้อยละ 78.12 ใช้มือถือของตนเองและคนในครอบครัวในการสื่อสารกับแพทย์และสหวิชาชีพ ร้อยละ 100 ผู้ดูแลเป็นคนในครอบครัวร้อยละ 93.75 และเหตุผลที่ไม่ต้องการฟอกไตทั้งทางเส้นเลือดและหน้าท้องคือ ไม่มีเงิน ไม่มีญาติพาไป ร่างกายตนเองอ่อนแอไม่พร้อม จากการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการพัฒนาภาพรวมมีระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงขึ้น ( =59.66,S.D.=8.96) และ ( =65.73,S.D.=6.07) เมื่อพิจารณารายมิติ พบว่า มิติสุขภาพจิต มิติบทบาทที่ถูกจำกัดอันเนื่องจากปัญหาทางด้านอารมณ์ มิติอาการแสดงต่างๆ และมิติผลกระทบจากโรคไต ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ปฏิเสธการฟอกไต ได้รูปแบบประกอบด้วย การให้ความรู้รายบุคคลกับผู้ป่วยและครอบครัว การประเมินอาการ คุณภาพชีวิตผู้ป่วย ประเมินติดตามอาการทุกเดือน ให้การรักษาตามปัญหาที่ผู้ป่วยมี เยี่ยมบ้านโดยสหวิชาชีพและเยี่ยมทาง Telemedicine เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง มีพลังในการดำเนินชีวิต รวมถึงการมีทักษะของทีมสหวิชาชีพในความใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ความเสียสละในการให้บริการและการนำข้อมูลมาทบทวนการดูแลร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง ส่งผลให้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริการของคลินิกโรคไตเรื้อรังได้ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.